27 ก.พ. 2551

แรงผลักดันทางด้านต้นทุน เราจะรับมืออย่างไร?

แรงผลักดันทางด้านต้นทุน เราจะรับมืออย่างไร?

สถานการณ์ทางเศรษฐกิจไทยในปัจจุบัน ยังมีความเสี่ยงอยู่มากพอสมควร ทั้งปัจจัยภายในและภายนอกประเทศอันได้แก่ สถานการณ์ทางการเมืองหลังจากการได้รับใบแดงของประธานสภาผู้แทนรษฎร กำลังซื้อของภาคประชาชนที่ถดถอย การถดถอยของเศรษฐกิจอเมริกา และที่สำคัญที่สุดคือแรงกดดันจากราคาน้ำมัน ที่ทำให้ต้นทุนการผลิตโดยรวมเพิ่มมากขึ้น

การเพิ่มขึ้นของต้นทุนในการผลิต ในขณะที่กำลังในการจับจ่ายใช้สอยลดลง ทำให้ผู้ประกอบธุรกิจต้องมีความระมัดระวัง รวมถึงต้องมีการปรับตัวเพื่อให้อยู่รอดจากวิกฤตดังกล่าว ซึ่งแนวทางในการรับมือกับปัญหาดังกล่าวสามารถกระทำได้หลายวิธีขึ้นอยู่กับประเภทของธุรกิจ โดยผมจะเสนอแนวทางแบบทั่วไป ที่สามารถกระทำได้ในทุกองค์กร

1. ลดการใช้พลังงานที่ไม่จำเป็น โดยเฉพาะระบบปรับอากาศและแสงสว่าง ซี่งทุกองค์กรต้องใส่ใจมากขึ้น แม้จะเป็นต้นทุนส่วนน้อย แต่ก็สามารถลดได้ง่ายที่สุด ถ้าอยากจะให้ได้ผลมากขึ้นต้องมีการกำหนดเป็นเป้าหมายที่ชัดเจน และส่งมอบเป้าหมายเหล่านั้นให้พนักงานทุกคนร่วมกันรับผิดชอบ

2. เพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต ด้วยการลดจำนวนของเสียจากการผลิต ลดขั้นตอนการทำงานที่ไม่มีความจำเป็น ซึ่งอาจจะนำเครื่องมือ อาทิ 5ส. หรือ Six Sigma มาใช้จะช่วยทำให้การผลิตมีประสิทธิภาพมากขึ้น

3. วิจัยความต้องการของตลาด แม้ว่าการวิจัยทางการตลาดจะทำให้ต้นทุนสูงขึ้น แต่รับรองได้ว่าจะช่วยทำให้บริษัท ดำเนินกิจการไปในแนวทางที่ถูกต้อง ซึ่งจะเป็นผลดีกับบริษัทในระยะยาว

4. เพิ่มประสิทธิภาพของระบบ Logistic อาทิ ลดการวิ่งรถเที่ยวเปล่า

5. ลดการ Stock สินค้า มากเกินกว่าความจะเป็น ด้วยการนำเทคนิค "การสั่งสินค้าประหยัดสุด" มาใช้ ซึ่งต้องเริ่มจากการจัดเก็บข้อมูลการขายและการสั่งสินค้าที่ชัดเจน ประเด็นนี้ผู้ประกอบรายย่อยมักจะละเลยทำให้มีต้นทุนสูงขึ้นโดยไม่จำเป็น

6. สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้า ด้วยการสร้างความแตกต่างกับสินค้า หรือการสร้างห่วงโซ่มูลค่าในขั้นตอนต่างๆ

7. ลดขนาดของสินค้าแทนการเพิ่มราคา เพราะกำลังซื้อที่ลดลง การเพิ่มราคาสินค้าจะยิ่งทำให้ความต้องการลดลง

พรุ่งนี้มาว่ากันต่อส่วนที่เหลือครับ

ไม่มีความคิดเห็น: