การสื่อสารภายในองค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นองค์ประกอบที่สำคัญของการบริหารงานอย่างมีประสิทธิภาพ แต่กลับเป็นสิ่งที่ผู้บริหารหลายคนละเลย จนก่อให้เกิดปัญหาภายในองค์กร โดยเฉพาะผู้บริหารระดับกลางส่วนใหญ่มักจะขาดทักษะทางด้านนี้ ทำให้หลายคนไทม่สามารถก้าวหน้าในหน้าที่การงานได้มากเท่าที่ควร ทั้งที่จริงเป็นคนมีความสามารถสูง
วันนี้จะลองให้เกร็ดความรู้เกี่ยวกับเทคนิคการสื่อสารที่มีคุณภาพ ซึ่งสามารถนำไปปรับใช้ได้ในทุกองค์กร
C Clear ชัดเจน แจ่มแจ้ง ประจักษ์ชัด
O Objective วัตถุประสงค์ จุดมุ่งหมาย
M Message design การออกแบบสาร(เนื้อหา-สาระ)
M Multi channel หลายช่องทาง
U Understanding check ตรวจสอบความเข้าใจ
N Nonformal&Formal ไม่เป็นทางการและเป็นทางการ
I Identify Audience วิเคราะห์ผู้รับสาร
C Cool & Comfort สะดวกสบาย
A Associate เกี่ยวข้องกับเชื่อมโยงกันได้
T Two ways Communication สื่อสาร 2 ทางไป-กลับ
I Interaction มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน
O Obstruction อุปสรรค
N Notation มีการจดบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร
31 ต.ค. 2550
22 ต.ค. 2550
การสอนงาน
คือ การที่ผู้บังคับบัญชาสอนงานผู้ใต้บังคับบัญชา ได้เรียนรู้ว่างานที่ตนได้รับมอบหมายนั้นมีวัตถุประสงค์อย่างไร มีวิธีปฏิบัติอย่างไรจึงจะบรรลุวัตถุประสงค์นั้นอย่างมีประสิทธิภาพ
การสอนงานเป็นการกระทำของผู้บังคับบัญชาที่มุ่งหวัง จะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้ใต้บังคับบัญชาจากการทำงาน ไม่เป็น หรือไม่ชำนาญ มาเป็น...ผู้ทำงานเป็นและชำนาญยิ่งขึ้น
เมื่อไรจึงจะเริ่มการสอนงาน?
เมื่อผู้ปฏิบัติงานขาดทักษะ ความรู้ ทำงานไม่ได้ผล
เมื่อมีการเปลี่ยนงาน วิธีทำงานหรือเทคโนโลยีใหม่ ๆ
เมื่อทำงานผิดพลาด
เมื่อได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่ใหม่เพิ่มขึ้น
เมื่อมีกฎ ระเบียบ หรือข้อบังคับใหม่ๆ
การพูดเพื่อฝึกลูกน้อง
1. อธิบายอย่างละเอียดและตั้งใจ
2. ทำให้ดูเป็นตัวอย่าง
3. ให้ลูกน้องลองทำด้วยมือตนเอง
4. เฝ้าดูและจัดผลงาน
5. แลกเปลี่ยนคำถาม-คำตอบกัน
การสอนงานเป็นการกระทำของผู้บังคับบัญชาที่มุ่งหวัง จะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้ใต้บังคับบัญชาจากการทำงาน ไม่เป็น หรือไม่ชำนาญ มาเป็น...ผู้ทำงานเป็นและชำนาญยิ่งขึ้น
เมื่อไรจึงจะเริ่มการสอนงาน?
เมื่อผู้ปฏิบัติงานขาดทักษะ ความรู้ ทำงานไม่ได้ผล
เมื่อมีการเปลี่ยนงาน วิธีทำงานหรือเทคโนโลยีใหม่ ๆ
เมื่อทำงานผิดพลาด
เมื่อได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่ใหม่เพิ่มขึ้น
เมื่อมีกฎ ระเบียบ หรือข้อบังคับใหม่ๆ
การพูดเพื่อฝึกลูกน้อง
1. อธิบายอย่างละเอียดและตั้งใจ
2. ทำให้ดูเป็นตัวอย่าง
3. ให้ลูกน้องลองทำด้วยมือตนเอง
4. เฝ้าดูและจัดผลงาน
5. แลกเปลี่ยนคำถาม-คำตอบกัน
15 ต.ค. 2550
ทักษะในการสั่งงาน
การสั่งงานเป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่ง ที่จะทำให้ผู้ปฏิบัติงานทราบและเข้าใจงาน ทำให้ช่วยปฏิบัติงานตามที่ได้รับมอบได้
การสั่งงานคือ การที่ผู้บังคับบัญชามอบหมายงานให้ผู้ใต้บังคับบัญชาทราบว่าจะต้องทำอะไรบ้าง ทำคุณภาพแค่ไหน ทำเมื่อใด และทำอย่างไร
ประเภทของการสั่งงาน
1. การสั่งงานโดยการบังคับ
2. การสั่งงานโดยการขอร้อง
3. การสั่งงานแบบเสนอแนะ
4. การสั่งงานแบบขอความสมัครใจ
ลักษณะของการออกคำสั่งที่ดี
. สั่งงานให้เหมาะกับบุคคล
. สั่งให้ละเอียด สมบูรณ์ เข้าใจง่าย กระทัดรัด มีเป้าหมาย
. สั่งให้ถูกต้องตามข้อเท็จจริง ไม่ขัดแย้ง
. คำสั่งควรกระตุ้นให้ผู้ปฏิบัติงานอยากทำ
. ยินดีตอบข้อซักถามจากผู้ปฏิบัติ
. ทบทวนคำสั่งเดิม
. ร่วมรับผิดชอบต่อผลงานด้วย
. ขณะสั่งงานควรแสดงอากัปกริยาที่ดี
การสั่งงานคือ การที่ผู้บังคับบัญชามอบหมายงานให้ผู้ใต้บังคับบัญชาทราบว่าจะต้องทำอะไรบ้าง ทำคุณภาพแค่ไหน ทำเมื่อใด และทำอย่างไร
ประเภทของการสั่งงาน
1. การสั่งงานโดยการบังคับ
2. การสั่งงานโดยการขอร้อง
3. การสั่งงานแบบเสนอแนะ
4. การสั่งงานแบบขอความสมัครใจ
ลักษณะของการออกคำสั่งที่ดี
. สั่งงานให้เหมาะกับบุคคล
. สั่งให้ละเอียด สมบูรณ์ เข้าใจง่าย กระทัดรัด มีเป้าหมาย
. สั่งให้ถูกต้องตามข้อเท็จจริง ไม่ขัดแย้ง
. คำสั่งควรกระตุ้นให้ผู้ปฏิบัติงานอยากทำ
. ยินดีตอบข้อซักถามจากผู้ปฏิบัติ
. ทบทวนคำสั่งเดิม
. ร่วมรับผิดชอบต่อผลงานด้วย
. ขณะสั่งงานควรแสดงอากัปกริยาที่ดี
12 ต.ค. 2550
เราจะบริหารความเสี่ยงของธุรกิจบริการได้อย่างไร?
การจะสร้างธุรกิจให้ประสบความสำเร็จเป็นสิ่งที่ยาก เนื่องจากการดำเนินธุรกิจในภาวะปัจจุบัน มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว นำมาซึ่งความเสี่ยงทางธุรกิจ จำเป็นอย่างยิ่งที่องค์กรจะต้องสามารถบริหารความเสี่ยงดังกล่าวให้ได้ หากต้องการที่จะให้องค์กรสามารถประสบความสำเร็จอย่งยั่งยืน
เราจะบริหารความเสี่ยงของธุรกิจบริการได้อย่างไร?
1. กำหนดลูกค้ากลุ่มเป้าหมายให้ชัดเจน
2. สร้างความแตกต่างของสินค้า หรือการบริการ ซึ่งจะทำให้คู่แข่งไม่สามารถทดแทนสินค้าของเราได้
3. พัฒนาสินค้าให้มีความหลากหลาย เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าเฉพาะกลุ่ม
4. ลดสัดส่วนของต้นทุนคงที่ เมื่อเปรียบเทียบกับต้นทุนผันแปร ให้ได้มากที่สุด เท่าที่จะเป็นไปได้
5. สร้างกลุ่มลูกค้าประจำ “แฟนพันธุ์แท้” ให้ได้มากที่สุด อาทิ การจัดทำระบบสมาชิก การจัดให้มีทีมลูกค้าสัมพันธ์
6. การกระจายกลุ่มลูกค้าให้มีความหลากหลายมากที่สุด เพื่อลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของลูกค้าบางกลุ่ม
เราจะบริหารความเสี่ยงของธุรกิจบริการได้อย่างไร?
1. กำหนดลูกค้ากลุ่มเป้าหมายให้ชัดเจน
2. สร้างความแตกต่างของสินค้า หรือการบริการ ซึ่งจะทำให้คู่แข่งไม่สามารถทดแทนสินค้าของเราได้
3. พัฒนาสินค้าให้มีความหลากหลาย เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าเฉพาะกลุ่ม
4. ลดสัดส่วนของต้นทุนคงที่ เมื่อเปรียบเทียบกับต้นทุนผันแปร ให้ได้มากที่สุด เท่าที่จะเป็นไปได้
5. สร้างกลุ่มลูกค้าประจำ “แฟนพันธุ์แท้” ให้ได้มากที่สุด อาทิ การจัดทำระบบสมาชิก การจัดให้มีทีมลูกค้าสัมพันธ์
6. การกระจายกลุ่มลูกค้าให้มีความหลากหลายมากที่สุด เพื่อลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของลูกค้าบางกลุ่ม
11 ต.ค. 2550
ทำอย่างไร "ธุรกิจบริการ" จึงจะประสบความสำเร็จ อย่างยั่งยืน?
การพัฒนาของระบบเศรษฐกิจของแต่ละประเทศ จะต้องมีการพัฒนาตามพื้นฐานความได้เปรียบเทียบเชิงเปรียบเทียบของประเทศนั้น ซึ่งในอนาคตอันใกล้นี้ ประเทศไทยจำเป็นต้องเข้าสู่อุตสาหกรรมการบริการมากยิ่งขึ้น เนื่องจาก "การบริการ" ถือเป็นข้อได้เปรียบเพียงอย่างเดียวของประเทศไทย ที่จะสามารถแข่งขันกับต่างประเทศได้ วันนี้จึงอยากจะเสนอในเรื่องของการทำให้ธุรกิจ ประสบความสำเร็จอย่างยั่งยืน ซึ่งเป็นบทความต่อเนื่องจากบทความที่ผ่านมา
ทำอย่างไรธุรกิจบริการจึงจะประสบความสำเร็จอย่างยั่งยืน?
1. การให้บริการที่ตอบสนองความต้องการของลูกค้า
2. การให้บริการที่เหนือกว่าความคาดหวังของลูกค้า
3. การบริการที่มีมาตรฐาน ตามที่ผู้ประกอบการกำหนด
4. การบริการที่มีคุณภาพ ตามความรู้สึกของลูกค้า
การให้บริการที่เหนือกว่าความคาดหวังของลูกค้าทำอย่างไร?
1. ศึกษาความคาดหวังของลูกค้าแต่ละกลุ่มในการเข้ามาใช้บริการ และให้บริการแตกต่างกันตามลักษณะของลูกค้า (differentiate service by customer’s life style)
2. อบรมให้พนักงานเข้าใจถึงความสำคัญของลูกค้า และมีทัศนคติที่ดีต่อลูกค้า
3. การสร้างจิตใจให้รักงานบริการ (Service Mind
4. พัฒนาสินค้า และบริการอย่างสม่ำเสมอ เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงไป
การบริการที่มีมาตรฐาน ตามที่ผู้ประกอบการกำหนด ทำได้อย่างไร?
1. กำหนดขั้นตอนการให้บริการที่ชัดเจน (Service sequence) ของพนักงานแต่ละตำแหน่ง
2. กำหนดมาตรฐานในการให้บริการแต่ละขั้นตอน (Standard service)
3. กำหนด Standard Checklist เพื่อเตรียมการก่อนให้บริการลูกค้า
4. การทดสอบมาตรฐานการให้บริการ (Standard service evaluation) อย่างสม่ำเสมอ
การบริการที่มีคุณภาพ ตามความรู้สึกของลูกค้า?
1. การประเมินผลคุณภาพการบริการ (Service evaluation) จากแบบสอบถามความคิดเห็นของลูกค้า
2. การปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพการบริการอย่างต่อเนื่อง ตามคำเสนอแนะของลูกค้า
ทำอย่างไรธุรกิจบริการจึงจะประสบความสำเร็จอย่างยั่งยืน?
1. การให้บริการที่ตอบสนองความต้องการของลูกค้า
2. การให้บริการที่เหนือกว่าความคาดหวังของลูกค้า
3. การบริการที่มีมาตรฐาน ตามที่ผู้ประกอบการกำหนด
4. การบริการที่มีคุณภาพ ตามความรู้สึกของลูกค้า
การให้บริการที่เหนือกว่าความคาดหวังของลูกค้าทำอย่างไร?
1. ศึกษาความคาดหวังของลูกค้าแต่ละกลุ่มในการเข้ามาใช้บริการ และให้บริการแตกต่างกันตามลักษณะของลูกค้า (differentiate service by customer’s life style)
2. อบรมให้พนักงานเข้าใจถึงความสำคัญของลูกค้า และมีทัศนคติที่ดีต่อลูกค้า
3. การสร้างจิตใจให้รักงานบริการ (Service Mind
4. พัฒนาสินค้า และบริการอย่างสม่ำเสมอ เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงไป
การบริการที่มีมาตรฐาน ตามที่ผู้ประกอบการกำหนด ทำได้อย่างไร?
1. กำหนดขั้นตอนการให้บริการที่ชัดเจน (Service sequence) ของพนักงานแต่ละตำแหน่ง
2. กำหนดมาตรฐานในการให้บริการแต่ละขั้นตอน (Standard service)
3. กำหนด Standard Checklist เพื่อเตรียมการก่อนให้บริการลูกค้า
4. การทดสอบมาตรฐานการให้บริการ (Standard service evaluation) อย่างสม่ำเสมอ
การบริการที่มีคุณภาพ ตามความรู้สึกของลูกค้า?
1. การประเมินผลคุณภาพการบริการ (Service evaluation) จากแบบสอบถามความคิดเห็นของลูกค้า
2. การปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพการบริการอย่างต่อเนื่อง ตามคำเสนอแนะของลูกค้า
10 ต.ค. 2550
การวิเคราะห์ความต้องการของลูกค้า
การประกอบธุรกิจ สิ่งที่เป็นปัจจัยสำคัญในการประสบความสำเร็จของธุรกิจ คือ "ลูกค้า" บทความชุดนี้ จะรวบรวมเรื่องเกี่ยวกับ "เทคนิคการบริหารความต้องการของลูกค้า" ซึ่งเมื่อเราสามารถบริหารความต้องการของลูกค้าได้แล้ว โอกาสที่องค์กรจะประสบผลสำเร็จย่อมมีมากขึ้น ตอนแรก เราจะพูดถึงเรื่อง "การวิเคราะห์ความต้องการของลูกค้า"
ทำไมเราต้องทราบความต้องการของลูกค้า?
1. เพื่อสร้างสรรค์การบริการที่ตอบสนองความต้องของลูกค้า
2. เพื่อสร้างความพึงพอใจ และความประทับใจในการใช้บริการให้กับลูกค้า
3. ลูกค้าที่ประทับใจ จะช่วยประชาสัมพันธ์ให้ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย และเป็นการประชาสัมพันธ์ที่กลุ่มเป้าหมายเชื่อถือมากที่สุด
4. ลูกค้าที่ประทับใจ จะกลับมาใช้บริการซ้ำเรื่อยๆ ช่วยสร้างรายได้ให้กับผู้ประกอบการอย่างยั่งยืน
เราจะทราบความต้องการของลูกค้าได้อย่างไร?
1. สำรวจความต้องการของลูกค้า ก่อนเริ่มดำเนินกิจการ เพื่อเตรียมการบริการที่จะตอบสนองความต้องการของลูกค้าอย่างแท้จริง
2. แบบสอบถามความคิดเห็นของลูกค้าในการใช้บริการ เพื่อปรับปรุงการบริการให้ตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่มีโอกาสเปลี่ยนแปลง และควบคุมคุณภาพของการบริการให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานอย่างต่อเนื่อง
3. การสร้างฐานข้อมูลของลูกค้า เพื่อการรักษาความสัมพันธ์กับลูกค้าอย่างต่อเนื่อง หลังจากการใช้บริการ และรับทราบข้อเสนอแนะ ซึ่งสามารถนำมาพัฒนาการบริการที่ตอบสนองความต้องการที่แท้จริง
ทำไมเราต้องทราบความต้องการของลูกค้า?
1. เพื่อสร้างสรรค์การบริการที่ตอบสนองความต้องของลูกค้า
2. เพื่อสร้างความพึงพอใจ และความประทับใจในการใช้บริการให้กับลูกค้า
3. ลูกค้าที่ประทับใจ จะช่วยประชาสัมพันธ์ให้ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย และเป็นการประชาสัมพันธ์ที่กลุ่มเป้าหมายเชื่อถือมากที่สุด
4. ลูกค้าที่ประทับใจ จะกลับมาใช้บริการซ้ำเรื่อยๆ ช่วยสร้างรายได้ให้กับผู้ประกอบการอย่างยั่งยืน
เราจะทราบความต้องการของลูกค้าได้อย่างไร?
1. สำรวจความต้องการของลูกค้า ก่อนเริ่มดำเนินกิจการ เพื่อเตรียมการบริการที่จะตอบสนองความต้องการของลูกค้าอย่างแท้จริง
2. แบบสอบถามความคิดเห็นของลูกค้าในการใช้บริการ เพื่อปรับปรุงการบริการให้ตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่มีโอกาสเปลี่ยนแปลง และควบคุมคุณภาพของการบริการให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานอย่างต่อเนื่อง
3. การสร้างฐานข้อมูลของลูกค้า เพื่อการรักษาความสัมพันธ์กับลูกค้าอย่างต่อเนื่อง หลังจากการใช้บริการ และรับทราบข้อเสนอแนะ ซึ่งสามารถนำมาพัฒนาการบริการที่ตอบสนองความต้องการที่แท้จริง
9 ต.ค. 2550
ศีล 10 ข้อสำหรับการสัมภาษณ์
วันนี้ขอเสนอ ศีล 10 ข้อที่ หัวหน้างานควรประพฤติและปฏิบัติ ในการสัมภาษณ์พนักงานใหม่
1. ละเว้นจากอดีตทั้งหลาย
2. ละเว้นจากการสร้างบรรยากาศที่ขุ่นมัว
3. ละเว้นในการถามในเรื่องที่รู้อยู่แล้ว
4. ละเว้นในการโต้เถียงกับผู้ถูกสัมภาษณ์
5. ละเว้นการยั่วเย้า
6. ละเว้นจากการใช้คำถามหลอกล่อ
7. ละเว้นจากการทำนายล่วงหน้า ทั้งในแง่ดีและแง่ร้าย
8. ละเว้นในจากการให้สัญญาที่เลื่อนลอยหรือผูกมัดตัวเอง
9. ละเว้นจากการประพฤติผิดศีล 5
10. ละเว้นจากการด่วนตัดสินใจ หรือสรุปอย่างง่ายๆ
1. ละเว้นจากอดีตทั้งหลาย
2. ละเว้นจากการสร้างบรรยากาศที่ขุ่นมัว
3. ละเว้นในการถามในเรื่องที่รู้อยู่แล้ว
4. ละเว้นในการโต้เถียงกับผู้ถูกสัมภาษณ์
5. ละเว้นการยั่วเย้า
6. ละเว้นจากการใช้คำถามหลอกล่อ
7. ละเว้นจากการทำนายล่วงหน้า ทั้งในแง่ดีและแง่ร้าย
8. ละเว้นในจากการให้สัญญาที่เลื่อนลอยหรือผูกมัดตัวเอง
9. ละเว้นจากการประพฤติผิดศีล 5
10. ละเว้นจากการด่วนตัดสินใจ หรือสรุปอย่างง่ายๆ
8 ต.ค. 2550
บัญญัติ 10 ประการในการสัมภาษณ์งาน
การสรรหาพนักงานให้เหมาะสมกับตำแหน่งงาน เป็นเรื่องที่มีความสำคัญ และจะส่งผลถึงความสำเร็จขององค์กรในอนาคต วันนี้ผมเลยอยากยก "บัญญัติ 10 ประการในการสัมภาษณ์งาน" มาให้ลองปรับใช้กับองค์กรของทุกท่านครับ
"บัญญัติ 10 ประการในการสัมภาษณ์งาน"
1. กำหนดจุดมุ่งหมายให้ชัดเจน
2. ศึกษาคำถามทั้งหมดให้เข้าใจ
3. ศึกษาประวัติของผู้สมัครล่วงหน้า
4. ให้ความสนใจต่อผู้ถูกสัมภาษณ์อย่างจริงจัง ให้ความเป็นมิตรและเป็นกันเอง
5. สร้างบรรยากาศแห่งความสงบ-สะดวก-สบาย
6. ถามทีละคำถาม และเป็นคำถามที่ชัดเจน อย่าถามนำ
7. ทำให้ศึกษาคำถามทั้งหมดให้เข้าใจ
8. ให้เวลาในการตอบอย่างเหมาะสม เปิดโอกาสให้ได้คิดบ้างพอสมควร
9. เปิดโอกาสให้ผู้ถูกสัมภาษณ์ซักถาม
10. ตั้งมั่นอยู่บนความบริสุทธิ์ยุติธรรม
พรุ่งนี้ จะมีแนวทางในการสัมภาษณ์งานเพิ่มเติม อย่าพลาดครับ
"บัญญัติ 10 ประการในการสัมภาษณ์งาน"
1. กำหนดจุดมุ่งหมายให้ชัดเจน
2. ศึกษาคำถามทั้งหมดให้เข้าใจ
3. ศึกษาประวัติของผู้สมัครล่วงหน้า
4. ให้ความสนใจต่อผู้ถูกสัมภาษณ์อย่างจริงจัง ให้ความเป็นมิตรและเป็นกันเอง
5. สร้างบรรยากาศแห่งความสงบ-สะดวก-สบาย
6. ถามทีละคำถาม และเป็นคำถามที่ชัดเจน อย่าถามนำ
7. ทำให้ศึกษาคำถามทั้งหมดให้เข้าใจ
8. ให้เวลาในการตอบอย่างเหมาะสม เปิดโอกาสให้ได้คิดบ้างพอสมควร
9. เปิดโอกาสให้ผู้ถูกสัมภาษณ์ซักถาม
10. ตั้งมั่นอยู่บนความบริสุทธิ์ยุติธรรม
พรุ่งนี้ จะมีแนวทางในการสัมภาษณ์งานเพิ่มเติม อย่าพลาดครับ
6 ต.ค. 2550
Motivation Techniques
แรงจูงใจ หมายถึงพลังจิตที่อยู่ในตัวบุคคลแต่ละคน ซึ่งทำหน้าที่เร้าให้บุคคลนั้นๆกระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งออกมา พลังจิตนี่เกิดจากการกระตุ้นหรือสิ่งเร้าต่างๆ ภายในร่างกายหรือภายนอกร่างกาย
วิธีการสร้างแรงจูงใจประกอบด้วย
1. การชมเชย
2. การยกย่องให้เกียรติและให้การยอมรับ
3. การให้ความเป็นมิตร
4. การให้ความเป็นธรรม
5. การให้ร่วมคิด
6. การร่วมทำงาน
7. การจัดงานให้เหมาะสมกับคน
8. การมีอุปกรณ์ที่เอื้ออำนวยต่อการทำงาน
9. การสร้างบรรยากาศในการทำงาน
10. การให้รางวัล
11. การทดสอบ
ที่กล่าวไปทั้ง 11 ข้อเป็นเพียงส่วนหนึ่งในการสร้างแรงจูงใจ ซึ่งจะต้องมีการกระทำอย่างอื่น ควบคู่กันไปด้วยเพื่อสร้างแรงจูงใจในการทำงาน
วิธีการสร้างแรงจูงใจประกอบด้วย
1. การชมเชย
2. การยกย่องให้เกียรติและให้การยอมรับ
3. การให้ความเป็นมิตร
4. การให้ความเป็นธรรม
5. การให้ร่วมคิด
6. การร่วมทำงาน
7. การจัดงานให้เหมาะสมกับคน
8. การมีอุปกรณ์ที่เอื้ออำนวยต่อการทำงาน
9. การสร้างบรรยากาศในการทำงาน
10. การให้รางวัล
11. การทดสอบ
ที่กล่าวไปทั้ง 11 ข้อเป็นเพียงส่วนหนึ่งในการสร้างแรงจูงใจ ซึ่งจะต้องมีการกระทำอย่างอื่น ควบคู่กันไปด้วยเพื่อสร้างแรงจูงใจในการทำงาน
5 ต.ค. 2550
ประสบการณ์ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นภายในกลุ่ม
วันนี้ ผมจะลองยกตัวอย่างการแก้ปัญหาความขัดแย้ง โดยใช้วิธีการชนะทั้งคู่ เพื่อเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งที่ท่านอาจจะประสบในอนาคตต่อไป
เพื่อนสองคนเกิดความขัดแย้งภายในกลุ่ม โดยได้มีงานกลุ่มงานหนึ่งที่ต้องทำร่วมกันเป็นกลุ่มประมาณ 7 คน และต้องมีการนำเสนอหน้าชั้นเรียน แดงต้องการให้ทำ Power Point ประกอบการนำเสนอ เพื่อให้ผลงานออกมาดีที่สุด แต่ดำเสนอความคิดเห็นว่าทำเป็นเพียงรูปเล่มรายงานก็น่าจะเพียงพอแล้ว โดยได้ให้เหตุผลว่า ระยะเวลาในการทำค่อนข้างมีจำกัด และมีงานอย่างอื่นที่ต้องทำอีกมาก อาจจะทำเสร็จไม่ทันตามวันเวลาที่กำหนดไว้ก็ได้ ทั้งสองโต้แย้งและต่างแสดงเหตุผลของตน สมาชิกในกลุ่มก็มีทั้งฝ่ายที่เห็นด้วยกับแดง และเห็นด้วยกับดำ เวลาผ่านไปนานพอสมควรก็ยังตกลงกันไม่ได้ ในที่สุดได้มีสมาชิกในกลุ่มคนหนึ่งได้เสนอการแก้ปัญหา โดยกล่าวว่า ให้ทำงานเป็นรูปเล่มรายงาน และทำเป็น Power Point ด้วย โดยแบ่งงานกันทำตามความถนัดและความสามารถของแต่ละบุคคล ในการทำงานนั้น อาจจะต้องใช้เวลามากขึ้น แต่ก็เชื่อว่าถ้าสมาชิกในกลุ่มให้ความร่วมมือกัน มีความตั้งใจที่จะทำงานอย่างเต็มที่ งานก็คงจะสำเร็จทันเวลาแน่นอน และได้ซักถามความคิดเห็นของสมาชิกในกลุ่มว่าเห็นด้วยหรือไม่ อย่างไร ซึ่งสมาชิกส่วนใหญ่ก็เห็นด้วยกับข้อเสนอนี้ ถึงแม้จะมีสมาชิกบางคนที่ยังไม่ค่อยพอใจและไม่เห็นด้วย แต่ก็ยอมรับในมติข้อตกลงของคนส่วนใหญ่ จากนั้นก็แยกย้ายกันไปทำงานตามที่ได้รับมอบหมาย สุดท้ายงานก็สำเร็จทันเวลา
แนวทางการแก้ไขปัญหา
1. ประชุมกลุ่ม เพื่อให้สมาชิกในกลุ่มได้แสดงความคิดเห็นออกมาอย่างหลากหลาย และ รับฟังความคิดเห็นของสมาชิกทุกคนภายในกลุ่ม เพราะการตัดสินใจของกลุ่มจะเกิดประสิทธิผลมากที่สุด
2. มีการเลือกหัวหน้ากลุ่มที่มีความเหมาะสม คือ สามารถไกล่เกลี่ยปัญหาที่เกิดได้ และรับฟังความคิดเห็นของสมาชิกทุกคนภายในกลุ่ม มีความเป็นผู้นำ
3. การประนีประนอม มีการโอนอ่อนผ่อนตาม ไม่สร้างความขัดแย้งให้ขยายกว้างไปมากกว่าเดิม
4. สมาชิกในกลุ่มต้องมีการแก้ปัญหาร่วมกัน โดยให้เพื่อนทั้งสองคนที่มีความคิดเห็นขัดแย้งกันได้คุยกัน เพื่อสร้างความเข้าใจ และหาข้อยุติที่เหมาะสม
5. ให้กำลังใจและมีการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน โดยเมื่อเกิดปัญหาขึ้น ควรช่วยกันแสดงความคิดเห็นเพื่อขจัดปัญหา ไม่ยัดเยียดปัญหาให้ใครคนใดคนหนึ่งเป็นคนคอยแก้ไข เมื่อเกิดความขัดแย้งก็ต้องร่วมกันหาทางแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น และที่สำคัญต้องยอมรับฟังความคิดเห็นของสมาชิกทุกคนในกลุ่มด้วย
วิธีการแก้ปัญหาของกลุ่มนี้ใช้วิธี คือทั้งสองฝ่ายเป็นผู้ชนะ (Win-Win methods) สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ได้ตามที่ทั้งสองฝ่ายต้องการ มีการแก้ไขปัญหาร่วมกัน (Integrative problem solving)
เพื่อนสองคนเกิดความขัดแย้งภายในกลุ่ม โดยได้มีงานกลุ่มงานหนึ่งที่ต้องทำร่วมกันเป็นกลุ่มประมาณ 7 คน และต้องมีการนำเสนอหน้าชั้นเรียน แดงต้องการให้ทำ Power Point ประกอบการนำเสนอ เพื่อให้ผลงานออกมาดีที่สุด แต่ดำเสนอความคิดเห็นว่าทำเป็นเพียงรูปเล่มรายงานก็น่าจะเพียงพอแล้ว โดยได้ให้เหตุผลว่า ระยะเวลาในการทำค่อนข้างมีจำกัด และมีงานอย่างอื่นที่ต้องทำอีกมาก อาจจะทำเสร็จไม่ทันตามวันเวลาที่กำหนดไว้ก็ได้ ทั้งสองโต้แย้งและต่างแสดงเหตุผลของตน สมาชิกในกลุ่มก็มีทั้งฝ่ายที่เห็นด้วยกับแดง และเห็นด้วยกับดำ เวลาผ่านไปนานพอสมควรก็ยังตกลงกันไม่ได้ ในที่สุดได้มีสมาชิกในกลุ่มคนหนึ่งได้เสนอการแก้ปัญหา โดยกล่าวว่า ให้ทำงานเป็นรูปเล่มรายงาน และทำเป็น Power Point ด้วย โดยแบ่งงานกันทำตามความถนัดและความสามารถของแต่ละบุคคล ในการทำงานนั้น อาจจะต้องใช้เวลามากขึ้น แต่ก็เชื่อว่าถ้าสมาชิกในกลุ่มให้ความร่วมมือกัน มีความตั้งใจที่จะทำงานอย่างเต็มที่ งานก็คงจะสำเร็จทันเวลาแน่นอน และได้ซักถามความคิดเห็นของสมาชิกในกลุ่มว่าเห็นด้วยหรือไม่ อย่างไร ซึ่งสมาชิกส่วนใหญ่ก็เห็นด้วยกับข้อเสนอนี้ ถึงแม้จะมีสมาชิกบางคนที่ยังไม่ค่อยพอใจและไม่เห็นด้วย แต่ก็ยอมรับในมติข้อตกลงของคนส่วนใหญ่ จากนั้นก็แยกย้ายกันไปทำงานตามที่ได้รับมอบหมาย สุดท้ายงานก็สำเร็จทันเวลา
แนวทางการแก้ไขปัญหา
1. ประชุมกลุ่ม เพื่อให้สมาชิกในกลุ่มได้แสดงความคิดเห็นออกมาอย่างหลากหลาย และ รับฟังความคิดเห็นของสมาชิกทุกคนภายในกลุ่ม เพราะการตัดสินใจของกลุ่มจะเกิดประสิทธิผลมากที่สุด
2. มีการเลือกหัวหน้ากลุ่มที่มีความเหมาะสม คือ สามารถไกล่เกลี่ยปัญหาที่เกิดได้ และรับฟังความคิดเห็นของสมาชิกทุกคนภายในกลุ่ม มีความเป็นผู้นำ
3. การประนีประนอม มีการโอนอ่อนผ่อนตาม ไม่สร้างความขัดแย้งให้ขยายกว้างไปมากกว่าเดิม
4. สมาชิกในกลุ่มต้องมีการแก้ปัญหาร่วมกัน โดยให้เพื่อนทั้งสองคนที่มีความคิดเห็นขัดแย้งกันได้คุยกัน เพื่อสร้างความเข้าใจ และหาข้อยุติที่เหมาะสม
5. ให้กำลังใจและมีการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน โดยเมื่อเกิดปัญหาขึ้น ควรช่วยกันแสดงความคิดเห็นเพื่อขจัดปัญหา ไม่ยัดเยียดปัญหาให้ใครคนใดคนหนึ่งเป็นคนคอยแก้ไข เมื่อเกิดความขัดแย้งก็ต้องร่วมกันหาทางแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น และที่สำคัญต้องยอมรับฟังความคิดเห็นของสมาชิกทุกคนในกลุ่มด้วย
วิธีการแก้ปัญหาของกลุ่มนี้ใช้วิธี คือทั้งสองฝ่ายเป็นผู้ชนะ (Win-Win methods) สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ได้ตามที่ทั้งสองฝ่ายต้องการ มีการแก้ไขปัญหาร่วมกัน (Integrative problem solving)
4 ต.ค. 2550
แนวคิด และทฤษฎีการบริหารความขัดแย้ง
ความขัดแย้งถือเป็นเรื่องปรกติของการอยู่ในสังคม ไม่ว่าสังคมจะเป็นสังคมครอบครัว สังคมเพื่อน สังคมการทำงาน ยิ่งสังคมมีขนาดใหญ่มากขึ้น ยิ่งมีโอกาสที่จะเกิดความขัดแย้งได้มากยิ่งขึ้น แต่ความขัดแย้งไม่ใช่สิ่งที่แย่เสมอไป วันนี้เรามาลองดูกันว่าจะสามารถใช้ความขัดแย้งให้เกิดประโยชน์ได้อย่างไร โดยพิจารณาจากทฤษฎีการบริหารความขัดแย้งภายในองค์กร
1. แนวคิดสมัยดั้งเดิม (Traditional View) ความขัดแย้งเป็นสิ่งไม่ดี หากหลีกเลี่ยงได้ควรหลีกเลี่ยง ผู้บริหารจะต้องกำจัดความขัดแย้งขององค์การ โดยการออกกฎระเบียบ กระบวนการที่เข้มงวด เพื่อที่จะทำให้ความขัดแย้งหมดไป
2. แนวคิดด้านมนุษย์สัมพันธ์ (Human Relations View) จะสนับสนุนการยอมรับความขัดแย้ง และความขัดแย้งอาจจะมีประโยชน์ต่อภายในองค์การได้บ้างในบางเวลา
3. แนวคิดสมัยใหม่ (Contemporary View) จะสนับสนุนความขัดแย้งบนรากฐานที่ว่า องค์การที่มีความสามัคคี ความสงบสุข ความเงียบสงบ และมีความร่วมมือ หากไม่ยอมรับปัญหาที่เกิดขึ้น จากความขัดแย้ง การให้ความร่วมมือแก่องค์การจะกลายเป็นความเฉื่อยชา อยู่เฉย และไม่ตอบสนองต่อความต้องการเพื่อการเปลี่ยนแปลงและการคิดค้นใหม่ๆ
Filley (1975) ได้เสนอกระบวนการของความขัดแย้ง โดยแบ่งออกเป็น 6 ขั้นตอน ดังนี้
1. สภาพก่อนเกิดความขัดแย้ง (Antecedent Condition of Conflict) เป็นลักษณะของสภาพการณ์ที่อาจปราศจากความขัดแย้ง แต่จะนำไปสู่การขัดแย้ง
2. ความขัดแย้งที่รับรู้ได้ (Perceived Conflict) เป็นการรับรู้จากสภาพการณ์ที่เกิดขึ้นของฝ่ายต่าง ๆ ว่ามีความขัดแย้งเกิดขึ้น
3. ความขัดแย้งที่รู้สึกได้ (Felt Conflict) โดยอาจมีความรู้สึกว่า ถูกคุกคาม ถูกเกลียดชัง กลัว หรือไม่ไว้วางใจ
4. พฤติกรรมที่ปรากฏชัด (Minifest Behavior) อาจแสดงความก้าวร้าว การแข่งขัน การโต้เถียงหรือการแก้ปัญหา
5. การแก้ปัญหาหรือระงับความขัดแย้ง (Conflict Resolution or Supervision วิธีการแก้ไขความขัดแย้งมี 4 วิธี ได้แก่
5.1 วิธีชนะ-แพ้ (Win-Lose Method)
5.2 วิธีแพ้ทั้งคู่ (Lose-Lose methods)
5.3 วิธีการที่ทั้งสองฝ่ายเป็นผู้ชนะ (Win-Win methods)
5.4 วิธีการแก้ไขปัญหาร่วมกัน หรือแบบชนะทั้งคู่ (Win-Win Method)
จอห์นสัน และจอห์นสัน (Johnson & Johnson, 1987: 273) มีแนวคิดว่าบุคคลแตกต่างกัน จึงใช้กลยุทธ์ในการจัดการความขัดแย้งโดยแต่ละคนมีรูปแบบการแก้ปัญหาเป็นของตน สามารถเปลี่ยนแปลงการเรียนรู้และหาวิธีการใหม่ ๆ ที่มีประสิทธิภาพในการจัดการความขัดแย้งในภาวะขัดแย้ง ประเด็นหลักที่ต้องใส่ใจ คือ การบรรลุวัตถุประสงค์ส่วนตัว เมื่ออยู่ในภาวะขัดแย้ง คนแต่ละคนจะมีวัตถุประสงค์ที่แตกต่างจากผู้อื่น และการรักษาสัมพันธภาพกับบุคคลอื่น
แบบพฤติกรรมในการจัดการความขัดแย้ง 5 แบบ คือ
1. ลักษณะแบบ "เต่า" (ถอนตัว, หดหัว) มีลักษณะหลีกหนีความขัดแย้ง ยอมละวัตถุประสงค์และความสัมพันธ์ส่วนตัว โดยการหลีกเลี่ยงไม่เผชิญกับคู่กรณี จะไม่ตัดสินใจอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อแก้ปัญหา
2. ลักษณะแบบ "ฉลาม" (บังคับ, ชอบใช้กำลัง) เป็นการแก้ปัญหาความขัดแย้งโดยใช้อำนาจตามตำแหน่ง คำนึงถึงเป้าหมายงานหรือความต้องการของตนเองมากกว่าความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน
3. ลักษณะแบบ "ตุ๊กตาหมี" (สัมพันธภาพราบรื่น) เชื่อว่าความขัดแย้งหลีกเลี่ยงได้เพื่อเห็นแก่ความกลมเกลียว ยอมยกเลิกเป้าหมาย เพื่อรักษาสัมพันธภาพอันดีไว้
4. ลักษณะแบบ "สุนัขจิ้งจอก" (ประนีประนอม, แก้ปัญหาเฉพาะหน้า) จะคำนึงถึงเป้าหมายส่วนตนและสัมพันธภาพกับบุคคลอื่นในระดับปานกลาง แสวงหาการประนีประนอม พร้อมและเต็มใจที่จะสละวัตถุประสงค์และสัมพันธภาพบางส่วนเพื่อหาข้อตกลงร่วมที่ดี
5. ลักษณะแบบ "นกฮูก" (เผชิญหน้ากัน, สุขุม) จะมองความขัดแย้งว่าเป็นปัญหาที่จะต้องแก้ไข ให้คุณค่าแก่เป้าหมายและสัมพันธภาพ สิ่งที่ต้องการคือการบรรลุเป้าหมายของตนเองและผู้อื่น
การแก้ปัญหาความขัดแย้งมีหลายวิธี ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ และบุคลิกของผู้ขัดแย้งว่าเป็นอย่างไร เราต้องเลือก้วิธีการแก้ปัญหาให้ถูกวิธีและพยายามทำให้ทุกคนเป็นผู้ชนะ องค์กรจึงจะประสบความสำเร็จ
1. แนวคิดสมัยดั้งเดิม (Traditional View) ความขัดแย้งเป็นสิ่งไม่ดี หากหลีกเลี่ยงได้ควรหลีกเลี่ยง ผู้บริหารจะต้องกำจัดความขัดแย้งขององค์การ โดยการออกกฎระเบียบ กระบวนการที่เข้มงวด เพื่อที่จะทำให้ความขัดแย้งหมดไป
2. แนวคิดด้านมนุษย์สัมพันธ์ (Human Relations View) จะสนับสนุนการยอมรับความขัดแย้ง และความขัดแย้งอาจจะมีประโยชน์ต่อภายในองค์การได้บ้างในบางเวลา
3. แนวคิดสมัยใหม่ (Contemporary View) จะสนับสนุนความขัดแย้งบนรากฐานที่ว่า องค์การที่มีความสามัคคี ความสงบสุข ความเงียบสงบ และมีความร่วมมือ หากไม่ยอมรับปัญหาที่เกิดขึ้น จากความขัดแย้ง การให้ความร่วมมือแก่องค์การจะกลายเป็นความเฉื่อยชา อยู่เฉย และไม่ตอบสนองต่อความต้องการเพื่อการเปลี่ยนแปลงและการคิดค้นใหม่ๆ
Filley (1975) ได้เสนอกระบวนการของความขัดแย้ง โดยแบ่งออกเป็น 6 ขั้นตอน ดังนี้
1. สภาพก่อนเกิดความขัดแย้ง (Antecedent Condition of Conflict) เป็นลักษณะของสภาพการณ์ที่อาจปราศจากความขัดแย้ง แต่จะนำไปสู่การขัดแย้ง
2. ความขัดแย้งที่รับรู้ได้ (Perceived Conflict) เป็นการรับรู้จากสภาพการณ์ที่เกิดขึ้นของฝ่ายต่าง ๆ ว่ามีความขัดแย้งเกิดขึ้น
3. ความขัดแย้งที่รู้สึกได้ (Felt Conflict) โดยอาจมีความรู้สึกว่า ถูกคุกคาม ถูกเกลียดชัง กลัว หรือไม่ไว้วางใจ
4. พฤติกรรมที่ปรากฏชัด (Minifest Behavior) อาจแสดงความก้าวร้าว การแข่งขัน การโต้เถียงหรือการแก้ปัญหา
5. การแก้ปัญหาหรือระงับความขัดแย้ง (Conflict Resolution or Supervision วิธีการแก้ไขความขัดแย้งมี 4 วิธี ได้แก่
5.1 วิธีชนะ-แพ้ (Win-Lose Method)
5.2 วิธีแพ้ทั้งคู่ (Lose-Lose methods)
5.3 วิธีการที่ทั้งสองฝ่ายเป็นผู้ชนะ (Win-Win methods)
5.4 วิธีการแก้ไขปัญหาร่วมกัน หรือแบบชนะทั้งคู่ (Win-Win Method)
จอห์นสัน และจอห์นสัน (Johnson & Johnson, 1987: 273) มีแนวคิดว่าบุคคลแตกต่างกัน จึงใช้กลยุทธ์ในการจัดการความขัดแย้งโดยแต่ละคนมีรูปแบบการแก้ปัญหาเป็นของตน สามารถเปลี่ยนแปลงการเรียนรู้และหาวิธีการใหม่ ๆ ที่มีประสิทธิภาพในการจัดการความขัดแย้งในภาวะขัดแย้ง ประเด็นหลักที่ต้องใส่ใจ คือ การบรรลุวัตถุประสงค์ส่วนตัว เมื่ออยู่ในภาวะขัดแย้ง คนแต่ละคนจะมีวัตถุประสงค์ที่แตกต่างจากผู้อื่น และการรักษาสัมพันธภาพกับบุคคลอื่น
แบบพฤติกรรมในการจัดการความขัดแย้ง 5 แบบ คือ
1. ลักษณะแบบ "เต่า" (ถอนตัว, หดหัว) มีลักษณะหลีกหนีความขัดแย้ง ยอมละวัตถุประสงค์และความสัมพันธ์ส่วนตัว โดยการหลีกเลี่ยงไม่เผชิญกับคู่กรณี จะไม่ตัดสินใจอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อแก้ปัญหา
2. ลักษณะแบบ "ฉลาม" (บังคับ, ชอบใช้กำลัง) เป็นการแก้ปัญหาความขัดแย้งโดยใช้อำนาจตามตำแหน่ง คำนึงถึงเป้าหมายงานหรือความต้องการของตนเองมากกว่าความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน
3. ลักษณะแบบ "ตุ๊กตาหมี" (สัมพันธภาพราบรื่น) เชื่อว่าความขัดแย้งหลีกเลี่ยงได้เพื่อเห็นแก่ความกลมเกลียว ยอมยกเลิกเป้าหมาย เพื่อรักษาสัมพันธภาพอันดีไว้
4. ลักษณะแบบ "สุนัขจิ้งจอก" (ประนีประนอม, แก้ปัญหาเฉพาะหน้า) จะคำนึงถึงเป้าหมายส่วนตนและสัมพันธภาพกับบุคคลอื่นในระดับปานกลาง แสวงหาการประนีประนอม พร้อมและเต็มใจที่จะสละวัตถุประสงค์และสัมพันธภาพบางส่วนเพื่อหาข้อตกลงร่วมที่ดี
5. ลักษณะแบบ "นกฮูก" (เผชิญหน้ากัน, สุขุม) จะมองความขัดแย้งว่าเป็นปัญหาที่จะต้องแก้ไข ให้คุณค่าแก่เป้าหมายและสัมพันธภาพ สิ่งที่ต้องการคือการบรรลุเป้าหมายของตนเองและผู้อื่น
การแก้ปัญหาความขัดแย้งมีหลายวิธี ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ และบุคลิกของผู้ขัดแย้งว่าเป็นอย่างไร เราต้องเลือก้วิธีการแก้ปัญหาให้ถูกวิธีและพยายามทำให้ทุกคนเป็นผู้ชนะ องค์กรจึงจะประสบความสำเร็จ
3 ต.ค. 2550
ทัศนคติที่ดี (POSITIVE THINKING) ตอนที่ 2
หากเราจะพิจารณากันให้ดีแล้วทัศนคตินั้น อาจแบ่งแยกโดยเอาตัวเราเป็นที่ตั้งได้อยู่ 2 ประการเท่านั้น คือ ทัศนคติต่อตนเอง และ ทัศนคติต่อคนอื่น สิ่งอื่นรอบข้างซึ่งทัศนคติทั้ง 2 ประการดังกล่าวของคนเรานั้นเป็นตัวขับเคลื่อนที่ก่อให้เกิดกระบวนการคิด การกระทำต่างๆตามมา ทั้งด้านที่ดีและไม่ดี ดังนั้นการที่เราจะสามารถดำเนินกิจกรรมใดๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใดนั้นส่วนสำคัญประการหนึ่งก็คือ ทัศนคติของตัวเราเอง นั่นเอง ที่เป็นปัจจัยที่มีบทบาทสำคัญประการหนึ่ง ฉะนั้นจึงกล่าวได้ว่า การมีทัศนคติที่ดี ก็เป็นปัจจัยที่อาจก่อให้เกิดความสำเร็จในทางที่ดีเช่นกัน แต่การที่เรามีทัศนคติที่ดี หรือมีการพัฒนาไปสู่การมีทัศนคติที่ดีนั้น จะดำเนินไปอย่างไรเป็นอีกประการหนึ่งที่ทุกคนควรต้องมาพิจารณากัน ทัศนคติที่ดี หรือการคิดเชิงบวก (Positive Thinking)ทั้งในด้านตนเอง และในด้านบุคคลอื่นที่ สำคัญนั้นมีอยู่หลายประการดังนี้
ประการที่1 การมีความเชื่อมั่นในตัวเอง การมีความเชื่อมั่นในตัวเอง เป็นทัศนคติด้านบวกต่อตนเองว่า ตนเองมีศักยภาพในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ มากน้อยเพียงใด การมีความเชื่อมั่นในตัวเอง เป็นกรณีที่เราทุกคนควรมั่นใจว่าเรามีศักยภาพเพียงพอในการทำงานที่ได้รับมอบหมาย แต่ในความเป็นจริงคนเราทุกคนไม่สามารถที่จะรู้และเข้าใจดีในทุกเรื่อง แต่ถึงแม้ว่าสิ่งที่ได้รับมอบหมายให้ทำนั้นตนเองไม่มีความสามารถเฉพาะด้านนั้นเพียงพอ ก็ต้องมีควาเชื่อมั่นว่าตนเองสามารถฝึกฝน จนสามารถทำงานนั้นได้ดังนั้น ความเชื่อมั่นในตนเองในที่นี้จึงเป็นความเชื่อมั่นในศักยภาพของตนเอง และอีกทางหนึ่งก็คือ การเชื่อมั่นในการพัฒนาศักยภาพของตนเองด้วย
ประการที่2 การประเมินศักยภาพตัวเอง การประเมินศักยภาพตัวเอง เป็นทัศนคติต่อตนเองในความคาดหวังถึงประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการทำงาน สิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยความคาดหวังในที่นี้ต้องเป็นความคาดหวัง ที่มีพื้นฐานบนความรู้และความเข้าใจถึงศักยภาพที่แท้จริงของตนเอง บางครั้งผู้คนอาจคาดหวังถึงผลลัพธ์ที่สูงโดยขาดการพิจารณาถึงพื้นฐานของความเป็นจริง ทำให้เกิดความผิดหวังขึ้นได้ แต่ในทางกลับกันการคาดหวังต่ำโดยไม่พิจารณาถึงพื้นฐานของความเป็นจริง ไม่ว่าเกิดจากการขาดความเชื่อมั่นในศักยภาพของตนเอง การประเมินคุณค่าถึงศักยภาพของตนที่ต่ำ หรืออาจเกิดจากการที่ไม่อยากเผชิญกับความผิดหวัง ก็อาจทำให้ขาดแรงผลักดันที่จะทำงานนั้นให้เสร็จ และอาจทำให้ผลงานที่ออกมานั้นไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ ดังนั้นทุกคนควรตระหนักไว้เสมอว่าคนเรามีศักยภาพในการพัฒนาตนเองเสมอ
ประการที่3 การยอมรับตนเอง และการให้เกียรติตัวเอง การให้เกียรติตัวเอง หรือการยอมรับตัวเอง เป็นทัศนคติต่อตัวเองที่มีพื้นฐานร่วมมากับการมีความเชื่อมั่นในตนเอง และการประเมินศักยภาพของตนเอง คือคนเราเมื่อมีความเชื่อมั่นในตนเอง และสามารถประเมินศักยภาพของตนเองได้ ก็ต้องยอมรับผลที่ออกมาให้ได้ ไม่ว่าผลลัพธ์นั้นจะเป็นที่พอใจหรือไม่ก็ตาม เพราะอย่างไรก็ดีแม้ว่าผลที่ออกมาจะดี เราก็ไม่ควรยึดติดหรือหยุดอยู่กับที่ เพราะคนเราพัฒนากันได้ตลอดเวลา การหยุดอยู่กับที่ในขณะที่คนอื่นเดินไปข้างหน้านั้น ก็ไม่ต่างจากกับการเดินถอยหลัง แต่หากผลลัพธ์ที่ออกมาไม่น่าพอใจ เราก็ไม่ควรดูถูกตัวเอง หากแต่ต้องให้เกียรติตัวเอง และพร้อมที่จะพัฒนาตนต่อไปให้มีศักยภาพให้สูงขึ้น
ประการที่4 การมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ การมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ เป็นทัศนคติที่มองว่าคนเราควรมีอิสระ เสรีภาพทางด้านความคิด ไม่จำเป็นต้องเดินตามกรอบที่ตีไว้หากแต่บ่อย
ครั้งที่เราพบว่าผู้คนมักกล่าวอ้างว่าเป็นการคิดนอกกรอบ แต่ที่จริงแล้ว การคิดนอกกรอบตามนัยที่แท้แล้วอาจมิใช่เพียงการใช้เสรีภาพทางการคิดให้แตกต่างออกไปโดยไม่พิจารณาถึงเหตุที่กรอบนั้นถูกตีขึ้นมาทำให้ความคิดที่เกิดขึ้นนั้นแตกต่างหรือสวนกระแสกับกรอบดังกล่าวไปโดยสิ้นเชิง ที่อาจเรียกว่า ขบถทางความคิด หากแต่ที่จริงแล้วการคิดริเริ่มสร้างสรรค์ต้องเป็นการใช้อิสระ เสรีภาพทางด้านความคิดที่มีพื้นฐานอยู่ที่ความรู้ ความเข้าใจตามสภาพความเป็นจริงที่ปรากฎ โดยไม่ลืมที่จะพิจารณากรอบที่ถูกขีดขึ้นมานั้นด้วย
ประการที่5 การประเมินและความคาดหวังต่อศักยภาพของคนอื่น ความคาดหวังต่อศักยภาพของตนเอง เป็นทัศนคติที่มีฐานมาจากการประเมินถึงศักยภาพของตนเองโดยมีพื้นฐานถึงความเข้าใจ หรือรู้ถึงศักยภาพที่แท้จริงของตนเองหากเราสามารถประเมินศักยภาพของตนเองว่ามีเพียงพอแล้ว ก็ต้องไม่ลืมในการพัฒนาศักยภาพของเราให้สูงขึ้น หรือแม้ว่าเราประเมินได้ว่าศักยภาพของเราไม่เพียงพอ ก็ต้องพยายามในการพัฒนาศักยภาพของเราให้สูงขึ้นเช่นกัน แต่บ่อยครั้งคนเราหาได้ทำเช่นนั้นไม่ หากแต่เมื่อประเมินศักยภาพของตนเองแล้ว แทนที่จะมีการพัฒนาตนเอง กลับไปประเมินศักยภาพของคนอื่น โดยมุ่งหวังที่จะอาศัยศักยภาพของคนอื่นในการเข้ามาจัดการงานของตน ซึ่งเป็นการที่เรานำเอาความสำเร็จของงานไปขึ้นอยู่กับคนอื่น การมีทัศนคติต่อศักยภาพของคนอื่นที่ถูกต้อง จึงควรเป็นไปในแนวทางที่เราจะต้องพัฒนาศักยภาพของตนเองให้สูงพอที่จะทำการของตนให้ลุล่วง จนอาจเป็นที่พึ่งของคนอื่นได้ด้วย หรือไม่ก็เป็นกรณีที่ตนเองมีศักยภาพ แต่กลับผลักภาระให้ความสำเร็จของงานไปขึ้นกับศักยภาพของบุคคลอื่น โดยลืมไปว่าการกระทำดังกล่าวเป็นการทำให้บุคคลอื่นพัฒนาศักยภาพมากขึ้นใน ขณะที่ตนเองกลับถูกทิ้งให้เดินตาหลังผู้อื่นแต่อย่างเดียว
ประการที่6 ทัศนคติด้านตรรกะ ในการแก้ปัญหา ทัศนคติด้านตรรกะในการแก้ปัญหา เป็นทัศนคติซึ่งคนส่วนใหญ่มี และใช้อยู่ตลอดเวลาทุกครั้งที่มีปัญหาเข้ามาในชีวิต โดยตรรกะในการทัศนคติที่ดีในการแก้ปัญหาในที่นี้ คือ การที่เมื่อมีปัญหาเกิดขึ้นแล้วเราสามารถแก้ได้เพียงใด การสาวหาเหตุปัจจัยที่เป็นที่มาของปัญหา บ่อยครั้งที่คนเรามักมองสาเหตุแห่งปัญหาผิดจุด คือ การมองสาเหตุของปัญหาจากจุดไกลมายังจุดใกล้ มองจากภายนอกเข้ามาภายใน ซึ่งที่จริงแล้วการหาเหตุแห่งปัญหาที่ง่ายและเป็นแนวคิดที่ดี ควรเริ่มจากการมองดูที่ตัวเองก่อนว่าเป็นส่วนหนึ่งในการก่อให้เกิดปัญหานั้นขึ้นหรือไม่ แทนที่พยายามหาว่าอะไร หรือใครเป็นสาเหตุแห่งปัญหานั้น อีกทั้งในบางครั้งเมื่อพิจารณาแล้วเห็นว่าตนเองเป็นสาเหตุประการหนึ่งที่ทำให้เกิดปัญหา หรือ ความผิดพลาดนั้นๆขึ้น แต่ก็กลับไม่ยอมรับความจริง ว่าตนผิดพลาดและควรเร่งพัฒนาศักยภาพของตน แต่กลับครุ่นคิดวกวนความผิดพลาดนั้น จนท้อแท้ และไม่เดินต่อไปยังจุดหมายที่ตั้งใจ
ทัศนคติดังกล่าวข้างต้น ทั้ง 6 ประการ ถือได้ว่าเป็นตัวอย่างของทัศนคติที่ดี หรือแนวคิดเชิงบวกพื้นฐานต่อตนเอง และต่อสังคมรอบข้างที่อย่างน้อยทุกคนควรต้องมีและต้องพร้อมที่จะพัฒนาตนเองให้มีทัศนคติที่ดีด้านอื่นๆ ให้มีมากขึ้นตามลำดับต่อไป
ประการที่1 การมีความเชื่อมั่นในตัวเอง การมีความเชื่อมั่นในตัวเอง เป็นทัศนคติด้านบวกต่อตนเองว่า ตนเองมีศักยภาพในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ มากน้อยเพียงใด การมีความเชื่อมั่นในตัวเอง เป็นกรณีที่เราทุกคนควรมั่นใจว่าเรามีศักยภาพเพียงพอในการทำงานที่ได้รับมอบหมาย แต่ในความเป็นจริงคนเราทุกคนไม่สามารถที่จะรู้และเข้าใจดีในทุกเรื่อง แต่ถึงแม้ว่าสิ่งที่ได้รับมอบหมายให้ทำนั้นตนเองไม่มีความสามารถเฉพาะด้านนั้นเพียงพอ ก็ต้องมีควาเชื่อมั่นว่าตนเองสามารถฝึกฝน จนสามารถทำงานนั้นได้ดังนั้น ความเชื่อมั่นในตนเองในที่นี้จึงเป็นความเชื่อมั่นในศักยภาพของตนเอง และอีกทางหนึ่งก็คือ การเชื่อมั่นในการพัฒนาศักยภาพของตนเองด้วย
ประการที่2 การประเมินศักยภาพตัวเอง การประเมินศักยภาพตัวเอง เป็นทัศนคติต่อตนเองในความคาดหวังถึงประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการทำงาน สิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยความคาดหวังในที่นี้ต้องเป็นความคาดหวัง ที่มีพื้นฐานบนความรู้และความเข้าใจถึงศักยภาพที่แท้จริงของตนเอง บางครั้งผู้คนอาจคาดหวังถึงผลลัพธ์ที่สูงโดยขาดการพิจารณาถึงพื้นฐานของความเป็นจริง ทำให้เกิดความผิดหวังขึ้นได้ แต่ในทางกลับกันการคาดหวังต่ำโดยไม่พิจารณาถึงพื้นฐานของความเป็นจริง ไม่ว่าเกิดจากการขาดความเชื่อมั่นในศักยภาพของตนเอง การประเมินคุณค่าถึงศักยภาพของตนที่ต่ำ หรืออาจเกิดจากการที่ไม่อยากเผชิญกับความผิดหวัง ก็อาจทำให้ขาดแรงผลักดันที่จะทำงานนั้นให้เสร็จ และอาจทำให้ผลงานที่ออกมานั้นไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ ดังนั้นทุกคนควรตระหนักไว้เสมอว่าคนเรามีศักยภาพในการพัฒนาตนเองเสมอ
ประการที่3 การยอมรับตนเอง และการให้เกียรติตัวเอง การให้เกียรติตัวเอง หรือการยอมรับตัวเอง เป็นทัศนคติต่อตัวเองที่มีพื้นฐานร่วมมากับการมีความเชื่อมั่นในตนเอง และการประเมินศักยภาพของตนเอง คือคนเราเมื่อมีความเชื่อมั่นในตนเอง และสามารถประเมินศักยภาพของตนเองได้ ก็ต้องยอมรับผลที่ออกมาให้ได้ ไม่ว่าผลลัพธ์นั้นจะเป็นที่พอใจหรือไม่ก็ตาม เพราะอย่างไรก็ดีแม้ว่าผลที่ออกมาจะดี เราก็ไม่ควรยึดติดหรือหยุดอยู่กับที่ เพราะคนเราพัฒนากันได้ตลอดเวลา การหยุดอยู่กับที่ในขณะที่คนอื่นเดินไปข้างหน้านั้น ก็ไม่ต่างจากกับการเดินถอยหลัง แต่หากผลลัพธ์ที่ออกมาไม่น่าพอใจ เราก็ไม่ควรดูถูกตัวเอง หากแต่ต้องให้เกียรติตัวเอง และพร้อมที่จะพัฒนาตนต่อไปให้มีศักยภาพให้สูงขึ้น
ประการที่4 การมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ การมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ เป็นทัศนคติที่มองว่าคนเราควรมีอิสระ เสรีภาพทางด้านความคิด ไม่จำเป็นต้องเดินตามกรอบที่ตีไว้หากแต่บ่อย
ครั้งที่เราพบว่าผู้คนมักกล่าวอ้างว่าเป็นการคิดนอกกรอบ แต่ที่จริงแล้ว การคิดนอกกรอบตามนัยที่แท้แล้วอาจมิใช่เพียงการใช้เสรีภาพทางการคิดให้แตกต่างออกไปโดยไม่พิจารณาถึงเหตุที่กรอบนั้นถูกตีขึ้นมาทำให้ความคิดที่เกิดขึ้นนั้นแตกต่างหรือสวนกระแสกับกรอบดังกล่าวไปโดยสิ้นเชิง ที่อาจเรียกว่า ขบถทางความคิด หากแต่ที่จริงแล้วการคิดริเริ่มสร้างสรรค์ต้องเป็นการใช้อิสระ เสรีภาพทางด้านความคิดที่มีพื้นฐานอยู่ที่ความรู้ ความเข้าใจตามสภาพความเป็นจริงที่ปรากฎ โดยไม่ลืมที่จะพิจารณากรอบที่ถูกขีดขึ้นมานั้นด้วย
ประการที่5 การประเมินและความคาดหวังต่อศักยภาพของคนอื่น ความคาดหวังต่อศักยภาพของตนเอง เป็นทัศนคติที่มีฐานมาจากการประเมินถึงศักยภาพของตนเองโดยมีพื้นฐานถึงความเข้าใจ หรือรู้ถึงศักยภาพที่แท้จริงของตนเองหากเราสามารถประเมินศักยภาพของตนเองว่ามีเพียงพอแล้ว ก็ต้องไม่ลืมในการพัฒนาศักยภาพของเราให้สูงขึ้น หรือแม้ว่าเราประเมินได้ว่าศักยภาพของเราไม่เพียงพอ ก็ต้องพยายามในการพัฒนาศักยภาพของเราให้สูงขึ้นเช่นกัน แต่บ่อยครั้งคนเราหาได้ทำเช่นนั้นไม่ หากแต่เมื่อประเมินศักยภาพของตนเองแล้ว แทนที่จะมีการพัฒนาตนเอง กลับไปประเมินศักยภาพของคนอื่น โดยมุ่งหวังที่จะอาศัยศักยภาพของคนอื่นในการเข้ามาจัดการงานของตน ซึ่งเป็นการที่เรานำเอาความสำเร็จของงานไปขึ้นอยู่กับคนอื่น การมีทัศนคติต่อศักยภาพของคนอื่นที่ถูกต้อง จึงควรเป็นไปในแนวทางที่เราจะต้องพัฒนาศักยภาพของตนเองให้สูงพอที่จะทำการของตนให้ลุล่วง จนอาจเป็นที่พึ่งของคนอื่นได้ด้วย หรือไม่ก็เป็นกรณีที่ตนเองมีศักยภาพ แต่กลับผลักภาระให้ความสำเร็จของงานไปขึ้นกับศักยภาพของบุคคลอื่น โดยลืมไปว่าการกระทำดังกล่าวเป็นการทำให้บุคคลอื่นพัฒนาศักยภาพมากขึ้นใน ขณะที่ตนเองกลับถูกทิ้งให้เดินตาหลังผู้อื่นแต่อย่างเดียว
ประการที่6 ทัศนคติด้านตรรกะ ในการแก้ปัญหา ทัศนคติด้านตรรกะในการแก้ปัญหา เป็นทัศนคติซึ่งคนส่วนใหญ่มี และใช้อยู่ตลอดเวลาทุกครั้งที่มีปัญหาเข้ามาในชีวิต โดยตรรกะในการทัศนคติที่ดีในการแก้ปัญหาในที่นี้ คือ การที่เมื่อมีปัญหาเกิดขึ้นแล้วเราสามารถแก้ได้เพียงใด การสาวหาเหตุปัจจัยที่เป็นที่มาของปัญหา บ่อยครั้งที่คนเรามักมองสาเหตุแห่งปัญหาผิดจุด คือ การมองสาเหตุของปัญหาจากจุดไกลมายังจุดใกล้ มองจากภายนอกเข้ามาภายใน ซึ่งที่จริงแล้วการหาเหตุแห่งปัญหาที่ง่ายและเป็นแนวคิดที่ดี ควรเริ่มจากการมองดูที่ตัวเองก่อนว่าเป็นส่วนหนึ่งในการก่อให้เกิดปัญหานั้นขึ้นหรือไม่ แทนที่พยายามหาว่าอะไร หรือใครเป็นสาเหตุแห่งปัญหานั้น อีกทั้งในบางครั้งเมื่อพิจารณาแล้วเห็นว่าตนเองเป็นสาเหตุประการหนึ่งที่ทำให้เกิดปัญหา หรือ ความผิดพลาดนั้นๆขึ้น แต่ก็กลับไม่ยอมรับความจริง ว่าตนผิดพลาดและควรเร่งพัฒนาศักยภาพของตน แต่กลับครุ่นคิดวกวนความผิดพลาดนั้น จนท้อแท้ และไม่เดินต่อไปยังจุดหมายที่ตั้งใจ
ทัศนคติดังกล่าวข้างต้น ทั้ง 6 ประการ ถือได้ว่าเป็นตัวอย่างของทัศนคติที่ดี หรือแนวคิดเชิงบวกพื้นฐานต่อตนเอง และต่อสังคมรอบข้างที่อย่างน้อยทุกคนควรต้องมีและต้องพร้อมที่จะพัฒนาตนเองให้มีทัศนคติที่ดีด้านอื่นๆ ให้มีมากขึ้นตามลำดับต่อไป
2 ต.ค. 2550
ทัศนคติที่ดี (POSITIVE THINKING) ตอนที่ 1
บ่อยครั้งที่เราได้ยินผู้คนมักพูดว่ามีทัศนคติที่ดี หากมีใครกล่าวเช่นนี้ว่าเรามีทัศนคติที่ดี ประการแรกที่สามารถรู้สึกได้คือ เราได้รับคำชมเชย มากกว่าที่จะถูกตำหนิ การมีทัศนคติที่ดี โดยนัยของมันเองก็คงเป็นคนละด้านกับการมีทัศนคติที่แย่ หรือมีทัศนคติที่ไม่ดี ในการที่เราจะทำความเข้าใจ กับการมีทัศนคติที่ดี ซึ่งโดยลักษณะของตัวมันเอง เป็นนามธรรมที่จับต้องได้ยาก และอาจจะหาคำนิยามที่สามารถสรุปความหมายทุกนัยของการมีทัศนคติที่ดีได้ ดังนั้นในเบื้องต้นเราคงต้องมาพิจารณาถึงนิยามของคำว่า ทัศนคติ ว่าคืออะไร ส่วนที่ว่าทัศนคติที่ดีเป็นเช่นใดนั้น ค่อยพิจารณาในลำดับต่อไป
ในขั้นแรกของการทำความเข้าใจถึงทัศนคติที่ดีนั้น เราคงต้องมาทำความเข้าใจกันก่อนว่าทัศนคติคืออะไร ทัศนคติ เป็นคำสนธิระหว่าง ทัศน ทัศน์ หรือ ทัสสนะ ซึ่งหมายความว่า ความเห็น ความเห็นด้วยปัญญา ส่วนคติ หมายความว่า แนวทาง ดังนั้นคำว่า ทัศนคติ จึงน่าจะรวมความได้ว่า คือ แนวความคิดเห็นที่ประกอบด้วยปัญญาเป็นที่ตั้ง เป็นความคิดเห็นซึ่งมีพื้นมาจากปัญญากล่าวคือ ใช้ปัญญาในการพิจารณาการเห็นนั้น เมื่อเราทราบว่า ทัศนคติ คือ แนวความคิดเห็น
หากจะพิจารณาดูให้ถี่ถ้วนแล้ว มนุษย์ทุกคนล้วนแต่ต้องมีทัศนคติ ตลอดเวลา ก่อนอื่นที่ต้องทำความเข้าใจให้ตรงกันก่อนว่า ทัศนคติที่เรามีนั้นในที่นี้ ไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะสิ่งที่เราเรียกว่าความเห็น หรือความคิดเห็นเท่านั้น หากแต่ความเห็น หรือความคิดเห็นตามที่เข้าใจในความหมายทั่วไปนั้น เป็นเพียงส่วนหนึ่งของความเห็นซึ่งเกิดขึ้นแล้ว ผ่านกระบวนการแสดงออกมาให้ผู้อื่นรับรู้ ว่าเราเห็นอย่างไร ไม่ว่าจะโดยผ่านกระบวนการของการพูด (วาจา) เขียน (ลายลักษณ์อักษร)หรือโดยอากัปกริยาอื่นใดเท่านั้น หากแต่การเห็นในที่นี้หมายถึง ไปทั้งกระบวนการคิดโดยไม่พิจารณาว่าสิ่งที่คิดนั้นจะได้แสดงออกมาภายนอก และ หรือมีผู้ใดรับรู้ถึงความเห็นดังกล่าว หรือไม่ดังนั้น ความเห็นจึงเป็นเพียงผลพวงที่ออกมาจากการคิดเท่านั้น
พรุ่งนี้เราจะมาหาแนวทางในการสร้างทัศนคติที่ดี ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในการที่จะมีชีวิตที่มีความสุข และส่งเสริมให้การทำงานประสบความสำเร็จตามเป้าหมาย
ในขั้นแรกของการทำความเข้าใจถึงทัศนคติที่ดีนั้น เราคงต้องมาทำความเข้าใจกันก่อนว่าทัศนคติคืออะไร ทัศนคติ เป็นคำสนธิระหว่าง ทัศน ทัศน์ หรือ ทัสสนะ ซึ่งหมายความว่า ความเห็น ความเห็นด้วยปัญญา ส่วนคติ หมายความว่า แนวทาง ดังนั้นคำว่า ทัศนคติ จึงน่าจะรวมความได้ว่า คือ แนวความคิดเห็นที่ประกอบด้วยปัญญาเป็นที่ตั้ง เป็นความคิดเห็นซึ่งมีพื้นมาจากปัญญากล่าวคือ ใช้ปัญญาในการพิจารณาการเห็นนั้น เมื่อเราทราบว่า ทัศนคติ คือ แนวความคิดเห็น
หากจะพิจารณาดูให้ถี่ถ้วนแล้ว มนุษย์ทุกคนล้วนแต่ต้องมีทัศนคติ ตลอดเวลา ก่อนอื่นที่ต้องทำความเข้าใจให้ตรงกันก่อนว่า ทัศนคติที่เรามีนั้นในที่นี้ ไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะสิ่งที่เราเรียกว่าความเห็น หรือความคิดเห็นเท่านั้น หากแต่ความเห็น หรือความคิดเห็นตามที่เข้าใจในความหมายทั่วไปนั้น เป็นเพียงส่วนหนึ่งของความเห็นซึ่งเกิดขึ้นแล้ว ผ่านกระบวนการแสดงออกมาให้ผู้อื่นรับรู้ ว่าเราเห็นอย่างไร ไม่ว่าจะโดยผ่านกระบวนการของการพูด (วาจา) เขียน (ลายลักษณ์อักษร)หรือโดยอากัปกริยาอื่นใดเท่านั้น หากแต่การเห็นในที่นี้หมายถึง ไปทั้งกระบวนการคิดโดยไม่พิจารณาว่าสิ่งที่คิดนั้นจะได้แสดงออกมาภายนอก และ หรือมีผู้ใดรับรู้ถึงความเห็นดังกล่าว หรือไม่ดังนั้น ความเห็นจึงเป็นเพียงผลพวงที่ออกมาจากการคิดเท่านั้น
พรุ่งนี้เราจะมาหาแนวทางในการสร้างทัศนคติที่ดี ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในการที่จะมีชีวิตที่มีความสุข และส่งเสริมให้การทำงานประสบความสำเร็จตามเป้าหมาย
1 ต.ค. 2550
Time Management by Thai reliant
Do you manage time...or does time manage you? It’s a simple question, but difficult to answer.
Management is important for all of us because scarcity and unequal of resources. But we have one resource that anonymous for everyone. It’s time which everyone have 24 hours a day, but we have difference ways to manage them.
This article have some things that each of us can do to help ourselves manage our time more effectively. Effective time management is a conscious decision where we decide what is important and then plan our time and our lives around these things.
The key is to use proactive thinking. Don't wait and let time make its demands on you. First decide what you will do with your time. What are my values and my goals? Where do I want to end up? What is truly important to me? What actions do I need to take to make things happen?
However, there are no time management tools that work for everyone all of the time. Instead, we need to decide what works best for us, as an individual, at this point in time. Do we need to schedule better? Do we work more productively in the morning? What will work for me...now?
Thai reliant gives us key points which help ourselves to manage our time efficiently, that is balancing and respect our lives. That is we are not meant to concentrate on one thing to the exclusion of all else. We need to make sure that we give ourselves time for relaxation, for exercise, for friends, and for fun. These are critical parts of the "whole" person. And without taking care of ourselves, we do not have the energy that we need to take care of the demands on our time.
Management is important for all of us because scarcity and unequal of resources. But we have one resource that anonymous for everyone. It’s time which everyone have 24 hours a day, but we have difference ways to manage them.
This article have some things that each of us can do to help ourselves manage our time more effectively. Effective time management is a conscious decision where we decide what is important and then plan our time and our lives around these things.
The key is to use proactive thinking. Don't wait and let time make its demands on you. First decide what you will do with your time. What are my values and my goals? Where do I want to end up? What is truly important to me? What actions do I need to take to make things happen?
However, there are no time management tools that work for everyone all of the time. Instead, we need to decide what works best for us, as an individual, at this point in time. Do we need to schedule better? Do we work more productively in the morning? What will work for me...now?
Thai reliant gives us key points which help ourselves to manage our time efficiently, that is balancing and respect our lives. That is we are not meant to concentrate on one thing to the exclusion of all else. We need to make sure that we give ourselves time for relaxation, for exercise, for friends, and for fun. These are critical parts of the "whole" person. And without taking care of ourselves, we do not have the energy that we need to take care of the demands on our time.
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)