18 ก.ย. 2550

ตอบคำถาม "เศรษฐกิจเกี่ยวข้องอะไรกับเรา" ตอนที่ 3

“บริษัทหลายแห่งปิดตัวเนื่องจากเงินบาทแข็ง” ท่านเคยสงสัยกันหรือไม่ ว่าทำไมค่าเงินบาทจึงสามารถส่งผลให้บริษัทหนึ่งบริษัทสามารถขาดทุนจนสามารถปิดกิจการได้

ค่าเงิน ของแต่ละประเทศจะมีอัตราที่แตกต่างกัน ซึ่งเป็นอัตราที่ผู้ถือเงินแต่ละสกุลยินดีที่จะยอมแลกเปลี่ยนเพื่อให้ได้เงินอีกหนึ่งสกุล โดยค่าเงินจะมีการปรับเปลี่ยนขึ้นลงตามความต้องการของตลาด (Demand) หรือขึ้นอยู่กับนโยบายทางการเงินของประเทศนั้นๆ

ประเทศไทย มีอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศแบบลอยตัวแบบมีการจัดการ (Manage float) ทำให้ค่าเงินสามารถเคลื่อนไหวตามความต้องการของตลาด การที่ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นเนื่องจากมีความต้องการเงินบาทเป็นจำนวนมากในช่วงที่ผ่านมา

ปรกติ การทำธุรกิจระหว่างประเทศ จะมีการตกลงทำสัญญาด้วยเงินตราต่างประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้เงินสกุล US$ ของอเมริกา โดยการทำการค้าระหว่างประเทศจะมีการทำสัญญากันล่วงหน้าอย่างน้อยไม่ต่ำกว่า 6 เดือน และเมื่อได้รับเงินตราต่างประเทศมาจะต้องมีการแลกกลับมาเป็นค่าเงินบาท เพื่อใช้จ่ายในประเทศไทยต่อไป ดังนั้น การค่าระหว่างประเทศจะมีความเสี่ยงในเรื่องอัตราแลกเปลี่ยน อย่างไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ลองดูตัวอย่างด้านล่าง

สมมติครับว่า ในเดือนมกราคม โรงงานแห่งหนึ่งตกลงขายเสื้อให้กับต่างประเทศ ค่าเงินบาทขณะนั้นเท่ากับ 35.50 บาทต่อ 1 US$ มีต้นทุนการผลิตอยู่ที่ 710 บาท หรือคิดเป็นเงิน 20 US$ มีค่าจ้างพนักงาน 50,000 บาท จึงทำสัญญาขายเสื้อดังกล่าวให้กับบริษัทต่างชาติด้วยราคา 22 US$ เป็นจำนวน 1,000 ตัว ซึ่งคาดว่าจะมีรายรับ 781,000 บาท และคาดว่าจะมีกำไร 21,000 บาท

เมื่อครบกำหนดสัญญาในเดือนมิถุนายน บริษัทต่างชาติชำระค่าเสื้อมาให้ 20,000 US$ แต่ค่าเงินบาทตอนนั้นอยู่ที่ 33.5 บาท เมื่อแลกกลับมาเป็นเงินไทยได้เท่ากับ 737,000 บาท ดังนั้นบริษัทจึงขาดทุน 23,000 บาท

ไม่มีความคิดเห็น: