28 ก.ย. 2550

เทคนิคจูงใจลูกน้อง...ให้ทำงาน

เมื่อครั้งที่แล้ว เราพูดถึงสาเหตุการลาออกของพนักงาน วันนี้เราลองมาดู เทคนิคการจูงใจลูกน้องให้ทำงาน ว่าจะทำอย่างไรให้พนักงานของท่านเต็มใจและพร้อมในการทำงาน

การจูงใจลูกน้องควรเริ่มต้นจากการพยายามทำให้ลูกน้องอยากจะทำงานให้ด้วยใจ มิใช่เป็นการทำงานด้วยการบังคับหรือสั่งให้ทำ เพราะผลงานที่เกิดขึ้นอาจไม่ดีเท่าที่ควร เขาเล่าให้ฟังว่าลูกน้องแต่ละคนมีความต้องการ มีพฤติกรรมที่แตกต่างกันไป วิธีการจูงใจลูกน้องย่อมแตกต่างกันไปในแต่ละคนด้วยเช่นกัน

พัฒนาความสามารถของลูกน้องด้วยใจ
หัวหน้าควรใส่ใจและตั้งใจจริงที่จะพัฒนาความรู้ ความสามารถของลูกน้อง ไม่ต้องกลัวลูกน้องจะเก่งหรือได้ดิบได้ดีเกินหน้าเกินตา กว่าหัวหน้างาน ซึ่งหัวหน้างานควรให้โอกาสลูกน้องได้รับการฝึกอบรม รวมถึงการให้เวลากับลูกน้องในการพัฒนาความรู้ความสามารถ ไม่ว่าจะเป็นการสอนงาน การเป็นพี่เลี้ยง การให้คำปรึกษาแนะนำเมื่อลูกน้องมีปัญหา ซึ่งหัวหน้างานเองจะต้องตระหนักเสมอว่าการพัฒนาลูกน้องเป็นภารกิจหน้าที่ที่สำคัญนอกจากการบริหารและพัฒนาการทำงานของตนเอง และของหน่วยงาน

ปฏิบัติกับลูกน้องด้วยความเป็นธรรม
ความยุติธรรมในการปฏิบัติกับลูกน้องแต่ละคนเป็นสิ่งที่สามารถจูงใจลูกน้องให้ทำงานได้เช่นกัน หัวหน้างานไม่ควรลำเอียงหรือเลือกที่รักมักที่ชัง ไม่ว่าจะเป็นการมอบหมายงาน การประเมินผลการทำงาน การกล่าวยกย่องชมเชย การลงโทษ การว่ากล่าวตักเตือนพนักงาน รวมถึงการพิจารณาให้ค่าตอบแทนแก่พนักงาน

ให้ความเป็นกันเองกับลูกน้อง
บรรยากาศและสภาพแวดล้อมการทำงานเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่สามารถจูงใจให้ลูกน้องทำงานให้ หัวหน้างานควรสร้างบรรยากาศในการทำงานให้เป็นกันเอง ทำเสมือนสถานที่ทำงานเป็นบ้านหลังที่สอง พยายามสร้างความอบอุ่นในการทำงานให้กับลูกน้อง ซึ่งมีหลากหลายวิธีการที่จะสร้างความเป็นกันเองกับลูกน้องของตนได้ ไม่ว่าจะเป็นการเปิดโอกาสให้ลูกน้องแสดงความคิดเห็น การจัดให้มี Morning Talk เพื่อพูดคุยหรือปรึกษาปัญหาที่เกิดขึ้น หรือการจัดเลี้ยงสังสรรค์ในโอกาสพิเศษแก่ลูกน้องในทีม

เปิดโอกาสให้ลูกน้องมีความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน
หัวหน้างานควรตระหนักถึงความก้าวหน้าในสายอาชีพของลูกน้อง ไม่มีใครที่ต้องการอยู่เฉย ๆ โดยไม่หวังตำแหน่งงานหรือความก้าวหน้าในอาชีพของตน ซึ่งหัวหน้างานควรจัดเตรียมเส้นทางความก้าวหน้าของตำแหน่งงานให้กับลูกน้องด้วย ไม่ว่าจะเป็นการเลื่อนตำแหน่งงาน การเปิดโอกาสให้ลูกน้องหมุนเวียนเปลี่ยนงาน หรือโอนย้ายงานข้ามหน่วยงาน ผู้ที่เป็นหัวหน้างานที่ดีไม่ควรกักกันให้ลูกน้องทำงานอยู่กับตนเองเพียงฝ่ายเดียว ควรปล่อยให้ลูกน้องมีโอกาสเติบโตในสายงานอื่นตามที่พวกเขาต้องการ

23 ก.ย. 2550

ทำไม "พนักงานจึงลาออก"

ปัญหาและอุปสรรคที่สำคัญอย่างหนึ่งในการพัฒนาองค์กร ก็คือการขาดบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถ ความเชี่ยวชาญ โดยเฉพาะในปัจจุบัน องค์กรส่วนใหญ่จะมีอัตราการลาออกของพนักงานเพิ่มสูงขึ้น ทำให้ต้องสูญเสียเวลาและทรัพยากรเป็นอย่างมาก ในการหาทรัพยากรบุคคลใหม่มาทดแทนและฝึกอบรมเพื่อให้พนักงานใหม่สามารถทำงานทดแทนพนักงานคนเดิมที่ลาออกไปได้

สาเหตุของการลาออกจากงานเท่าที่ประมวลได้จากการสอบถามและการสัมภาษณ์ที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ มีดังต่อไปนี้

1.ไม่พอใจอัตราค่าจ้าง 2.งานไม่ตรงกับสายวิชาที่เรียนมา 3.งานหนัก 4.ที่พักอยู่ไกลที่ทำงาน และเดินทางไม่สะดวก
5.ที่ทำงานอบอ้าวอุดอู้ คับแคบอากาศร้อน เสียงดัง 6.ไม่มีค่าล่วงเวลา 7.ผู้บังคับบัญชาไม่เอาใจใส่พนักงาน 8.เข้ากับผู้ร่วมงานไม่ได้ 9.ผู้บังคับบัญชาตำหนิรุนแรงหรือดุด่า 10.ทำงานต่ำกว่าคุณวุฒิ 11.ไม่พอใจสวัสดิการ 12.ม่มีความก้าวหน้าในงานที่ทำ
13.สภาพแวดล้อมในการทำงานไม่ดี 14. ผู้บังคับบัญชาไม่สอนงานดีแต่ดุว่า 15.มีความคาดหวังในงานสูงและผิดหวัง 16. มีแต่ตำหนิไม่มีคำชม 17.ขาดความอบอุ่นใจ 18.ผู้บังคับบัญชามีอคติ 20. การชักจูงจากเพื่อนในที่ทำงานซึ่งมีรายได้สูง
21. เบื่องานและผู้บังคับบัญชา 22. ได้งานที่ดีกว่า ค่าตอบแทนสูงกว่า 23. ได้รับข้อเสนอตำแหน่งสูงกว่าเดิม

หัวหน้าหรือผู้บริหารหลายคน มักจะแก้ปัญหาพนักงานลาออกด้วยการเพิ่มเงินเดือน แต่หากลองพิจารณาสาเหตุของการลาออกส่วนใหญ่ ไม่ได้เกี่ยวข้องกับเรื่องของเงินเดือน เพราะฉะนั้นการปรับเงินเดือนขึ้น จึงไม่ใช่วิธีการแก้ปัญหาการลาออกของพนักงาน แต่วิธีการที่ดีที่สุด คือ "เพิ่มความใส่ใจในตัวพนักงานของท่านให้มากขึ้น"

22 ก.ย. 2550

การบริหารความขัดแย้ง

หน้าที่หลักประการหนึ่งของนักบริหาร ก็คือ การบริหารความขัดแย้งทั้งในตนเอง ในระหว่างบุคคล และในระหว่างกลุ่ม ดังนั้น จึงเป็นความจำเป็นที่นักบริหารควรให้ความเอาใจใส่ในหน้านี้มากเป็นพิเศษ เพราะเป็นปัจจัยสำคัญของความสำเร็จขององค์กร

ความขัดแย้ง (Conflict) หมายถึง ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลที่เกี่ยวข้องกับจุดมุ่งหมาย หรือวิธีการ หรือทั้งสองอย่างแต่เป็นความสัมพันธ์ในทางลบ

การที่แต่ละฝ่ายไปด้วยกันไม่ได้ในเรื่องเกี่ยวกับความต้องการ ไม่ว่าจะเป็นความต้องการจริง หรือศักยภาพที่จะเกิดตามต้องการ มักเกิดจากปัญหาการสื่อสาร โครงสร้างองค์การ หรือความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล เกิดจากบทบาท หน้าที่การงาน คุณค่า บุคลิกภาพส่วนตน กฎระเบียบ ทรัพยากร และเป้าหมาย ทำให้เกิดความขัดแย้งระหว่างบุคคล ระหว่างกลุ่ม ภายในองค์กร และระหว่างองค์กร ซึ่งความเสียหายย่อมสอดคล้องกับปฏิกิริยาของความขัดแย้ง และความขัดแย้งมีทั้งผลดีและผลเสีย ดังนี้

ผลดีของความขัดแย้งคือ เป็นตัวกระตุ้นให้คนแสวงหาวิธีการต่างๆจะนำผลไปสู่ผลตอบสนองที่ดีขึ้น และปัญหาที่ถูกซ้อนเร้นอยู่ได้ถูกนำมาเปิดเผย เพื่อจะได้สามารถแก้ไขปัญหานั้นได้ และนอกเหนือไปจากสิ่งเหล่านี้คือ กลุ่มคนที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับความขัดแย้ง จะมีความเข้าใจต่อกันอย่างลึกซึ้งมากขึ้น หลังจากที่ได้แก้ไขข้อขัดแย้งนั้นให้ลุล่วงไปแล้ว

ผลเสียของความขัดแย้ง ทำให้ความร่วมมือและการทำงานร่วมกันเป็นทีมลดลง ความไม่ไว้วางใจซึ่งกันและกัน ความห่างเหินก็เพิ่มมากขึ้นทั้งในระหว่างบุคคลและในระหว่างกลุ่มที่ควรจะร่วมมือกัน บุคคลที่รู้สึกว่าตนเองเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ในความขัดแย้งนั้นจะรู้สึกว่าตนเองไร้ความหมาย ไร้ค่า ภาพพจน์ที่มีต่อตนเองจะตกต่ำลง และสูญเสียแรงจูงใจในตนเอง และแม้ว่าจะไม่เกิดความพ่ายแพ้เลยก็ตาม ความขัดแย้งก็ยังเป็นสาเหตุให้เกิดปัญหาทางด้านอารมณ์ได้อย่างมาก

ผู้บริหารมีหน้าที่ในการประสานความขัดแย้งภายในองค์กร โดยอาศัยเหตุผล ความยุติธรรม มุ่งเน้นความสำเร็จขององค์กรเป็นที่ตั้ง ที่สำคัญจะต้องอธิบายให้พนักงานทุกคนรับทราบถึงเหตุผลโดยเฉพาะกับผู้ที่พ่ายแพ้ และใช้ความพ่ายแพ้ครั้งนี้สร้างแรงจูงใจในการทำงานให้มีมากยิ่งขึ้น เพื่อให้ "องค์กรกลายเป็นผู้ชนะ" ในที่สุด

บริหารงานให้สำเร็จด้วย "วัฒนธรรมองค์กร"

วัฒนธรรมองค์กร หมายถึง ความคาดหวัง ค่านิยม บรรทัดฐาน คุณค่า ความเชื่อ ปรัชญา และอุดมการณ์ที่บุคคลในองค์กรนั้นสร้างขึ้น รับรู้ร่วมกันเป็นแนวทางประพฤติปฏิบัติ และมีการถ่ายทอดจากบุคคลหนึ่งไปยังอีกบุคคลหนึ่ง ซึ่งทำให้บุคลากรในองค์กรรู้สึกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันและมีความผูกพันกับองค์กร

วัฒนธรรมขององค์กรมีผลอย่างยิ่งต่อกระบวนการดำเนินงานในองค์กรนั้นๆ ส่งผลถึงความสามารถขององค์กรในการดำเนินกลยุทธ์ ดังนั้น หน้าที่บางประการหนึ่งขององค์กรและผู้บริหาร คือการวิเคราะห์และพิจารณาถึงผลกระทบต่อองค์กรว่าคุ้มค่ากับการเปลี่ยนแปลงหรือไม่โดยการปรับเปลี่ยนการสื่อสาร สร้างความเข้าใจและการยอมรับ การพัฒนาและการฝึกอบรม เปลี่ยนแปลงโครงสร้างองค์กร หรือเลือกจ้างพนักงานใหม่ให้เหมาะสมกับกลยุทธ์ เพื่อทำให้บุคลากรภายในองค์กรมุ่งไปสู่เป้าหมายขององค์กร

ดังนั้น หากผู้บริหารต้องการให้องค์กรของท่านประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่วางเอาไว้ในอนาคตหรือ Vision ท่านต้องเริ่มสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่สอดคล้องและสนับสนุน Vision ของท่าน และนำสิ่งเหล่านั้นไปเผยแพร่ให้กับพนักงานทุกคนรับทราบ เพื่อให้ทุกคนในองค์กรของท่านสร้าง "วัฒนธรรม" ขององค์กรท่านขึ้นมา อย่าเพียงแค่คิดแล้วเก็บไว้ในใจของท่านคนเดียว เพราะวัฒนธรรมองค์กรจะต้องเกิดจากทุกคนในองค์กรมีส่วนร่วม มิเช่นนั้น การสร้างวัฒนธรรมองค์กรจะไม่มีทางสำเร็จ

ผลกระทบจาก เฟดลดอัตราดอกเบี้ย

เมื่อวานเราได้พูดถึงผลกระทบจากการลดอัตราดอกเบี้ยของเฟด ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผลในระยะสั้น วันนี้เราลองมาดูผลกระทบที่เกิดขึ้นในระยะกลาง โดยเฉพาะผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นในประเทศไทย

การที่ราคาน้ำมันในตลาดโลกปรับตัวเพิ่มขึ้น จะส่งผลให้ต้นทุนในการดำเนินการของบริษัทต่างๆ ปรับตัวเพิ่มขึ้น กดดันให้บริษัทต่างๆปรับเพิ่มราคาสินค้า หรือศัพท์เทคนิคเรียกว่า "เงินเฟ้อ" เพิ่มขึ้นนั้นเอง ซึ่งจะสร้างภาระให้กับประชาชนทั่วไปมากขึ้น ทำให้กำลังในการจับจ่ายใช้สอยลดลง เพราะรายได้เท่าเดิมแต่ราคาสินค้าเพิ่มขึ้น ทำให้เรามี "อำนาจซื้อลดลง" ส่งผลให้เศรษฐกิจโดยรวมถดถอย นอกจากนั้น การที่มีเงินไหลเข้าประเทศจำนวนมาก เนื่องจากส่วนต่างอัตราดอกเบี้ย (อัตราผลตอบแทนจากการลงทุน)จะทำให้เงินบาทแข็งค่าขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้การส่งออกของประเทศแย่ลง

จากเหตุผลด้านอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้น และค่าเงินที่แข็งค่าขึ้น จะส่งผลให้ธนาคารแห่งประเทศไทย ปรับลดอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงภายในประเทศลง เป็นการส่งสัญญาณให้ธนาคารพาณิชย์ปรับลดอัตราดอกเบี้ย ซึ่งจะกระตุ้นให้เศรษฐกิจปรับตัวเพิ่มขึ้น แต่อาจจะมีผลไม่มากนัก

คงต้องรอดูผลกันสักระยะครับ ว่าทางภาครัฐจะมีวิธีการรับมือปัญหานี้อย่างไร ... แต่พวกเราต้องเตรียมรับมือไว้ด้วยครับ

21 ก.ย. 2550

ผลกระทบจากการลดอัตราดอกเบี้ยของเฟด

วันนี้เป็นเรื่องที่สืบเนื่องจากการลดอัตราดอกเบี้ย 0.5% ของธนาคารกลางสหรัฐ ซึ่งถือว่าเป็นการลดอัตราดอกเบี้ยในระดับที่สูงเกินความคาดหมายของนักวิเคราะห์หลายคน เพราะในสถานการณ์ปรกติธนาคารกลางสหรัฐมักจะปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยครั้งละ 0.25% ดังนั้นการปรับเปลี่ยนครั้งนี้ค่อนข้างจะช็อคตลาดการเงินโลก

การลดอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อเศรษฐกิจอเมริกา ให้มีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น เนื่องจากต้นทุนทางการเงินสำหรับการลงทุนหรือ "ดอกเบี้ย" ลดลง ดังนั้น จึงเป็นการกระตุ้นให้ภาคเอกชนลงทุนมากขึ้น เศรษฐกิจจึงขยายตัว เมื่อเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในโลกขยายตัว ย่อมส่งผลทางอ้อมถึงเศรษฐกิจของโลกอยากหลีกเลี่ยงไม่ได้ อาทิ ราคาน้ำมันจะพุ่งทะยานขึ้น เนื่องจากสหรัฐเป็นตลาดนำเข้าน้ำมันที่ใหญ่ที่สุดของโลก เมื่อเศรษฐกิจขยายตัวทำให้มีความต้องการมากขึ้น จะผลักดันให้ราคาน้ำมันทั่วโลกสูงขึ้น ซึ่งส่งผลกลับมาถึงประเทศไทยด้วย เพราะฉะนั้นให้รีบเติมน้ำมันให้เต็มถังครับ เพราะอีกไม่นานราคาน้ำมันในบ้านเราต้องเพิ่มขึ้นแน่ๆ

การลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารสหรัฐ ยังส่งผลต่อการเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศด้วย การที่อัตราผลตอบแทนจากเงินลงทุนหรือ "อัตราดอกเบี้ย" ในอเมริกาลดลง ทำให้นักลงทุนจะโยกเงินทุนที่ลงทุนอยู่ในสหรัฐออกมาลงทุนยังต่างประเทศ เราจึงเห็นตลาดหุ้นทั่วโลก รวมถึงประเทศไทยปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วง 2 วันที่ผ่านมา นอกจากนั้นการที่เงินทุนไหลออกจากประเทศสหรัฐจำนวนมากจะส่งผลให้ค่าเงิน US$ ปรับค่าลดลง หรือมองในมุมคนไทยก็คือค่าเงินบาทจะแข็งค่าขึ้นนั้นเอง และถ้ายังจำกันในบทความก่อนหน้านี้ได้ เราจะเห็นโทษของค่าเงินบาทว่าสามารถทำให้ธุรกิจปิดตัวได้อย่างไร

มีคือผลเบื้องต้นในระยะสั้น แต่ยังมีผลในระยะกลาง พรุ่งนี้เรามาวิเคราะห์เรื่องนี้กันต่อครับ

20 ก.ย. 2550

รัฐบาลรับมือเฟดลดดอกเบี้ย 0.5% ป่วนตลาดเงินโลก

การประชุมเฟดเมื่อคืนวันที่ 18 ก.ย.ได้ลดดอกเบี้ยจาก 5.25% เหลือ 4.75% ซึ่งถือเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือน พ.ค.ปีที่แล้ว เพื่อรับมือกับสภาวะตกต่ำในตลาดอสังหาริมทรัพย์ และเป็นการปรับลดครั้งแรกนับตั้งแต่เดือน มิ.ย. 2546 ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อตลาดการเงนของโลก

การปรับลดลงของตลาดการเงินที่ใหญ่ที่สุดของโลก ย่อมส่งผลถึงตลาดการเงินรวมถึงเศรษฐกิจทั่วโลก สิ่งที่เห็นชัดเจน คือตลาดหุ้นทั่วโลก ปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างรุนแรง รวมถึงตลาดหุ้นขอไทย ขณะเดียวกัน ราคาน้ำมันในตลาดโลกก็ทะยานขึ้นสร้างสถิติใหม่ที่เกือบ 82 เหรียญสหรัฐต่อบาเรล เช่นเดียวกับราคาทองคำที่ปรับราคาสูงขึ้นอย่างแรง และผลในระยะต่อไปคือค่าเงินบาทจะปรับตัวแข็งค่าขึ้นอีกครั้ง และน่าจะส่งผลในธนาคารแห่งประเทศไทยปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงด้วย ซึ่งจะส่งผลให้ธนาคารพาณิชย์ปรับลดลงอัตราดอกเบี้ยอีกครั้งในช่วงปลายปีที่จะถึงนี้

ผู้อ่านจะเห็นได้ว่า การลดดอกเบี้ยครั้งนี้ส่งผลกับเศรษฐกิจหลายด้าน และการอธิบายเรื่องนี้ค่อนข้างมีความซับซ้อน และมีเนื้อหาค่อนข้างยาว ในโอกาสถัดไปผมจะนำผลกระทบต่างๆ มาอธิบายให้ชัดเจนมากขึ้น แต่รับรองได้ว่าการลดดอกเบี้ยครั้งนี้ ส่งผลถึงเศรษฐกิจไทยรวมถึงปากท้องของพวกเราอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

19 ก.ย. 2550

Work On Your Weakness First

หลังจากพูดเรื่องเกี่ยวกับเศรษฐกิจมาหลายวัน วันนี้ขอวนกลับมาในหัวข้อ Management tips อีกสักครั้ง เป็นการเปลี่ยนบรรยากาศก่อนที่จะเบื่อเรื่องเศรษฐกิจกันไปเสียก่อน

"Work on your weakness first"

If you want to increase your value works on your weaknesses first. In any positions or any jobs you will find yourself, there will be things you do well, some you do okay, and some you don't do so well. If you want to improve yourself, and increase your value, work first to improve in those areas that are your weakest.

If you are promoted or recruited to the new job, you should analyst yourself. You should define your strengths and weaknesses for the new responsibilities. Then you will set strategies to improve yourself and increase your value.

The strategy which has to work first is to improve in those areas that are your weakest. You have to define your weaknesses and cause of them. Then you will set the planning which improves your weakness and action on the planning.
Improvement your weakest will help you to defense your position. After you have secure situations it’s easy to increase your value work by your strengths.

18 ก.ย. 2550

ตอบคำถาม "เศรษฐกิจเกี่ยวข้องอะไรกับเรา" ตอนที่ 3

“บริษัทหลายแห่งปิดตัวเนื่องจากเงินบาทแข็ง” ท่านเคยสงสัยกันหรือไม่ ว่าทำไมค่าเงินบาทจึงสามารถส่งผลให้บริษัทหนึ่งบริษัทสามารถขาดทุนจนสามารถปิดกิจการได้

ค่าเงิน ของแต่ละประเทศจะมีอัตราที่แตกต่างกัน ซึ่งเป็นอัตราที่ผู้ถือเงินแต่ละสกุลยินดีที่จะยอมแลกเปลี่ยนเพื่อให้ได้เงินอีกหนึ่งสกุล โดยค่าเงินจะมีการปรับเปลี่ยนขึ้นลงตามความต้องการของตลาด (Demand) หรือขึ้นอยู่กับนโยบายทางการเงินของประเทศนั้นๆ

ประเทศไทย มีอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศแบบลอยตัวแบบมีการจัดการ (Manage float) ทำให้ค่าเงินสามารถเคลื่อนไหวตามความต้องการของตลาด การที่ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นเนื่องจากมีความต้องการเงินบาทเป็นจำนวนมากในช่วงที่ผ่านมา

ปรกติ การทำธุรกิจระหว่างประเทศ จะมีการตกลงทำสัญญาด้วยเงินตราต่างประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้เงินสกุล US$ ของอเมริกา โดยการทำการค้าระหว่างประเทศจะมีการทำสัญญากันล่วงหน้าอย่างน้อยไม่ต่ำกว่า 6 เดือน และเมื่อได้รับเงินตราต่างประเทศมาจะต้องมีการแลกกลับมาเป็นค่าเงินบาท เพื่อใช้จ่ายในประเทศไทยต่อไป ดังนั้น การค่าระหว่างประเทศจะมีความเสี่ยงในเรื่องอัตราแลกเปลี่ยน อย่างไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ลองดูตัวอย่างด้านล่าง

สมมติครับว่า ในเดือนมกราคม โรงงานแห่งหนึ่งตกลงขายเสื้อให้กับต่างประเทศ ค่าเงินบาทขณะนั้นเท่ากับ 35.50 บาทต่อ 1 US$ มีต้นทุนการผลิตอยู่ที่ 710 บาท หรือคิดเป็นเงิน 20 US$ มีค่าจ้างพนักงาน 50,000 บาท จึงทำสัญญาขายเสื้อดังกล่าวให้กับบริษัทต่างชาติด้วยราคา 22 US$ เป็นจำนวน 1,000 ตัว ซึ่งคาดว่าจะมีรายรับ 781,000 บาท และคาดว่าจะมีกำไร 21,000 บาท

เมื่อครบกำหนดสัญญาในเดือนมิถุนายน บริษัทต่างชาติชำระค่าเสื้อมาให้ 20,000 US$ แต่ค่าเงินบาทตอนนั้นอยู่ที่ 33.5 บาท เมื่อแลกกลับมาเป็นเงินไทยได้เท่ากับ 737,000 บาท ดังนั้นบริษัทจึงขาดทุน 23,000 บาท

17 ก.ย. 2550

ตอบคำถาม "เศรษฐกิจเกี่ยวข้องอะไรกับเรา" ตอนที่ 2

ผู้ที่ติดตามข่าวเศรษฐกิจหรือมีโอกาสได้ฟังข่าวอยู่บ่อยๆ น่าจะเคยได้ยินชื่อสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือทางการเงินระหว่างประเทศ S&P (Standard and Poor) หรือ Moody’s หลายคนคงสงสัยว่าอันดับความน่าเชื่อถือทางการเงิน (credit rating) มีความสำคัญอย่างไร ทำไมรัฐบาลและนักลงทุนต้องวิตกกังวลเวลาที่สถาบันเหล่านี้ลดอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศเรา และมีวิธีการในการจัดอันดับความน่าเชื่อถืออย่างไรบ้าง น่าเชื่อถือมากน้อยแค่ไหน… หากอ่านบทความนี้จบ น่าจะแก้ความสงสัยได้ไม่มากก็น้อย

สถาบันจัดอันดับฯเริ่มมีบทบาทต่อเศรษฐกิจไทย หลังจากการดำเนินนโยบายการเงินเสรีสมัยรัฐบาล ชวน หลีกภัย ที่มีผลเชื่อมโยงตลาดการเงินของไทยเข้ากับตลาดการเงินระหว่างประเทศมากขึ้น และผลักดันให้ระบบเศรษฐกิจไทยพึ่งพิงเงินทุนต่างประเทศ โดยก่อนดำเนินนโยบายการเงินเสรี(2536) มีเงินทุนไหลเข้าประเทศสุทธิภายในปี 2530 เป็นเงิน 883 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งส่วนใหญ่จะเข้ามาในลักษณะของเงินลงทุนในหลักทรัพย์ (Portfolio Investment) มีปริมาณเท่ากับ 499 ล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อมีการเปิดเสรีทางการเงินทำให้ทุนไหลเข้าสุทธิเพิ่มขึ้นเป็นเงิน 20,849 ล้านเหรียญสหรัฐ เงินทุนส่วนใหญ่จะผ่านเข้ามาทางระบบธนาคาร โดยเฉพาะกิจการวิเทศธนกิจ (BIBF:เกิดขึ้นหลังจากเปิดเสรีทางการเงิน) มีปริมาณเงินไหลเข้าสุทธิเท่ากับ 8,149 ล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2538 จะเห็นได้ว่าปริมาณเงินไหลเข้าสุทธิเพิ่มขึ้นเกือบ 50 เท่าตัวในเวลาเพียง 8 ปี ทำให้มีการขยายการลงทุนอย่างรวดเร็ว เพราะต้นทุนที่ต่ำลงจากเงินกู้ต่างประเทศ ผ่านทางกิจการวิเทศธนกิจ กระตุ้นให้เศรษฐกิจเติบโตอย่างรวดเร็ว แต่เศรษฐกิจไทยจำต้องพึ่งพิงเงินทุนจากต่างประเทศเพิ่มขึ้น

การที่ประเทศต้องพึ่งพิงเงินทุนจากต่างประเทศมากขึ้น มีผลผลักระบบเศรษฐกิจไทยเข้าไปอยู่ในอุ้งมือของสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือทางการเงิน เพราะต้นทุนของภาคธุรกิจจะเพิ่มขึ้นหรือลดลงขึ้นกับอันดับความน่าเชื่อถือทางการเงินที่ได้รับการจัดอับดับ การจัดอันดับความน่าเชื่อถือทางการเงิน จะมีผลโดยตรงต่อการจัดสรรทรัพยากรระหว่างประเทศ การที่ประเทศถูกลดอันดับแสดงให้เห็นว่า ฐานะทางเศรษฐกิจของประเทศมีความเปราะบางมากขึ้นผู้ที่เข้าไปลงทุนหรือสถาบันที่ให้เงินกู้แก่ประเทศดังกล่าวนี้ มีความเสี่ยงต่อการขาดทุนหรือการสูญหนี้มากขึ้น ตลาดการเงินระหว่างประเทศจึงมีธรรมเนียมการปฏิบัติว่า สถาบันการเงินจะคิดดอกเบี้ยในอัตราสูงขึ้นสำหรับเงินกู้ที่ให้แก่ประเทศที่ถูกลดอันดับ เพื่อคุ้มกับภาวะความเสี่ยงที่มีมากขึ้น ด้วยเหตุนี้ประเทศที่ถูกลดอันดับจะต้องเสียต้นทุนเพิ่มขึ้น อันบั่นทอนฐานะการแข่งขันในตลาดต่างประเทศ

ประสบการณ์ของประเทศไทยสามารถเป็นตัวอย่างที่ดีในการอธิบาย อิทธิพลของสถาบันจัดอันดับฯ ในช่วงก่อนเกิดวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ ประเทศไทยได้ถูกลดลงอันดับความน่าเชื่อทางการเงินอย่างต่อเนื่อง จากประเทศมีความสามารถสูงในการชำระคืนเงินต้นและดอกเบี้ยระยะสั้นตามกำหนดเวลา มาเป็นประเทศที่มีความไม่แน่นอนในการชำระคืนเงินต้นและดอกเบี้ยเครดิตในระดับนี้ ถูกจัดว่าอยู่ในระดับ Speculative grade ก่อให้เกิดความเกรงกลัวว่าสถาบันการเงินหลายแห่งอาจล้มละลาย เป็นแรงกระตุ้นให้เงินทุนไหลออกจากประเทศเป็นจำนวนมาก ทำให้เงินทุนไหลเข้าสุทธิติดลบกว่า 7 พันล้านบาท(แสดงว่ามีเงินไหลออกนอกประเทศมากกว่าเงินไหลเข้า 7 พันล้านบาท) ซ้ำเติมด้วยการโจมตีค่าเงินบาท ทำให้ธนาคารแห่งประเทศไทยต้องสูญเสียเงินทุนสำรองระหว่างประเทศเป็นจำนวนมากจากความพยายามที่จะปกป้องค่าเงินบาท กดดันให้รัฐบาล พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ ต้องปล่อยลอยตัวค่าเงินบาทในวันที่ 2 กรกฎาคม 2540 และขอรับความช่วยเหลือจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ก่อให้เกิดวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจที่รุนแรงที่สุดในรอบ 30 ปี

วิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจเป็นตัวอย่างที่ทำให้เราทราบถึงความสำคัญของสถาบันจัดอันดับฯไปบ้างแล้ว แต่มักจะมีคำถามอยู่เสมอว่า สถาบันเหล่านี้มีหลักเกณฑ์ในการจัดอันดับอย่างไร… การจัดอันดับความน่าเชื่อถือทางการเงิน โดยทั่วไปจะใช้ข้อมูล 3 ส่วน คือ ข้อมูลด้านเศรษฐกิจมหภาค สถานะทางการคลังและเสถียรภาพทางการเมือง และสถานะของสถาบันการเงินและหนี้ต่างประเทศ
สถานะภาพของเศรษฐกิจมหภาคที่ใช้ในการจัดอันดับ ส่วนใหญ่เป็นภาคต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นการส่งออก การนำเข้า ดุลบัญชีเดินสะพัด ดุลการชำระเงิน และเงินทุนสำรองระหว่างประเทศ ส่วนสถานะทางการคลังจะพิจารณาจากรายได้และรายจ่ายของรัฐ(ดุลงบประมาณ) ด้านสถานะของสถาบันการเงินและหนี้ต่างประเทศ จะพิจารณาจาก สภาพคล่องและหนี้เสียของธนาคาร สัดส่วนเงินกู้ต่างประเทศที่กำหนดชำระคืนสั้น ความเป็นไปได้ของโครงการลงทุนที่ธนาคารปล่อยกู้

สาเหตุที่ไทยถูกลดอันดับความน่าเชื่อถือ จนก่อให้เกิดวิกฤติทางการเงินมีสาเหตุจาก มูลค่าการส่งออกลดลงเพราะปัญหาเชิงโครงสร้างซึ่งทำให้ความสามารถในการแข่งขันกับต่างประเทศลดลง มีปัญหาขาดดุลบัญชีเดินสะพัด ส่งผลให้ดุลการชำระเงินเริ่มมีปัญหา มีผลทำให้เงินทุนสำรองระหว่างประเทศลดลงมาก และในช่วงรัฐบาล พลเอก ชวลิต เกิดวิกฤตศรัทธาและสถานะการเมืองมีความไม่แน่นอน ทำให้การดำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจขาดความคล่องตัว ประกอบกับการขาดดุลการคลังของภาครัฐเป็นครั้งแรกในรอบ10ปี ซ้ำเติมด้วยระบบการเงินในประเทศที่อยู่ในสภาพง่อนแง่น หนี้เสียในระบบสถาบันการเงินเพิ่มขึ้นจากการนำเงินทุนระยะสั้นไปลงทุนอย่างไม่เหมาะสม สภาพคล่องที่เริ่มตึงตัว หนี้ระยะสั้นมีสัดส่วนที่สูงมาก

การจัดอันดับความน่าเชื่อถือทางการเงิน เป็นมุมมองที่ค่อนข้างจะเป็นสากล อาจจะมีบ้างที่ขัดแย้งกับความรู้สึกของคนในประเทศ แต่การจัดอันดับดังกล่าวก็ทำให้เรารับรู้ว่าต่างชาติมองประเทศไทยอย่างไร สามารถนำมาใช้ให้เป็นประโยชน์ หากเรายอมรับความเป็นจริงและนำมาใช้เป็น

16 ก.ย. 2550

ตอบคำถาม "เศรษฐกิจเกี่ยวข้องอะไรกับเรา" ตอนที่ 1

สวัสดีผู้ติดตามทุกท่าน เมื่อวานเริ่มต้นกันด้วยบทความภาคภาษาอังกฤษ ซึ่งอาจจะไกลตัวใครหลายคน วันนี้จึงอยากจะนำเสนอเรื่องราวที่น่าจะใกล้ตัวทุกท่านมากขึ้น

หลายคนมักมีข้อสงสัยว่า ทำไมข่าวเศรษฐกิจมักจะพูดถึงเรื่องของ "เศรษฐกิจอเมริกา" มันเกี่ยวข้องกับประเทศเราตรงไหน เขาอยู่ห่างกันคนละซีกโลก ทำไมเราต้องสนใจเศรษฐกิจของเขาด้วย

อันที่จริงแล้วเศรษฐกิจอเมริกา ไม่ใช่มีความสำคัญกับประเทศไทยเพียงประเทศเดียวหรอกครับ แต่ยังมีความสำคัญต่อเศรษฐิกจของโลกอีกด้วย ...ทำไมถึงเป็นเช่นนั้นเราลองมาดูคำตอบกัน
1. ประเทศอเมริกามีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุด โดยมีขนาดเศรษฐกิจคิดเป็นประมาณ 1 ใน 3 ของโลก คิดง่ายๆ ก็คือ รายได้ในโลกนี้เกิดขึ้นทั้งหมดเท่าไร จะเป็นของประเทศอมเริกาเสีย 1 ส่วน เมื่อมีขนาดเศรษฐกิจที่ใหญ่เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงย่อมส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
2. ประเทศอเมริกา เป็นประเทศผู้นำเข้ารายใหญ่ที่สุดของโลก เพราะฉะนั้นประเทศอื่นๆ ที่เจริญเติบโตโดยพึ่งพิงการส่งออกเป็นหลัก จะได้รับผลกระทบเมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงในเศรษฐกิจอเมริกา ซึ่งรวมถึงประเทศไทยของเราด้วย
3. การที่ประเทศมีการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ จะส่งผลกระทบโดยตรงกับรายได้ของประชาชนภายในประเทศ ซึ่งรายได้ก็จะมีผลเชื่อมโยงกับค่าใช้จ่าย เช่น ถ้าเศรษฐกิจถดถอย รายได้ของประชาชนจะลดลง ประชาชนก็จะลดการใช้จ่ายลง ซึ่งจะส่งผลให้การนำเข้าสินค้าจากต่าวประเทศลดลงด้วย ในทางกลับกันถ้าเศรษฐกิจดี ประชาชนจะนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศมากขึ้น
4. ประเทศไทย ส่งออกสินค้าไปยังประเทศอเมริกามากที่สุด คิดเป็นประมาณ 20% ของปริมาณการส่งออกทั้งหมด ในขณะเดียงกันภาคการส่งออกของไทยคิดเป็นร้อยละ 60 ของรายได้ประชาชาติของประเทศ ดังนั้น หากการส่งออกของไทยลดลงย่อมส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศไทย โดยรวม

จากผลของทั้ง 4 ข้อที่กล่าวมาข้างต้น จะให้ได้เศรษฐกิจไทยได้มีความเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจของอเมริกาเป็นอย่างมาก ทำให้เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิของอเมริกา ประเทศไทยจึงไม่สามารถหลีกเลี่ยงผลกระทบได้ ....

15 ก.ย. 2550

Relationship account


Efficient relationships management is one of the keys to success in your business and your life.
If you can maintain good relationships with your families and friends, you will go forward your life with happiness. On the other hand if you can maintain efficient relationships with your business partners or your employees, you have more chance to success in your business, too.
The key to maintain good relationships is thinking of your relationship as bank accounts. Compliments are deposits, criticisms are withdrawals. Withdrawals are acceptable as long as you have enough deposits to cover them. If all you do is make withdrawals with no deposits your relationship with that person will suffer.
Now think about the difficult people in your life. Are your accounts in the red or in the black? Building up your relationship accounts can turn difficult employees into loyal and supportive team members.
Begin each day thinking of someone you can thank.