26 มิ.ย. 2551

ราคาน้ำมันดิบโลก 130 ดอลลาร์มาจากอะไร

ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2551 ปีที่ 32 ฉบับที่ 4013 (3213)
การประชุมสุดยอดพลังงานที่เมืองเจดดาห์ผ่านพ้นไปแล้ว แต่สิ่งหนึ่งที่ยังคงเป็นภาพปกติให้เห็น คือ ความผันผวนในตลาดน้ำมัน ดิบโลก และราคาที่มีแรงกดดันให้ปรับขึ้นมากกว่าลง ซาอุดีอาระเบียผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่สุดของกลุ่มโอเปก และเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมครั้งนี้ ได้ประกาศเพิ่มกำลังการผลิตน้ำมันแต่ละวันอีกประมาณ 200,000 บาร์เรลต่อวัน เป็น 9.7 ล้านบาร์เรล ในเดือนกรกฎาคม แต่ดูเหมือนปฏิกิริยาจากทั้งสมาชิกโอเปกบางประเทศ และ นักวิเคราะห์บางราย มองไปในมุมเดียวกันว่า แผนริเริ่มต่างๆ ของซาอุดีอาระเบียยากจะดึงราคาน้ำมันดิบลงมา เนื่องจากการ พุ่งทะยานเหนือ 130 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล มาจากการเก็งกำไรในตลาด มากกว่าจะมาจากเหตุผลของการขาดแคลนน้ำมันไมค์ วิตเนอร์ ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยน้ำมัน ของโซซิเอเต เชเนราล ในลอนดอน ให้ความเห็นระหว่างให้สัมภาษณ์สำนักข่าวบลูมเบิร์กว่า ปริมาณน้ำมันที่เพิ่มขึ้นอีก 200,000 บาร์เรลต่อวัน ไม่ถือว่ามากเลย โดยเฉพาะหากเมื่อเทียบกับเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งออกมาว่าจะมีการเพิ่มผลิต 500,000 บาร์เรลเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน ราคาน้ำมันดิบในตลาดนิวยอร์กได้พุ่งขึ้นทำสถิติใหม่ระหว่างวันที่ 139.89 ดอลลาร์ มากกว่าระดับราคาเมื่อ 6 ปีก่อนถึง 5 เท่าตัว ซึ่งเป็นต้นเหตุหนึ่งที่นำไปสู่การประท้วงและการจลาจลในประเทศผู้นำเข้าน้ำมัน กระตุ้นเงินเฟ้อให้ปะทุเร็วขึ้น และบีบให้ ผู้บริโภคเชื้อเพลิงบางกลุ่ม โดยเฉพาะ สายการบิน ต้องเลิกกิจการหากพิจารณาจากแถลงการณ์ร่วมของ ที่ประชุมเจดดาห์ จะพบว่าเป้าหมายหนึ่งของผู้เข้าร่วม โดยเฉพาะในฟากของประเทศ ผู้ผลิตน้ำมัน ได้พุ่งไปที่พฤติกรรมการเก็งกำไร โดยเฉพาะสาระสำคัญที่ "เรียกร้องให้มีการเพิ่มความโปร่งใสและการกำกับดูแลตลาดการเงินผ่านมาตรการต่างๆ ที่จะใช้ข้อมูลเกี่ยวกับการดำเนินการของ พวกกองทุนดัชนี (index fund) และ ตรวจสอบพฤติกรรมระหว่างตลาดต่างๆ ในตลาดน้ำมันดิบ"ยิ่งกว่านั้น ยังพบว่า "การเก็งกำไร" กำลังเป็นประเด็นร้อนทั้งในวุฒิสภา และสภาผู้แทนราษฎรของสหรัฐอเมริกา จากข้อมูลซึ่งจัดทำโดยคณะกรรมการกำกับดูแลตลาดล่วงหน้า เสนอต่อคณะกรรมาธิการการค้าและพลังงานประจำสภาผู้แทนราษฎร ให้ข้อสรุปว่า นักเก็งกำไรเป็นผู้เล่นรายใหญ่สุดในตลาดซื้อขายน้ำมันล่วงหน้า โดยมีสัดส่วนในการซื้อขายเพิ่มขึ้นเป็นเกือบ 2 เท่าของสัดส่วนการซื้อขาย เมื่อ 8 ปีก่อน โดยในปี 2543 นักเก็งกำไรมีสัดส่วนในการควบคุมสัญญาฟิวเจอร์น้ำมันในสถานะผู้ซื้อน้ำมันดิบสหรัฐ 37% ในตลาดนิวยอร์ก เมอร์แคนไทล์ โดยที่เหลือถือครองโดยผู้ที่เข้ามาซื้อเพื่อประกันความเสี่ยง รวมถึง โรงกลั่น และสายการบิน ซึ่งต้องการประกันความเสี่ยงจากราคาเชื้อเพลิงในช่วงของการส่งมอบ แต่นับถึงเดือนเมษายนปีนี้ นักเก็งกำไรมีสัดส่วนในการควบคุมสัญญาฟิวเจอร์เพิ่มขึ้นเป็น 71%ข้อมูลดังกล่าวเป็นที่มาของแถลงการณ์ผ่านไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (อีเมล์) โดยจอห์น ดิงเกลล์ ประธานกรรมาธิการการค้าและพลังงาน ซึ่งแสดงความกังวลต่อบทบาทของนักเก็งกำไร และข้อสงสัยเกี่ยวกับราคาน้ำมันดิบล่วงหน้าว่า อาจจะไม่เป็นไปตามปัจจัยพื้นฐานของอุปสงค์-อุปทานในตลาด ขณะเดียวกัน สภาผู้แทนฯสหรัฐยังมีการพิจารณาร่างกฎหมายเพื่อการป้องกันการเก็งกำไรราคาอย่างไม่เป็นธรรม (Prevent Unfair Manipulation of Prices : PUMP) ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อกำจัดช่องโหว่ที่เปิดให้ผู้ค้าในตลาดพลังงานทำกำไรมากเกินควร และสร้างปัญหาราคาน้ำมันแพงให้ผู้บริโภคต้องรับผลกระทบ ร่างกฎหมายฉบับนี้เสนอโดยบาร์ต สติวแพค ส.ส.สังกัดพรรคเดโมแครต และเป็นประธาน อนุกรรมาธิการฝ่ายการตรวจสอบและการกำกับดูแล ภายใต้กรรมาธิการการค้า และพลังงาน สภาผู้แทนฯ สติวแพคระบุว่า การเก็งกำไรมากเกินควรกำลังจะ "ฆ่า" เศรษฐกิจของสหรัฐ พร้อมตั้งสังเกตว่า ที่ผ่านมาการเก็งกำไร จะมีสัดส่วนในราคาน้ำมันดิบเพียง 8-9 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลเท่านั้น แต่ปัจจุบันการเก็งกำไรมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นเป็น 65-70 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล เกือบครึ่งหนึ่งของระดับราคาอย่างไรก็ตาม สัดส่วนการเก็งกำไร ในตลาดน้ำมันยังมีมุมมองต่าง ดังตัวเลขประเมินของกระทรวงพลังงานสหรัฐ ที่คาดว่าการเก็งกำไรมีสัดส่วนประมาณ 10% ของราคาน้ำมัน หรือประมาณ 20-30 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล นอกเหนือจากประเด็นเก็งกำไรแล้ว ปัจจัยที่มีผลต่อราคาน้ำมันยังมาจาก "ดอลลาร์อ่อน" ซึ่งนับจากสิ้นปี 2544 อัตราอ้างอิงของเงินดอลลาร์สหรัฐที่คำนวณจากตะกร้าเงินของประเทศคู่ค้าหลายสกุลได้ลดลง 37% แต่ในแง่ผลกระทบจากราคานั้น พบว่าจากต้นปี 2544-2548 ราคาน้ำมันได้เพิ่มขึ้นเฉลี่ย 46% เมื่อคิดจากมูลค่าเงินดอลลาร์ แต่หากเทียบเป็นมูลค่าเงินยูโรจะเพิ่มขึ้นเพียง 8% และเฉพาะในช่วงมกราคม 2549 ถึงมกราคม 2551 พบว่าราคาน้ำมัน ในช่วง 2 ปีนี้ ได้เพิ่มขึ้น 46% เมื่อคิด จากมูลค่าเงินดอลลาร์ และเพิ่มขึ้น 17% เมื่อคิดเป็นเงินยูโรในแง่ปัจจัยของอุปสงค์อุปทาน แอนดรูว์ แบรี จากบาร์รอน สิ่งพิมพ์ในเครือดาวโจนส์ ระบุในบทความเรื่อง Bye Bubble ? : the price of oil may be peaking ว่า โดยเฉลี่ยชาวอเมริกันมีการบริโภคต่อคนอยู่ที่ 25 บาร์เรลต่อปี ญี่ปุ่นใช้พลังงาน 14 บาร์เรลต่อคนต่อปี ขณะที่จีน พบว่า 1.3 พันล้านคน บริโภคน้ำมันแค่ 2 บาร์เรลต่อคนต่อปี และประชากร 1.1 ล้านคนของอินเดีย มีอัตราการใช้น้ำมันไม่ถึง 1 บาร์เรลต่อคนต่อปีอย่างไรก็ตาม เขาได้ตั้งข้อสังเกตในบทความว่า เป็นเรื่องยากที่ประเมินได้ว่าปัจจัยพื้นฐานของอุปสงค์-อุปทานมีผลต่อราคาน้ำมัน ซึ่งเพิ่มขึ้น 40% ในปีนี้ มากน้อยแค่ไหน และไม่มีใครรู้ว่าปัจจัยอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นปัจจัยดอลลาร์ การเก็งกำไร ในตลาดคอมมอดิตี้ส์ และผลประโยชน์ ของนักลงทุนกลุ่มสถาบัน มีมากน้อยแค่ไหน แต่เขาก็คิดเช่นเดียวกับคนอื่นๆ ที่คลางแคลงใจว่า การพุ่งขึ้นของราคามาจากปัจจัยอื่นๆ ด้วย ไม่ใช่หลักทาง เศรษฐศาสตร์เท่านั้น

1 ความคิดเห็น:

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ฝากชมด้วยเน้อออ
http://buncheethai.exteen.com
แวะมาเม้นให้เน้อออ