6 มิ.ย. 2551

ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการวิจัย

ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการวิจัย
1.1 ความหมายของการวิจัย
คือ การหาความรู้ความจริง ตามกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ มีการรวบรวมข้อมูล จัดระเบียบข้อมูล วิเคราะห์และตีความหมายผลที่ได้จากกาiวิเคราะห์

กิจกรรมที่เกี่ยวข้องของการวิจัย
* การกำหนดหัวข้อ การแจกแจงประเด็น การออกแบบการวิจัย การกำหนดประชากรเป้าหมาย กำหนดวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล การจัดระเบียบข้อมูล การวิเคราะห์และการตีความหมาย การเขียนรายงาน

โปรดสังเกต : ความหมายของ “ความรู้” “ความจริง” ดูหนังสือ “การวิจัยทางพฤติกรรม” เรื่องอื่นๆ ที่ควรศึกษาคือ ธรรมชาติของการวิจัย ความเชื่อพื้นฐานทางสังคม ลักษณะที่สำคัญของนักวิจัย

กระบวนการค้นหาความจริงมี 5 ขั้นตอน

1) จะต้องมีปัญหาและความต้องการในการตอบปัญหา
2) กำหนดขอบเขต ให้นิยามปัญหา เพื่อมุ่งหาคำตอบ
3) ตั้งสมมุติฐานเพื่อคะเนคำตอบ
4) กำหนดวิธีการทดสอบสมมุติฐาน
5) ทดสอบสมมุติฐาน

สรุป : คือระเบียบวิธีวิทยาศาสตร์นั่นเอง
1.2 วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1.2.1 เพื่อการแก้ปัญหา
1.2.2 สร้างทฤษฎี เพราะกฎเกณฑ์และทฤษฎีสามารถนำไป
ก) อ้างอิง (Generalization)
ข) อธิบาย (Explaination)
ค) ทำนาย (Prediction) และควบคุม (Control) ปรากฏการณ์ต่างๆ
1.2.3 เพื่อพิสูจน์ทฤษฎี เพราะเวลาเปลี่ยนไป กฎเกณฑ์ต่าง ๆ ก็เปลี่ยนไป
1.3 ประโยชน์ของการวิจัย
- เกิดความรู้
- แก้ปัญหาต่างๆได้อย่างถูกต้องและยุติธรรม
- กำหนดนโยบายและวางแผนได้ถูกต้อง
- แก้ไขปัญหาในการปฏิบัติงาน
- เสริมสร้างสมรรถนะของนักบริหารในการวินิจฉัยสั่งการ
สรุป : เกิดวิทยาการใหม่ แนวทางแก้ปัญหา กำหนดนโยบาย ท้ายสุดคือพัฒนาประเทศ
1.4 การวิจัยกับวิทยาศาสตร์
วิทยาศาสตร์ คือ การแสวงหาความรู้ความจริง การวิจัย มีกระบวนการคล้ายคลึงกับกระบวนการของ ระเบียบวิธีวิทยาศาสตร์ คือมีขั้นตอน
1) ปัญหา เกิดขึ้นเพราะไม่สามารถหาวิธีการที่จะให้ ความหมาย ลักษณะเหตุการณ์หรืออธิบายปรากฏการณ์นั้น
2) วิเคราะห์และนิยามปัญหา เพื่อให้ชัดเจนขึ้น
3) สร้างสมมุติฐาน หรือหาทางชี้แนะคำตอบของปัญหา
4) ให้เหตุผลเบื้องหลังสมมุติฐาน อาศัยทฤษฎีหรือความจริงต่างๆ ที่เคยค้นพบมาแล้ว
5) ทดสอบสมมุติฐาน โดยการปฏิบัติจริง ขั้นตอนนี้ผู้วิจัยจะค้นพบความจริงที่นำมาใช้อธิบายปัญหาที่เกิดขึ้นได้
1.5 การวิจัยทางสังคมศาสตร์ สังคมศาสตร์เป็นศาสตร์เกี่ยวกับ
1) จิตใจ พฤติกรรม ปรากฏการณ์ทางสังคม การอยู่ร่วมกัน วัฒนธรรม อารยธรรม โดยศึกษาแนวทางที่ทำให้เกิดการพัฒนา เพื่อสันติสุขในสังคม
2) ปรากฏการณ์ทางสังคม เช่น การชุมนุมการรวมกลุ่มเกษตรกร พัฒนาหมู่บ้านร่วมกัน การดำเนินการร่วมกันทางเศรษฐกิจและสังคม การเมือง ศาสนา
3) สังคมศาสตร์ประกอบด้วยสาขาวิชา เช่น มนุษยศาสตร์ นิติศาสตร์ รัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา
4) บางตำราสังคมศาสตร์ หมายรวมถึง
- มนุษยศาสตร์ โบราณคดี ประวัติศาสตร์ ภาษาศาสตร์ บรรณารักษ์ศาสตร์ ปรัชญา จิตวิทยา อักษรศาสตร์และอื่นๆที่คล้ายคลึงกัน
- การศึกษา วิชาทางการศึกษา พลศึกษา ฯลฯ
- วิจิตรศิลป ได้แก่ วิชาทางสถาปัตยกรรม จิตรกรรม ฯลฯ
- สังคมศาสตร์ ธนาคาร พานิช บัญชี รัฐศาสตร์ ฯลฯ
- นิติศาสตร์ เป็นต้น
สรุป : การวิจัย หมายถึง กระบวนการศึกษาค้นคว้าหาความจริงอย่าง มีระบบระเบียบแบบแผน โดยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ที่เหมาะสมและถูกต้อง เพื่อให้ได้ความรู้ใหม่ๆหรือแนวทางในการแก้ไขปรับปรุงหรือพัฒนากิจกรรมต่างๆตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย

ไม่มีความคิดเห็น: