22 เม.ย. 2551

กลยุทธ์การดำเนินงานและการปฏิบัติงาน

กลยุทธ์การดำเนินงานหมายถึงวิสัยทัศน์และแผนระยะยาวเกี่ยวกับการแปรรูปปัจจัยนำเข้าให้เป็นผลิตภัณฑ์และ/หรือบริการสำหรับลูกค้า ซึ่งเราสามารถอธิบายโดยใช้แบบจำลองกลยุทธ์การดำเนินงาน ซึ่งมีส่วนประกอบ 4 ประการคือ ภารกิจการดำเนินงาน ความสามารถเฉพาะ วัตถุประสงค์การดำเนินงานและนโยบายการดำเนินงาน ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของการดำเนินงาน นอกจากนี้ผู้กำหนดกลยุทธ์ยังต้องให้ความสำคัญกับสภาพแวล้อมทั้งภายนอกและภายในองค์การ ตลอดจนการนำกลยุทธ์ที่กำหนดขึ้นมาปฏิบัติให้เป็นรูปธรรม
กลยุทธ์การปฏิบัติการ (Operation strategy) เพื่อการสร้างข้อได้เปรียบทางการแข่งขัน (competitive advantage) มีดังนี้
1. การกำหนดภารกิจและกลยุทธ์ (identifying mission and strategies)
2. การบรรลุข้อได้เปรียบทางการแข่งขันด้วยการปฏิบัติการ (achieving competitive advantagethrough operations)
3. การตัดสินใจ 10 ประการในการบริหารการปฏิบัติการ (ten decisions of OM)
4. ประเด็นสำคัญในกลยุทธ์การปฏิบัติการ (issues in operations strategy)
5. การพัฒนากลยุทธ์และการปฏิบัติตามกลยุทธ์ (strategy development and implementation)
ภารกิจ (missions) เป็นงานพื้นฐานกิจกรรม และลักษณะงานขององค์การ โดยเป็นจุดมุ่งหมายขั้นพื้นฐาน (basic purpose) และเป็นขอบเขตการปฏิบัติการ (scope of operations) ขององค์การ
กลยุทธ์การปฏิบัติการ (Operation strategy) เป็นแผนเพื่อการบรรลุวัติถุประสงค์การปฏิบัติการในสายผลิตภัณฑ์
บริษัทจะบรรลุภารกิจได้ 3 ทางคือ
1. การสร้างความแตกต่าง (differentiation)
2. ความเป็นผู้นำด้านต้นทุน (cost leadership)
3. การตอบสนองที่รวดเร็ว (quick response)
การบรรลุข้อได้เปรียบทางการแข่งขันด้วยการปฏิบัติการ (achieving competitive advantage through operations) ประกอบด้วย
1. กลยุทธ์การสร้างความแตกต่าง (differentiation strategies) : ความแตกต่างด้านผลิตภัณฑ์ บริการ คุณภาพ และนวัตกรรม มีดังนี้ (ก) รูปร่างของผลิตภัณฑ์ (product features) (ข) การเพิ่มคุณค่าให้กับสินค้าและบริการ (adding value to goods and services) (ค) คุณภาพของผลิตภัณฑ์หรือคุณภาพของบริการ (product quality or service quality) (ง) ภาพลักษณ์ที่พึงปรารถนา (desirable image) (จ) นวัตกรรม (innovation)
2. การแข่งขันด้านต้นทุน (Competing on cost)
3. การแข่งขันด้านตอบสนอง (Competing on response) มีดังนี้ (1) การตอบสนองด้วยความยืดหยุ่น (Flexible response) (ข) ความเชื่อถือได้ของการจัดตารางเวลาปฏิบัติการ (reliability of scheduling) (ค) ความรวดเร็ว (Quickness)
การตัดสินใจในการบริหารการปฏิบัติการ 10 ประการ (ten decisions of OM) มีดังนี้
1. ด้านคุณภาพ (quality)
2. การออกแบบผลิตภัณฑ์และบริการ (product design)
3. การออกแบบกระบวนการ (process design)
4. การเลือกทำเลที่ตั้ง (location selection)
5. การออกแบบผังโรงงาน (layout design)
6. ทรัพยากรมนุษย์และการออกแบบงาน (human resources and job design)
7. การบริหารเครื อข่ายปัจจัยการผลิต (supply-chain management)
8. สินค้าคงเหลือ (inventory)
9. การกำหนดตารางการปฏิบัติการ (scheduling)
10. การบำรุงรักษา (maintenance)
ประเด็นปัญหาในกลยุทธ์การปฏิบัติการ (issues in operations strategy) จะต้องพิจารณา
1. การวิจัย (research) เพื่อตรวจสอบประสิทธิผลของกลยุทธ์การบริหารการปฏิบัติการ
2. ศึกษาสภาพก่อนหน้าการปฏิบัติการ (preconditions) ในการพัฒนาประสิทธิผลของกลยุทธ์การบริหารการปฏิบัติการ
3. การเคลื่อนไหว (dynamics) ในการพัฒนากลยุทธ์การบริหารการปฏิบัติการ กลยุทธ์จะมีการเปลี่ยนแปลงด้วยเหตุผล 2 ประการ คือ (ก) กลยุทธ์เคลื่อนไหวเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงภายในองค์การ (changes within the organization) (ข) กลยุทธ์เคลื่อนไหวเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงในสภาพแวดล้อม (changes in the environment)
การพัฒนากลยุทธ์และการปฏิบัติการ (strategy development and implementation) มีขั้นตอนดังนี้
1. การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม (environmental analysis)
2. การกำหนดภารกิจของบริษัท (determine corporate mission)
3. การกำหนดกลยุทธ์ (form strategy)
ปัจจัยสู่ความสำเร็จที่สำคัญ (critical success factors : CSFs) จะกำหนดตามขอบเขตหน้าที่ในบริษัทดังนี้
1. การตลาด
2. การเงิน/การบัญชี
3. การผลิต/การปฏิบัติการ
การสร้างและการจัดหาคนเข้าทำงานขององค์การ (build and staff the organization) มีกระบวนการ 3 ขั้นตอน คือ
1. กำหนดกลยุทธ์และปัจจัยสู่ความสำเร็จที่สำคัญ (CSFs)
2. กำหนดกลุ่มกิจกรรมที่จำเป็นเข้าในโครงการสร้างขององค์การ
3. การบรรจุพนักงานด้วยบุคลากรที่เห็นว่าจะสามารถทำให้งานสำเร็จได้

ไม่มีความคิดเห็น: