6 มิ.ย. 2551

ประเภทและรูปแบบของการวิจัย

ประเภทและรูปแบบของการวิจัย
การวิจัยอาจแบ่งได้เป็น 3 ประเภทใหญ่ๆ คือ
2.1 การวิจัยตามศาสตร์
2.2 การวิจัยตามวัตถุประสงค์
2.3 การวิจัยตามการเก็บรวบรวมข้อมูล
2.1 ประเภทการวิจัยตามศาสตร์ มี 2 สาขาใหญ่ คือ
2.1.1 วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ (Natural science) เช่น เคมี ฟิสิกส์ ชีววิทยา อาจเรียกว่าการวิจัยทางวิทยาศาสตร์หรือ Pure science research
2.1.2 สังคมศาสตร์ (Social science) เช่น เรื่องจิตวิทยา พฤติกรรมทางสังคมของมนุษย์ ปรากฏการณ์ทางสังคม การอยู่ร่วมกันในสังคม วัฒนธรรม อารยธรรม
2.2 ประเภทการวิจัยตามวัตถุประสงค์
2.2.1 การวิจัยพื้นฐาน (Basic research, pure research, theoretical research)
2.2.2 การวิจัยประยุกต์ (Applied research)
1) การวิจัยปรับใช้ (Adaptive research)
2) การพัฒนาโดยการทดลอง (Experimental development)
3) การวิจัยเชิงตรวจสอบ (Exploratory research)
4) การวิจัยเพื่อการพยากรณ์ (Prediction research)
5) การวิจัยเพื่อการวางแผน (Planning research)
6) การวิจัยเพื่อการพัฒนา (Development research)
2.3 ประเภทการวิจัยตามวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล
2.3.1 การวิจัยเอกสาร ศึกษาจากข้อมูลทุติยภูมิ นิยมในสถานศึกษา (Documentary research)
2.3.2 การวิจัยจากสนาม (Field research)
1) การวิจัยโดยการสังเกตการณ์ (Observation research)
2) การวิจัยแบบสำมะโน (Census research)
3) การวิจัยแบบสำรวจ (Survey research)
4) การวิจัยกรณี (Case study หรือ Intensive investigation)
5) การวิจัยเชิงการทดลอง (Experimental research)
2.4 การใช้เกณฑ์อื่น ๆ เพื่อจำแนกประเภทการวิจัย อาจจำแนกโดย
1) ประโยชน์ที่ได้รับจากการวิจัย เช่น การวิจัยพื้นฐาน ประยุกต์ เชิงปฏิบัติ
2) คุณลักษณะข้อมูล เช่น การวิจัยเชิงปริมาณ เชิงคุณภาพ
3) ระดับการศึกษาของตัวแปร เช่น การวิจัยเพื่อสำรวจเพื่อตรวจสอบสมมติฐาน
4) ชนิดของข้อมูล เช่น เชิงประจักษ์ ใช้ข้อมูลปฐมภูมิ เชิงไม่ประจักษ์ ใช้ข้อมูลทุติภูมิ
5) ลักษณะการศึกษาตัวแปร เช่น เชิงสำรวจ ศึกษาย้อนหลัง เชิงทดลอง
6) ระเบียบวิธีการวิจัย เช่น เชิงประวัติศาสตร์ เชิงพรรณนา เชิงทดลอง
2.5 การวิจัยประเภทอื่นๆ
2.5.1 การวิจัยเชิงพรรณนาหรือแบบบรรยาย (Descriptive research)
* บรรยายสภาพคุณลักษณะ คุณสมบัติ รายละเอียดของเหตุการณ์
* ศึกษาข้อเท็จจริงใหม่ๆ แต่ไม่แสวงหาคำอธิบายว่าปรากฏการณ์นั้นเกิดขึ้นได้อย่างไร
2.5.1.1 วัตถุประสงค์
1) รวบรวมข้อมูลปัจจุบันว่ามีข้อเท็จจริงอย่างไร
2) นำข้อมูลปัจจุบันไปอธิบายประเมินผลหรือเปรียบเทียบ
3) ศึกษาความสัมพันธ์และแนวโน้มของเหตุการณ์ปัจจุบัน
2.5.1.2 ลักษณะข้อมูลวิจัยเชิงพรรณนาหรือบรรยาย
* ข้อมูลเชิงปริมาณ (Quantitive data) เช่น เนื้อที่ น้ำหนัก อายุ
* ข้อมูลเชิงคุณภาพ (Qualitive data) ได้จากการสัมภาษณ์ เช่น ทัศนคติ ความเห็น ดัชนี (Index) มาตราวัด (Scale)
2.5.1.3 ชนิดของการวิจัยเชิงบรรยาย
1) เชิงสำรวจ
2) เชิงความสัมพันธ์
3) เชิงศึกษาพัฒนาการ
2.5.2 การวิจัยเชิงอธิบาย (Explainatory research)
* มุ่งตอบปัญหาว่าอย่างไรและทำไมตัวอย่างอัตราของการติดยาเสพติดในกลุ่มอาชีพเป็นเชิงพรรณนาเหตุผลว่าทำไมคนบางกลุ่มติดยาเป็นเชิงอธิบาย
2.5.3 การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative research)
* เน้นการใช้ข้อมูลที่เป็นตัวเลขยืนยันความถูกต้องของข้อค้นพบและข้อสรุปต่างๆ เป็นการวิจัยที่มีคุณภาพ
2.5.4 การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research)
* เน้นหารายละเอียดต่างๆ อย่างลึกซึ่ง โดยศึกษาไม่กี่หน่วย
*ไม่มุ่งเก็บตัวเลขมาวิเคราะห์ให้ได้คำตอบที่ใช้ได้อย่างกว้างขวาง อาจเรียกว่า"การวิจัยทางมานุษยวิทยา" หรือ "การวิจัยแบบเจาะลึก"
2.5.5 การวิจัยแบบตัดขวาง (Cross - sectional research)
* เก็บข้อมูลเพียงครั้งเดียวแล้ววิเคราะห์หาความแตกต่างหรือความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต่าง ๆตัวอย่าง ศึกษาอัตราการวางแผนครอบครัว การยอมรับนวัตกรรม แบ่งเป็น
1) แบบตัดขวาง แบบง่าย (Simple cross - section research)
2 ) แบบทิ้งช่วง (Cross - section research with time lag)
* คือ เก็บข้อมูลครั้งเดียวแต่ตัวแปรมีมิติด้านเวลาเข้ามาเกี่ยวข้อง เช่นตัวแปรตาม คือ การมีบุตรปีนี้ ตัวแปรอิสระคือ รายได้ในรอบ 5 ปีหรือของปีที่แล้ว
*ตัวแปรตามเป็นตัวแปรเกิดหลังจากตัวแปรอิสระ
2.5.6 การวิจัยระยะยาว (Longitudinal study)
*เป็นการวิจัยที่มีการเก็บข้อมูลมากกว่า 1 ครั้ง แล้วนำข้อมูลมาเปรียบเทียบ มีหลายแบบ
เช่น เก็บตัวอย่างจากกลุ่มเดียวหลายครั้ง (Panel studies) หรือเปลี่ยนกลุ่มตัวอย่างทุกครั้ง (Successive sample)
2.5.5 และ 2.5.6 อาจเรียกว่าการศึกษาการเจริญเติบโตหรือ Growth study
2.5.7 การวิจัยกรณีศึกษา เลือกหมู่บ้าน อำเภอ แล้วศึกษาอย่างละเอียด ข้อจำกัดของผลการวิจัยคือ ไม่อาจใช้ได้อย่างกว้างขวาง

ไม่มีความคิดเห็น: