17 ก.ย. 2550

ตอบคำถาม "เศรษฐกิจเกี่ยวข้องอะไรกับเรา" ตอนที่ 2

ผู้ที่ติดตามข่าวเศรษฐกิจหรือมีโอกาสได้ฟังข่าวอยู่บ่อยๆ น่าจะเคยได้ยินชื่อสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือทางการเงินระหว่างประเทศ S&P (Standard and Poor) หรือ Moody’s หลายคนคงสงสัยว่าอันดับความน่าเชื่อถือทางการเงิน (credit rating) มีความสำคัญอย่างไร ทำไมรัฐบาลและนักลงทุนต้องวิตกกังวลเวลาที่สถาบันเหล่านี้ลดอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศเรา และมีวิธีการในการจัดอันดับความน่าเชื่อถืออย่างไรบ้าง น่าเชื่อถือมากน้อยแค่ไหน… หากอ่านบทความนี้จบ น่าจะแก้ความสงสัยได้ไม่มากก็น้อย

สถาบันจัดอันดับฯเริ่มมีบทบาทต่อเศรษฐกิจไทย หลังจากการดำเนินนโยบายการเงินเสรีสมัยรัฐบาล ชวน หลีกภัย ที่มีผลเชื่อมโยงตลาดการเงินของไทยเข้ากับตลาดการเงินระหว่างประเทศมากขึ้น และผลักดันให้ระบบเศรษฐกิจไทยพึ่งพิงเงินทุนต่างประเทศ โดยก่อนดำเนินนโยบายการเงินเสรี(2536) มีเงินทุนไหลเข้าประเทศสุทธิภายในปี 2530 เป็นเงิน 883 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งส่วนใหญ่จะเข้ามาในลักษณะของเงินลงทุนในหลักทรัพย์ (Portfolio Investment) มีปริมาณเท่ากับ 499 ล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อมีการเปิดเสรีทางการเงินทำให้ทุนไหลเข้าสุทธิเพิ่มขึ้นเป็นเงิน 20,849 ล้านเหรียญสหรัฐ เงินทุนส่วนใหญ่จะผ่านเข้ามาทางระบบธนาคาร โดยเฉพาะกิจการวิเทศธนกิจ (BIBF:เกิดขึ้นหลังจากเปิดเสรีทางการเงิน) มีปริมาณเงินไหลเข้าสุทธิเท่ากับ 8,149 ล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2538 จะเห็นได้ว่าปริมาณเงินไหลเข้าสุทธิเพิ่มขึ้นเกือบ 50 เท่าตัวในเวลาเพียง 8 ปี ทำให้มีการขยายการลงทุนอย่างรวดเร็ว เพราะต้นทุนที่ต่ำลงจากเงินกู้ต่างประเทศ ผ่านทางกิจการวิเทศธนกิจ กระตุ้นให้เศรษฐกิจเติบโตอย่างรวดเร็ว แต่เศรษฐกิจไทยจำต้องพึ่งพิงเงินทุนจากต่างประเทศเพิ่มขึ้น

การที่ประเทศต้องพึ่งพิงเงินทุนจากต่างประเทศมากขึ้น มีผลผลักระบบเศรษฐกิจไทยเข้าไปอยู่ในอุ้งมือของสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือทางการเงิน เพราะต้นทุนของภาคธุรกิจจะเพิ่มขึ้นหรือลดลงขึ้นกับอันดับความน่าเชื่อถือทางการเงินที่ได้รับการจัดอับดับ การจัดอันดับความน่าเชื่อถือทางการเงิน จะมีผลโดยตรงต่อการจัดสรรทรัพยากรระหว่างประเทศ การที่ประเทศถูกลดอันดับแสดงให้เห็นว่า ฐานะทางเศรษฐกิจของประเทศมีความเปราะบางมากขึ้นผู้ที่เข้าไปลงทุนหรือสถาบันที่ให้เงินกู้แก่ประเทศดังกล่าวนี้ มีความเสี่ยงต่อการขาดทุนหรือการสูญหนี้มากขึ้น ตลาดการเงินระหว่างประเทศจึงมีธรรมเนียมการปฏิบัติว่า สถาบันการเงินจะคิดดอกเบี้ยในอัตราสูงขึ้นสำหรับเงินกู้ที่ให้แก่ประเทศที่ถูกลดอันดับ เพื่อคุ้มกับภาวะความเสี่ยงที่มีมากขึ้น ด้วยเหตุนี้ประเทศที่ถูกลดอันดับจะต้องเสียต้นทุนเพิ่มขึ้น อันบั่นทอนฐานะการแข่งขันในตลาดต่างประเทศ

ประสบการณ์ของประเทศไทยสามารถเป็นตัวอย่างที่ดีในการอธิบาย อิทธิพลของสถาบันจัดอันดับฯ ในช่วงก่อนเกิดวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ ประเทศไทยได้ถูกลดลงอันดับความน่าเชื่อทางการเงินอย่างต่อเนื่อง จากประเทศมีความสามารถสูงในการชำระคืนเงินต้นและดอกเบี้ยระยะสั้นตามกำหนดเวลา มาเป็นประเทศที่มีความไม่แน่นอนในการชำระคืนเงินต้นและดอกเบี้ยเครดิตในระดับนี้ ถูกจัดว่าอยู่ในระดับ Speculative grade ก่อให้เกิดความเกรงกลัวว่าสถาบันการเงินหลายแห่งอาจล้มละลาย เป็นแรงกระตุ้นให้เงินทุนไหลออกจากประเทศเป็นจำนวนมาก ทำให้เงินทุนไหลเข้าสุทธิติดลบกว่า 7 พันล้านบาท(แสดงว่ามีเงินไหลออกนอกประเทศมากกว่าเงินไหลเข้า 7 พันล้านบาท) ซ้ำเติมด้วยการโจมตีค่าเงินบาท ทำให้ธนาคารแห่งประเทศไทยต้องสูญเสียเงินทุนสำรองระหว่างประเทศเป็นจำนวนมากจากความพยายามที่จะปกป้องค่าเงินบาท กดดันให้รัฐบาล พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ ต้องปล่อยลอยตัวค่าเงินบาทในวันที่ 2 กรกฎาคม 2540 และขอรับความช่วยเหลือจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ก่อให้เกิดวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจที่รุนแรงที่สุดในรอบ 30 ปี

วิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจเป็นตัวอย่างที่ทำให้เราทราบถึงความสำคัญของสถาบันจัดอันดับฯไปบ้างแล้ว แต่มักจะมีคำถามอยู่เสมอว่า สถาบันเหล่านี้มีหลักเกณฑ์ในการจัดอันดับอย่างไร… การจัดอันดับความน่าเชื่อถือทางการเงิน โดยทั่วไปจะใช้ข้อมูล 3 ส่วน คือ ข้อมูลด้านเศรษฐกิจมหภาค สถานะทางการคลังและเสถียรภาพทางการเมือง และสถานะของสถาบันการเงินและหนี้ต่างประเทศ
สถานะภาพของเศรษฐกิจมหภาคที่ใช้ในการจัดอันดับ ส่วนใหญ่เป็นภาคต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นการส่งออก การนำเข้า ดุลบัญชีเดินสะพัด ดุลการชำระเงิน และเงินทุนสำรองระหว่างประเทศ ส่วนสถานะทางการคลังจะพิจารณาจากรายได้และรายจ่ายของรัฐ(ดุลงบประมาณ) ด้านสถานะของสถาบันการเงินและหนี้ต่างประเทศ จะพิจารณาจาก สภาพคล่องและหนี้เสียของธนาคาร สัดส่วนเงินกู้ต่างประเทศที่กำหนดชำระคืนสั้น ความเป็นไปได้ของโครงการลงทุนที่ธนาคารปล่อยกู้

สาเหตุที่ไทยถูกลดอันดับความน่าเชื่อถือ จนก่อให้เกิดวิกฤติทางการเงินมีสาเหตุจาก มูลค่าการส่งออกลดลงเพราะปัญหาเชิงโครงสร้างซึ่งทำให้ความสามารถในการแข่งขันกับต่างประเทศลดลง มีปัญหาขาดดุลบัญชีเดินสะพัด ส่งผลให้ดุลการชำระเงินเริ่มมีปัญหา มีผลทำให้เงินทุนสำรองระหว่างประเทศลดลงมาก และในช่วงรัฐบาล พลเอก ชวลิต เกิดวิกฤตศรัทธาและสถานะการเมืองมีความไม่แน่นอน ทำให้การดำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจขาดความคล่องตัว ประกอบกับการขาดดุลการคลังของภาครัฐเป็นครั้งแรกในรอบ10ปี ซ้ำเติมด้วยระบบการเงินในประเทศที่อยู่ในสภาพง่อนแง่น หนี้เสียในระบบสถาบันการเงินเพิ่มขึ้นจากการนำเงินทุนระยะสั้นไปลงทุนอย่างไม่เหมาะสม สภาพคล่องที่เริ่มตึงตัว หนี้ระยะสั้นมีสัดส่วนที่สูงมาก

การจัดอันดับความน่าเชื่อถือทางการเงิน เป็นมุมมองที่ค่อนข้างจะเป็นสากล อาจจะมีบ้างที่ขัดแย้งกับความรู้สึกของคนในประเทศ แต่การจัดอันดับดังกล่าวก็ทำให้เรารับรู้ว่าต่างชาติมองประเทศไทยอย่างไร สามารถนำมาใช้ให้เป็นประโยชน์ หากเรายอมรับความเป็นจริงและนำมาใช้เป็น

ไม่มีความคิดเห็น: