ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2551 ปีที่ 32 ฉบับที่ 4013 (3213)
การประชุมสุดยอดพลังงานที่เมืองเจดดาห์ผ่านพ้นไปแล้ว แต่สิ่งหนึ่งที่ยังคงเป็นภาพปกติให้เห็น คือ ความผันผวนในตลาดน้ำมัน ดิบโลก และราคาที่มีแรงกดดันให้ปรับขึ้นมากกว่าลง ซาอุดีอาระเบียผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่สุดของกลุ่มโอเปก และเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมครั้งนี้ ได้ประกาศเพิ่มกำลังการผลิตน้ำมันแต่ละวันอีกประมาณ 200,000 บาร์เรลต่อวัน เป็น 9.7 ล้านบาร์เรล ในเดือนกรกฎาคม แต่ดูเหมือนปฏิกิริยาจากทั้งสมาชิกโอเปกบางประเทศ และ นักวิเคราะห์บางราย มองไปในมุมเดียวกันว่า แผนริเริ่มต่างๆ ของซาอุดีอาระเบียยากจะดึงราคาน้ำมันดิบลงมา เนื่องจากการ พุ่งทะยานเหนือ 130 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล มาจากการเก็งกำไรในตลาด มากกว่าจะมาจากเหตุผลของการขาดแคลนน้ำมันไมค์ วิตเนอร์ ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยน้ำมัน ของโซซิเอเต เชเนราล ในลอนดอน ให้ความเห็นระหว่างให้สัมภาษณ์สำนักข่าวบลูมเบิร์กว่า ปริมาณน้ำมันที่เพิ่มขึ้นอีก 200,000 บาร์เรลต่อวัน ไม่ถือว่ามากเลย โดยเฉพาะหากเมื่อเทียบกับเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งออกมาว่าจะมีการเพิ่มผลิต 500,000 บาร์เรลเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน ราคาน้ำมันดิบในตลาดนิวยอร์กได้พุ่งขึ้นทำสถิติใหม่ระหว่างวันที่ 139.89 ดอลลาร์ มากกว่าระดับราคาเมื่อ 6 ปีก่อนถึง 5 เท่าตัว ซึ่งเป็นต้นเหตุหนึ่งที่นำไปสู่การประท้วงและการจลาจลในประเทศผู้นำเข้าน้ำมัน กระตุ้นเงินเฟ้อให้ปะทุเร็วขึ้น และบีบให้ ผู้บริโภคเชื้อเพลิงบางกลุ่ม โดยเฉพาะ สายการบิน ต้องเลิกกิจการหากพิจารณาจากแถลงการณ์ร่วมของ ที่ประชุมเจดดาห์ จะพบว่าเป้าหมายหนึ่งของผู้เข้าร่วม โดยเฉพาะในฟากของประเทศ ผู้ผลิตน้ำมัน ได้พุ่งไปที่พฤติกรรมการเก็งกำไร โดยเฉพาะสาระสำคัญที่ "เรียกร้องให้มีการเพิ่มความโปร่งใสและการกำกับดูแลตลาดการเงินผ่านมาตรการต่างๆ ที่จะใช้ข้อมูลเกี่ยวกับการดำเนินการของ พวกกองทุนดัชนี (index fund) และ ตรวจสอบพฤติกรรมระหว่างตลาดต่างๆ ในตลาดน้ำมันดิบ"ยิ่งกว่านั้น ยังพบว่า "การเก็งกำไร" กำลังเป็นประเด็นร้อนทั้งในวุฒิสภา และสภาผู้แทนราษฎรของสหรัฐอเมริกา จากข้อมูลซึ่งจัดทำโดยคณะกรรมการกำกับดูแลตลาดล่วงหน้า เสนอต่อคณะกรรมาธิการการค้าและพลังงานประจำสภาผู้แทนราษฎร ให้ข้อสรุปว่า นักเก็งกำไรเป็นผู้เล่นรายใหญ่สุดในตลาดซื้อขายน้ำมันล่วงหน้า โดยมีสัดส่วนในการซื้อขายเพิ่มขึ้นเป็นเกือบ 2 เท่าของสัดส่วนการซื้อขาย เมื่อ 8 ปีก่อน โดยในปี 2543 นักเก็งกำไรมีสัดส่วนในการควบคุมสัญญาฟิวเจอร์น้ำมันในสถานะผู้ซื้อน้ำมันดิบสหรัฐ 37% ในตลาดนิวยอร์ก เมอร์แคนไทล์ โดยที่เหลือถือครองโดยผู้ที่เข้ามาซื้อเพื่อประกันความเสี่ยง รวมถึง โรงกลั่น และสายการบิน ซึ่งต้องการประกันความเสี่ยงจากราคาเชื้อเพลิงในช่วงของการส่งมอบ แต่นับถึงเดือนเมษายนปีนี้ นักเก็งกำไรมีสัดส่วนในการควบคุมสัญญาฟิวเจอร์เพิ่มขึ้นเป็น 71%ข้อมูลดังกล่าวเป็นที่มาของแถลงการณ์ผ่านไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (อีเมล์) โดยจอห์น ดิงเกลล์ ประธานกรรมาธิการการค้าและพลังงาน ซึ่งแสดงความกังวลต่อบทบาทของนักเก็งกำไร และข้อสงสัยเกี่ยวกับราคาน้ำมันดิบล่วงหน้าว่า อาจจะไม่เป็นไปตามปัจจัยพื้นฐานของอุปสงค์-อุปทานในตลาด ขณะเดียวกัน สภาผู้แทนฯสหรัฐยังมีการพิจารณาร่างกฎหมายเพื่อการป้องกันการเก็งกำไรราคาอย่างไม่เป็นธรรม (Prevent Unfair Manipulation of Prices : PUMP) ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อกำจัดช่องโหว่ที่เปิดให้ผู้ค้าในตลาดพลังงานทำกำไรมากเกินควร และสร้างปัญหาราคาน้ำมันแพงให้ผู้บริโภคต้องรับผลกระทบ ร่างกฎหมายฉบับนี้เสนอโดยบาร์ต สติวแพค ส.ส.สังกัดพรรคเดโมแครต และเป็นประธาน อนุกรรมาธิการฝ่ายการตรวจสอบและการกำกับดูแล ภายใต้กรรมาธิการการค้า และพลังงาน สภาผู้แทนฯ สติวแพคระบุว่า การเก็งกำไรมากเกินควรกำลังจะ "ฆ่า" เศรษฐกิจของสหรัฐ พร้อมตั้งสังเกตว่า ที่ผ่านมาการเก็งกำไร จะมีสัดส่วนในราคาน้ำมันดิบเพียง 8-9 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลเท่านั้น แต่ปัจจุบันการเก็งกำไรมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นเป็น 65-70 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล เกือบครึ่งหนึ่งของระดับราคาอย่างไรก็ตาม สัดส่วนการเก็งกำไร ในตลาดน้ำมันยังมีมุมมองต่าง ดังตัวเลขประเมินของกระทรวงพลังงานสหรัฐ ที่คาดว่าการเก็งกำไรมีสัดส่วนประมาณ 10% ของราคาน้ำมัน หรือประมาณ 20-30 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล นอกเหนือจากประเด็นเก็งกำไรแล้ว ปัจจัยที่มีผลต่อราคาน้ำมันยังมาจาก "ดอลลาร์อ่อน" ซึ่งนับจากสิ้นปี 2544 อัตราอ้างอิงของเงินดอลลาร์สหรัฐที่คำนวณจากตะกร้าเงินของประเทศคู่ค้าหลายสกุลได้ลดลง 37% แต่ในแง่ผลกระทบจากราคานั้น พบว่าจากต้นปี 2544-2548 ราคาน้ำมันได้เพิ่มขึ้นเฉลี่ย 46% เมื่อคิดจากมูลค่าเงินดอลลาร์ แต่หากเทียบเป็นมูลค่าเงินยูโรจะเพิ่มขึ้นเพียง 8% และเฉพาะในช่วงมกราคม 2549 ถึงมกราคม 2551 พบว่าราคาน้ำมัน ในช่วง 2 ปีนี้ ได้เพิ่มขึ้น 46% เมื่อคิด จากมูลค่าเงินดอลลาร์ และเพิ่มขึ้น 17% เมื่อคิดเป็นเงินยูโรในแง่ปัจจัยของอุปสงค์อุปทาน แอนดรูว์ แบรี จากบาร์รอน สิ่งพิมพ์ในเครือดาวโจนส์ ระบุในบทความเรื่อง Bye Bubble ? : the price of oil may be peaking ว่า โดยเฉลี่ยชาวอเมริกันมีการบริโภคต่อคนอยู่ที่ 25 บาร์เรลต่อปี ญี่ปุ่นใช้พลังงาน 14 บาร์เรลต่อคนต่อปี ขณะที่จีน พบว่า 1.3 พันล้านคน บริโภคน้ำมันแค่ 2 บาร์เรลต่อคนต่อปี และประชากร 1.1 ล้านคนของอินเดีย มีอัตราการใช้น้ำมันไม่ถึง 1 บาร์เรลต่อคนต่อปีอย่างไรก็ตาม เขาได้ตั้งข้อสังเกตในบทความว่า เป็นเรื่องยากที่ประเมินได้ว่าปัจจัยพื้นฐานของอุปสงค์-อุปทานมีผลต่อราคาน้ำมัน ซึ่งเพิ่มขึ้น 40% ในปีนี้ มากน้อยแค่ไหน และไม่มีใครรู้ว่าปัจจัยอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นปัจจัยดอลลาร์ การเก็งกำไร ในตลาดคอมมอดิตี้ส์ และผลประโยชน์ ของนักลงทุนกลุ่มสถาบัน มีมากน้อยแค่ไหน แต่เขาก็คิดเช่นเดียวกับคนอื่นๆ ที่คลางแคลงใจว่า การพุ่งขึ้นของราคามาจากปัจจัยอื่นๆ ด้วย ไม่ใช่หลักทาง เศรษฐศาสตร์เท่านั้น
26 มิ.ย. 2551
19 มิ.ย. 2551
ทำไม ไม่ควรรั้ง พนักงานที่ขอลาออก
จากบทความคราวที่แล้ว อาจจะมีข้อสงสัยว่าทำไมผมไม่นิยมรั้งพนักงานที่ขอลาออก สาเหตุแรกคือ พนักงานที่จะลาออกส่วนใหญ่จะต้องมีปัญหา ที่บริษัทไม่สามารถตอบสนองความต้องการบางอย่างของพนักงานคนนั้นได้ เพราะฉะนั้นหากผมรั้งให้พนักงานอยู่ต่อ... จากประสบการณ์อีกไม่นานพนักงานคนนั้นก็ต้องลาออกอีกครั้งอยู่ดี
สาเหตุที่สอง หากพนักงานคนนั้นมีความรักองค์กรจริง เมื่อเขาประสบปัญหาเขาควรจะแจ้งให้บริษัทรับทราบเพื่อทำการแก้ไข มิใช่การบอกให้บริษัททราบในวันที่เขาลาออก ... อย่างนั้นแสดงว่าเขาไม่รักองค์กรจริง แต่ผู้บริหารเองก็ต้องพิจารณาด้วยนะครับว่า ท่านให้โอกาสพนักงานของท่านถ่ายทอดปัญหาให้กับท่านได้รับฟังบ้างหรือไม่ ถ้าท่านไม่เคยรับฟัง ... อย่าได้แปลกใจที่องค์กรของท่านจะมีพนักงานลาออกเรื่อยๆ โดยท่านไม่สามารถแก้ไขได้
สาเหตุที่สาม คือเหตุผลที่สำคัญที่สุด ... การที่พนักงานขอลาออก แสดงว่าพนักงานคนนั้นหมด "ใจ" ในการทำงานให้กับบริษัทแล้ว ... พนักงานที่หมด "ใจ" จะทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานลดลงกว่า 30% แล้วท่านคิดว่าเมื่อประสิทธิภาพในการทำงานลดลง เช่นนี้แล้ว ท่านยังอยากจะจ้างพนักงานคนนี้ ด้วยเงินเดือนเท่าเดิมหรือไม่ ... ไม่ต้องพูดถึงการขึ้นเงินเดือนให้พนักงานอยู่ต่อครับ
ท่านควรจะไปเพิ่มเงินเดือนให้กับคนที่จงรักภักดีกับองค์กรให้มากขึ้น แก้ปัญหาที่ได้รับฟังจากพนักงานที่ลาออก เพื่อไม่ให้คนรับใหม่ต้องเจอกับสภาพเช่นเดิมอีก ... ที่สำคัญอย่าลืมอวยพรให้กับพนักงานที่ลาออกโชคดีด้วยนะครับ ...
18 มิ.ย. 2551
พนักงานขอลาออก?
พนักงาน คือ ส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนองค์กรให้ก้าวไปสู่ความสำเร็จ การสูญเสียพนักงานย่อมส่งผลกับองค์กรไม่มากก็น้อย แล้วเราควรจะจัดการกับพนักงานที่ลาออกอย่างไรดี
ผู้บริหารบางคนจะเรียกพนักงานมาแล้ว เพิ่มเงินเดือนให้ นี่คือวิธีการที่นิยมใช้มากที่สุด เพื่อเหนี่ยวรั้งพนักงานเอาไว้ แต่จะบอกว่าวิธีการนี้ส่งผลเสียมากที่สุดเช่นกัน เพราะจะเป็นการสร้างค่านิยมที่ผิด และไม่ตอบสนองความต้องการที่แท้จริงของพนักงาน แถมยังสร้างความน้อยเนื้อต่ำใจให้กับพนักงานที่จงรักภักดีกับองค์กร ไม่เคยมีปัญหา ไม่เคยมีปากเสียง แต่ไม่ได้รับการปรับเงินเดือน
ผู้บริหารบางคนไม่สนใจ คุณจะลาออกก็เชิญ บริษัทนี้มีแต่คนอยากจะเข้ามาทำงาน คุณออกไปคนเดียวไม่กระทบกับองค์กรหรอก ก็อาจจะถูกแต่มันทำให้คุณเสียโอกาสที่สำคัญไปนะ
ผู้บริหารที่ดี ควรจะเรียกพนักงานเข้ามาเพื่อทำการสัมภาษณ์ก่อนออกจากงาน ซึ่งคุณจะได้รับข้อมูลบางอย่างที่คุณอาจจะคาดไม่ถึง ขอให้คิดไว้เสมอว่าสาเหตุของการลาออกของพนักงานไม่ได้มีแค่สาเหตุจากเรื่องผลตอบแทนเท่านั้น แต่มีสาเหตุอื่นๆ อีกหลายสาเหตุที่มีเหตุผลมากกว่า
ผมเองจะไม่นิยม ที่จะรั้งพนักงานที่ขอลาออกให้ทำงานต่อ ... สาเหตุ เหรอครับ เอาไว้คราวน่าจะเล่าให้ฟังครับ
6 มิ.ย. 2551
ประเภทและรูปแบบของการวิจัย
ประเภทและรูปแบบของการวิจัย
การวิจัยอาจแบ่งได้เป็น 3 ประเภทใหญ่ๆ คือ
2.1 การวิจัยตามศาสตร์
2.2 การวิจัยตามวัตถุประสงค์
2.3 การวิจัยตามการเก็บรวบรวมข้อมูล
2.1 ประเภทการวิจัยตามศาสตร์ มี 2 สาขาใหญ่ คือ
2.1.1 วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ (Natural science) เช่น เคมี ฟิสิกส์ ชีววิทยา อาจเรียกว่าการวิจัยทางวิทยาศาสตร์หรือ Pure science research
2.1.2 สังคมศาสตร์ (Social science) เช่น เรื่องจิตวิทยา พฤติกรรมทางสังคมของมนุษย์ ปรากฏการณ์ทางสังคม การอยู่ร่วมกันในสังคม วัฒนธรรม อารยธรรม
2.2 ประเภทการวิจัยตามวัตถุประสงค์
2.2.1 การวิจัยพื้นฐาน (Basic research, pure research, theoretical research)
2.2.2 การวิจัยประยุกต์ (Applied research)
1) การวิจัยปรับใช้ (Adaptive research)
2) การพัฒนาโดยการทดลอง (Experimental development)
3) การวิจัยเชิงตรวจสอบ (Exploratory research)
4) การวิจัยเพื่อการพยากรณ์ (Prediction research)
5) การวิจัยเพื่อการวางแผน (Planning research)
6) การวิจัยเพื่อการพัฒนา (Development research)
2.3 ประเภทการวิจัยตามวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล
2.3.1 การวิจัยเอกสาร ศึกษาจากข้อมูลทุติยภูมิ นิยมในสถานศึกษา (Documentary research)
2.3.2 การวิจัยจากสนาม (Field research)
1) การวิจัยโดยการสังเกตการณ์ (Observation research)
2) การวิจัยแบบสำมะโน (Census research)
3) การวิจัยแบบสำรวจ (Survey research)
4) การวิจัยกรณี (Case study หรือ Intensive investigation)
5) การวิจัยเชิงการทดลอง (Experimental research)
2.4 การใช้เกณฑ์อื่น ๆ เพื่อจำแนกประเภทการวิจัย อาจจำแนกโดย
1) ประโยชน์ที่ได้รับจากการวิจัย เช่น การวิจัยพื้นฐาน ประยุกต์ เชิงปฏิบัติ
2) คุณลักษณะข้อมูล เช่น การวิจัยเชิงปริมาณ เชิงคุณภาพ
3) ระดับการศึกษาของตัวแปร เช่น การวิจัยเพื่อสำรวจเพื่อตรวจสอบสมมติฐาน
4) ชนิดของข้อมูล เช่น เชิงประจักษ์ ใช้ข้อมูลปฐมภูมิ เชิงไม่ประจักษ์ ใช้ข้อมูลทุติภูมิ
5) ลักษณะการศึกษาตัวแปร เช่น เชิงสำรวจ ศึกษาย้อนหลัง เชิงทดลอง
6) ระเบียบวิธีการวิจัย เช่น เชิงประวัติศาสตร์ เชิงพรรณนา เชิงทดลอง
2.5 การวิจัยประเภทอื่นๆ
2.5.1 การวิจัยเชิงพรรณนาหรือแบบบรรยาย (Descriptive research)
* บรรยายสภาพคุณลักษณะ คุณสมบัติ รายละเอียดของเหตุการณ์
* ศึกษาข้อเท็จจริงใหม่ๆ แต่ไม่แสวงหาคำอธิบายว่าปรากฏการณ์นั้นเกิดขึ้นได้อย่างไร
2.5.1.1 วัตถุประสงค์
1) รวบรวมข้อมูลปัจจุบันว่ามีข้อเท็จจริงอย่างไร
2) นำข้อมูลปัจจุบันไปอธิบายประเมินผลหรือเปรียบเทียบ
3) ศึกษาความสัมพันธ์และแนวโน้มของเหตุการณ์ปัจจุบัน
2.5.1.2 ลักษณะข้อมูลวิจัยเชิงพรรณนาหรือบรรยาย
* ข้อมูลเชิงปริมาณ (Quantitive data) เช่น เนื้อที่ น้ำหนัก อายุ
* ข้อมูลเชิงคุณภาพ (Qualitive data) ได้จากการสัมภาษณ์ เช่น ทัศนคติ ความเห็น ดัชนี (Index) มาตราวัด (Scale)
2.5.1.3 ชนิดของการวิจัยเชิงบรรยาย
1) เชิงสำรวจ
2) เชิงความสัมพันธ์
3) เชิงศึกษาพัฒนาการ
2.5.2 การวิจัยเชิงอธิบาย (Explainatory research)
* มุ่งตอบปัญหาว่าอย่างไรและทำไมตัวอย่างอัตราของการติดยาเสพติดในกลุ่มอาชีพเป็นเชิงพรรณนาเหตุผลว่าทำไมคนบางกลุ่มติดยาเป็นเชิงอธิบาย
2.5.3 การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative research)
* เน้นการใช้ข้อมูลที่เป็นตัวเลขยืนยันความถูกต้องของข้อค้นพบและข้อสรุปต่างๆ เป็นการวิจัยที่มีคุณภาพ
2.5.4 การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research)
* เน้นหารายละเอียดต่างๆ อย่างลึกซึ่ง โดยศึกษาไม่กี่หน่วย
*ไม่มุ่งเก็บตัวเลขมาวิเคราะห์ให้ได้คำตอบที่ใช้ได้อย่างกว้างขวาง อาจเรียกว่า"การวิจัยทางมานุษยวิทยา" หรือ "การวิจัยแบบเจาะลึก"
2.5.5 การวิจัยแบบตัดขวาง (Cross - sectional research)
* เก็บข้อมูลเพียงครั้งเดียวแล้ววิเคราะห์หาความแตกต่างหรือความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต่าง ๆตัวอย่าง ศึกษาอัตราการวางแผนครอบครัว การยอมรับนวัตกรรม แบ่งเป็น
1) แบบตัดขวาง แบบง่าย (Simple cross - section research)
2 ) แบบทิ้งช่วง (Cross - section research with time lag)
* คือ เก็บข้อมูลครั้งเดียวแต่ตัวแปรมีมิติด้านเวลาเข้ามาเกี่ยวข้อง เช่นตัวแปรตาม คือ การมีบุตรปีนี้ ตัวแปรอิสระคือ รายได้ในรอบ 5 ปีหรือของปีที่แล้ว
*ตัวแปรตามเป็นตัวแปรเกิดหลังจากตัวแปรอิสระ
2.5.6 การวิจัยระยะยาว (Longitudinal study)
*เป็นการวิจัยที่มีการเก็บข้อมูลมากกว่า 1 ครั้ง แล้วนำข้อมูลมาเปรียบเทียบ มีหลายแบบ
เช่น เก็บตัวอย่างจากกลุ่มเดียวหลายครั้ง (Panel studies) หรือเปลี่ยนกลุ่มตัวอย่างทุกครั้ง (Successive sample)
2.5.5 และ 2.5.6 อาจเรียกว่าการศึกษาการเจริญเติบโตหรือ Growth study
2.5.7 การวิจัยกรณีศึกษา เลือกหมู่บ้าน อำเภอ แล้วศึกษาอย่างละเอียด ข้อจำกัดของผลการวิจัยคือ ไม่อาจใช้ได้อย่างกว้างขวาง
การวิจัยอาจแบ่งได้เป็น 3 ประเภทใหญ่ๆ คือ
2.1 การวิจัยตามศาสตร์
2.2 การวิจัยตามวัตถุประสงค์
2.3 การวิจัยตามการเก็บรวบรวมข้อมูล
2.1 ประเภทการวิจัยตามศาสตร์ มี 2 สาขาใหญ่ คือ
2.1.1 วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ (Natural science) เช่น เคมี ฟิสิกส์ ชีววิทยา อาจเรียกว่าการวิจัยทางวิทยาศาสตร์หรือ Pure science research
2.1.2 สังคมศาสตร์ (Social science) เช่น เรื่องจิตวิทยา พฤติกรรมทางสังคมของมนุษย์ ปรากฏการณ์ทางสังคม การอยู่ร่วมกันในสังคม วัฒนธรรม อารยธรรม
2.2 ประเภทการวิจัยตามวัตถุประสงค์
2.2.1 การวิจัยพื้นฐาน (Basic research, pure research, theoretical research)
2.2.2 การวิจัยประยุกต์ (Applied research)
1) การวิจัยปรับใช้ (Adaptive research)
2) การพัฒนาโดยการทดลอง (Experimental development)
3) การวิจัยเชิงตรวจสอบ (Exploratory research)
4) การวิจัยเพื่อการพยากรณ์ (Prediction research)
5) การวิจัยเพื่อการวางแผน (Planning research)
6) การวิจัยเพื่อการพัฒนา (Development research)
2.3 ประเภทการวิจัยตามวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล
2.3.1 การวิจัยเอกสาร ศึกษาจากข้อมูลทุติยภูมิ นิยมในสถานศึกษา (Documentary research)
2.3.2 การวิจัยจากสนาม (Field research)
1) การวิจัยโดยการสังเกตการณ์ (Observation research)
2) การวิจัยแบบสำมะโน (Census research)
3) การวิจัยแบบสำรวจ (Survey research)
4) การวิจัยกรณี (Case study หรือ Intensive investigation)
5) การวิจัยเชิงการทดลอง (Experimental research)
2.4 การใช้เกณฑ์อื่น ๆ เพื่อจำแนกประเภทการวิจัย อาจจำแนกโดย
1) ประโยชน์ที่ได้รับจากการวิจัย เช่น การวิจัยพื้นฐาน ประยุกต์ เชิงปฏิบัติ
2) คุณลักษณะข้อมูล เช่น การวิจัยเชิงปริมาณ เชิงคุณภาพ
3) ระดับการศึกษาของตัวแปร เช่น การวิจัยเพื่อสำรวจเพื่อตรวจสอบสมมติฐาน
4) ชนิดของข้อมูล เช่น เชิงประจักษ์ ใช้ข้อมูลปฐมภูมิ เชิงไม่ประจักษ์ ใช้ข้อมูลทุติภูมิ
5) ลักษณะการศึกษาตัวแปร เช่น เชิงสำรวจ ศึกษาย้อนหลัง เชิงทดลอง
6) ระเบียบวิธีการวิจัย เช่น เชิงประวัติศาสตร์ เชิงพรรณนา เชิงทดลอง
2.5 การวิจัยประเภทอื่นๆ
2.5.1 การวิจัยเชิงพรรณนาหรือแบบบรรยาย (Descriptive research)
* บรรยายสภาพคุณลักษณะ คุณสมบัติ รายละเอียดของเหตุการณ์
* ศึกษาข้อเท็จจริงใหม่ๆ แต่ไม่แสวงหาคำอธิบายว่าปรากฏการณ์นั้นเกิดขึ้นได้อย่างไร
2.5.1.1 วัตถุประสงค์
1) รวบรวมข้อมูลปัจจุบันว่ามีข้อเท็จจริงอย่างไร
2) นำข้อมูลปัจจุบันไปอธิบายประเมินผลหรือเปรียบเทียบ
3) ศึกษาความสัมพันธ์และแนวโน้มของเหตุการณ์ปัจจุบัน
2.5.1.2 ลักษณะข้อมูลวิจัยเชิงพรรณนาหรือบรรยาย
* ข้อมูลเชิงปริมาณ (Quantitive data) เช่น เนื้อที่ น้ำหนัก อายุ
* ข้อมูลเชิงคุณภาพ (Qualitive data) ได้จากการสัมภาษณ์ เช่น ทัศนคติ ความเห็น ดัชนี (Index) มาตราวัด (Scale)
2.5.1.3 ชนิดของการวิจัยเชิงบรรยาย
1) เชิงสำรวจ
2) เชิงความสัมพันธ์
3) เชิงศึกษาพัฒนาการ
2.5.2 การวิจัยเชิงอธิบาย (Explainatory research)
* มุ่งตอบปัญหาว่าอย่างไรและทำไมตัวอย่างอัตราของการติดยาเสพติดในกลุ่มอาชีพเป็นเชิงพรรณนาเหตุผลว่าทำไมคนบางกลุ่มติดยาเป็นเชิงอธิบาย
2.5.3 การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative research)
* เน้นการใช้ข้อมูลที่เป็นตัวเลขยืนยันความถูกต้องของข้อค้นพบและข้อสรุปต่างๆ เป็นการวิจัยที่มีคุณภาพ
2.5.4 การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research)
* เน้นหารายละเอียดต่างๆ อย่างลึกซึ่ง โดยศึกษาไม่กี่หน่วย
*ไม่มุ่งเก็บตัวเลขมาวิเคราะห์ให้ได้คำตอบที่ใช้ได้อย่างกว้างขวาง อาจเรียกว่า"การวิจัยทางมานุษยวิทยา" หรือ "การวิจัยแบบเจาะลึก"
2.5.5 การวิจัยแบบตัดขวาง (Cross - sectional research)
* เก็บข้อมูลเพียงครั้งเดียวแล้ววิเคราะห์หาความแตกต่างหรือความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต่าง ๆตัวอย่าง ศึกษาอัตราการวางแผนครอบครัว การยอมรับนวัตกรรม แบ่งเป็น
1) แบบตัดขวาง แบบง่าย (Simple cross - section research)
2 ) แบบทิ้งช่วง (Cross - section research with time lag)
* คือ เก็บข้อมูลครั้งเดียวแต่ตัวแปรมีมิติด้านเวลาเข้ามาเกี่ยวข้อง เช่นตัวแปรตาม คือ การมีบุตรปีนี้ ตัวแปรอิสระคือ รายได้ในรอบ 5 ปีหรือของปีที่แล้ว
*ตัวแปรตามเป็นตัวแปรเกิดหลังจากตัวแปรอิสระ
2.5.6 การวิจัยระยะยาว (Longitudinal study)
*เป็นการวิจัยที่มีการเก็บข้อมูลมากกว่า 1 ครั้ง แล้วนำข้อมูลมาเปรียบเทียบ มีหลายแบบ
เช่น เก็บตัวอย่างจากกลุ่มเดียวหลายครั้ง (Panel studies) หรือเปลี่ยนกลุ่มตัวอย่างทุกครั้ง (Successive sample)
2.5.5 และ 2.5.6 อาจเรียกว่าการศึกษาการเจริญเติบโตหรือ Growth study
2.5.7 การวิจัยกรณีศึกษา เลือกหมู่บ้าน อำเภอ แล้วศึกษาอย่างละเอียด ข้อจำกัดของผลการวิจัยคือ ไม่อาจใช้ได้อย่างกว้างขวาง
ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการวิจัย
ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการวิจัย
1.1 ความหมายของการวิจัย
คือ การหาความรู้ความจริง ตามกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ มีการรวบรวมข้อมูล จัดระเบียบข้อมูล วิเคราะห์และตีความหมายผลที่ได้จากกาiวิเคราะห์
กิจกรรมที่เกี่ยวข้องของการวิจัย
* การกำหนดหัวข้อ การแจกแจงประเด็น การออกแบบการวิจัย การกำหนดประชากรเป้าหมาย กำหนดวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล การจัดระเบียบข้อมูล การวิเคราะห์และการตีความหมาย การเขียนรายงาน
โปรดสังเกต : ความหมายของ “ความรู้” “ความจริง” ดูหนังสือ “การวิจัยทางพฤติกรรม” เรื่องอื่นๆ ที่ควรศึกษาคือ ธรรมชาติของการวิจัย ความเชื่อพื้นฐานทางสังคม ลักษณะที่สำคัญของนักวิจัย
กระบวนการค้นหาความจริงมี 5 ขั้นตอน
1) จะต้องมีปัญหาและความต้องการในการตอบปัญหา
2) กำหนดขอบเขต ให้นิยามปัญหา เพื่อมุ่งหาคำตอบ
3) ตั้งสมมุติฐานเพื่อคะเนคำตอบ
4) กำหนดวิธีการทดสอบสมมุติฐาน
5) ทดสอบสมมุติฐาน
สรุป : คือระเบียบวิธีวิทยาศาสตร์นั่นเอง
1.2 วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1.2.1 เพื่อการแก้ปัญหา
1.2.2 สร้างทฤษฎี เพราะกฎเกณฑ์และทฤษฎีสามารถนำไป
ก) อ้างอิง (Generalization)
ข) อธิบาย (Explaination)
ค) ทำนาย (Prediction) และควบคุม (Control) ปรากฏการณ์ต่างๆ
1.2.3 เพื่อพิสูจน์ทฤษฎี เพราะเวลาเปลี่ยนไป กฎเกณฑ์ต่าง ๆ ก็เปลี่ยนไป
1.3 ประโยชน์ของการวิจัย
- เกิดความรู้
- แก้ปัญหาต่างๆได้อย่างถูกต้องและยุติธรรม
- กำหนดนโยบายและวางแผนได้ถูกต้อง
- แก้ไขปัญหาในการปฏิบัติงาน
- เสริมสร้างสมรรถนะของนักบริหารในการวินิจฉัยสั่งการ
สรุป : เกิดวิทยาการใหม่ แนวทางแก้ปัญหา กำหนดนโยบาย ท้ายสุดคือพัฒนาประเทศ
1.4 การวิจัยกับวิทยาศาสตร์
วิทยาศาสตร์ คือ การแสวงหาความรู้ความจริง การวิจัย มีกระบวนการคล้ายคลึงกับกระบวนการของ ระเบียบวิธีวิทยาศาสตร์ คือมีขั้นตอน
1) ปัญหา เกิดขึ้นเพราะไม่สามารถหาวิธีการที่จะให้ ความหมาย ลักษณะเหตุการณ์หรืออธิบายปรากฏการณ์นั้น
2) วิเคราะห์และนิยามปัญหา เพื่อให้ชัดเจนขึ้น
3) สร้างสมมุติฐาน หรือหาทางชี้แนะคำตอบของปัญหา
4) ให้เหตุผลเบื้องหลังสมมุติฐาน อาศัยทฤษฎีหรือความจริงต่างๆ ที่เคยค้นพบมาแล้ว
5) ทดสอบสมมุติฐาน โดยการปฏิบัติจริง ขั้นตอนนี้ผู้วิจัยจะค้นพบความจริงที่นำมาใช้อธิบายปัญหาที่เกิดขึ้นได้
1.5 การวิจัยทางสังคมศาสตร์ สังคมศาสตร์เป็นศาสตร์เกี่ยวกับ
1) จิตใจ พฤติกรรม ปรากฏการณ์ทางสังคม การอยู่ร่วมกัน วัฒนธรรม อารยธรรม โดยศึกษาแนวทางที่ทำให้เกิดการพัฒนา เพื่อสันติสุขในสังคม
2) ปรากฏการณ์ทางสังคม เช่น การชุมนุมการรวมกลุ่มเกษตรกร พัฒนาหมู่บ้านร่วมกัน การดำเนินการร่วมกันทางเศรษฐกิจและสังคม การเมือง ศาสนา
3) สังคมศาสตร์ประกอบด้วยสาขาวิชา เช่น มนุษยศาสตร์ นิติศาสตร์ รัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา
4) บางตำราสังคมศาสตร์ หมายรวมถึง
- มนุษยศาสตร์ โบราณคดี ประวัติศาสตร์ ภาษาศาสตร์ บรรณารักษ์ศาสตร์ ปรัชญา จิตวิทยา อักษรศาสตร์และอื่นๆที่คล้ายคลึงกัน
- การศึกษา วิชาทางการศึกษา พลศึกษา ฯลฯ
- วิจิตรศิลป ได้แก่ วิชาทางสถาปัตยกรรม จิตรกรรม ฯลฯ
- สังคมศาสตร์ ธนาคาร พานิช บัญชี รัฐศาสตร์ ฯลฯ
- นิติศาสตร์ เป็นต้น
สรุป : การวิจัย หมายถึง กระบวนการศึกษาค้นคว้าหาความจริงอย่าง มีระบบระเบียบแบบแผน โดยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ที่เหมาะสมและถูกต้อง เพื่อให้ได้ความรู้ใหม่ๆหรือแนวทางในการแก้ไขปรับปรุงหรือพัฒนากิจกรรมต่างๆตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย
1.1 ความหมายของการวิจัย
คือ การหาความรู้ความจริง ตามกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ มีการรวบรวมข้อมูล จัดระเบียบข้อมูล วิเคราะห์และตีความหมายผลที่ได้จากกาiวิเคราะห์
กิจกรรมที่เกี่ยวข้องของการวิจัย
* การกำหนดหัวข้อ การแจกแจงประเด็น การออกแบบการวิจัย การกำหนดประชากรเป้าหมาย กำหนดวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล การจัดระเบียบข้อมูล การวิเคราะห์และการตีความหมาย การเขียนรายงาน
โปรดสังเกต : ความหมายของ “ความรู้” “ความจริง” ดูหนังสือ “การวิจัยทางพฤติกรรม” เรื่องอื่นๆ ที่ควรศึกษาคือ ธรรมชาติของการวิจัย ความเชื่อพื้นฐานทางสังคม ลักษณะที่สำคัญของนักวิจัย
กระบวนการค้นหาความจริงมี 5 ขั้นตอน
1) จะต้องมีปัญหาและความต้องการในการตอบปัญหา
2) กำหนดขอบเขต ให้นิยามปัญหา เพื่อมุ่งหาคำตอบ
3) ตั้งสมมุติฐานเพื่อคะเนคำตอบ
4) กำหนดวิธีการทดสอบสมมุติฐาน
5) ทดสอบสมมุติฐาน
สรุป : คือระเบียบวิธีวิทยาศาสตร์นั่นเอง
1.2 วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1.2.1 เพื่อการแก้ปัญหา
1.2.2 สร้างทฤษฎี เพราะกฎเกณฑ์และทฤษฎีสามารถนำไป
ก) อ้างอิง (Generalization)
ข) อธิบาย (Explaination)
ค) ทำนาย (Prediction) และควบคุม (Control) ปรากฏการณ์ต่างๆ
1.2.3 เพื่อพิสูจน์ทฤษฎี เพราะเวลาเปลี่ยนไป กฎเกณฑ์ต่าง ๆ ก็เปลี่ยนไป
1.3 ประโยชน์ของการวิจัย
- เกิดความรู้
- แก้ปัญหาต่างๆได้อย่างถูกต้องและยุติธรรม
- กำหนดนโยบายและวางแผนได้ถูกต้อง
- แก้ไขปัญหาในการปฏิบัติงาน
- เสริมสร้างสมรรถนะของนักบริหารในการวินิจฉัยสั่งการ
สรุป : เกิดวิทยาการใหม่ แนวทางแก้ปัญหา กำหนดนโยบาย ท้ายสุดคือพัฒนาประเทศ
1.4 การวิจัยกับวิทยาศาสตร์
วิทยาศาสตร์ คือ การแสวงหาความรู้ความจริง การวิจัย มีกระบวนการคล้ายคลึงกับกระบวนการของ ระเบียบวิธีวิทยาศาสตร์ คือมีขั้นตอน
1) ปัญหา เกิดขึ้นเพราะไม่สามารถหาวิธีการที่จะให้ ความหมาย ลักษณะเหตุการณ์หรืออธิบายปรากฏการณ์นั้น
2) วิเคราะห์และนิยามปัญหา เพื่อให้ชัดเจนขึ้น
3) สร้างสมมุติฐาน หรือหาทางชี้แนะคำตอบของปัญหา
4) ให้เหตุผลเบื้องหลังสมมุติฐาน อาศัยทฤษฎีหรือความจริงต่างๆ ที่เคยค้นพบมาแล้ว
5) ทดสอบสมมุติฐาน โดยการปฏิบัติจริง ขั้นตอนนี้ผู้วิจัยจะค้นพบความจริงที่นำมาใช้อธิบายปัญหาที่เกิดขึ้นได้
1.5 การวิจัยทางสังคมศาสตร์ สังคมศาสตร์เป็นศาสตร์เกี่ยวกับ
1) จิตใจ พฤติกรรม ปรากฏการณ์ทางสังคม การอยู่ร่วมกัน วัฒนธรรม อารยธรรม โดยศึกษาแนวทางที่ทำให้เกิดการพัฒนา เพื่อสันติสุขในสังคม
2) ปรากฏการณ์ทางสังคม เช่น การชุมนุมการรวมกลุ่มเกษตรกร พัฒนาหมู่บ้านร่วมกัน การดำเนินการร่วมกันทางเศรษฐกิจและสังคม การเมือง ศาสนา
3) สังคมศาสตร์ประกอบด้วยสาขาวิชา เช่น มนุษยศาสตร์ นิติศาสตร์ รัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา
4) บางตำราสังคมศาสตร์ หมายรวมถึง
- มนุษยศาสตร์ โบราณคดี ประวัติศาสตร์ ภาษาศาสตร์ บรรณารักษ์ศาสตร์ ปรัชญา จิตวิทยา อักษรศาสตร์และอื่นๆที่คล้ายคลึงกัน
- การศึกษา วิชาทางการศึกษา พลศึกษา ฯลฯ
- วิจิตรศิลป ได้แก่ วิชาทางสถาปัตยกรรม จิตรกรรม ฯลฯ
- สังคมศาสตร์ ธนาคาร พานิช บัญชี รัฐศาสตร์ ฯลฯ
- นิติศาสตร์ เป็นต้น
สรุป : การวิจัย หมายถึง กระบวนการศึกษาค้นคว้าหาความจริงอย่าง มีระบบระเบียบแบบแผน โดยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ที่เหมาะสมและถูกต้อง เพื่อให้ได้ความรู้ใหม่ๆหรือแนวทางในการแก้ไขปรับปรุงหรือพัฒนากิจกรรมต่างๆตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)