ผลการเลือกตั้งอย่างไม่เป็นทางการได้ถูกประกาศออกมาแล้ว โดยพรรคพลังประชาชนเข้าใกล้เส้นชัยมากขึ้น ด้วยจำนวน สส. อย่างไม่เป็นทางการ 233 คน ขาดอีกเพียง 7 คนก็สามารถที่จะตั้งรัฐบาลได้ จึงได้มีความพยายามปล่อยข่าวสามารถรวมกับพรรครวมใจไทยชาติพัฒนา พรรคมัชชิมาธิปไตย และพรรคประชาราช รวมมี สส. อย่างไม่เป็นทางการ 254 คน ซึ่งสามารถจัดตั้งรัฐบาลได้แน่นอน เพื่อชักจูงให้พรรคชาติไทยและเพื่อแผ่นดินเข้าร่วมด้วย
แต่งานนี้ไม่มีใครออกมายอมรับกับพรรคพลังประชาชนด้วย เพราะการจับขั้วจะเกิดขึ้นจริงหลังวันที่ 4 มกราคมเมื่อทราบผลการให้ใบเหลืองและใบแดงจาก กกต. เพราะคาดว่าจะมีใบเหลืองใบแดงรวมกันไม่ต่ำกว่า 30 ใบ ซึ่งส่งผลโดยตรงกับจำนวน สส. ความได้เปรียบอาจจะกับมาอยู่ฝากประชาธิปปัตย์ก็ได้ เพราะฉะนั้นคงไม่มีใครผลีพลามไปอยู่ข้างพรรคพลังประชาชนในตอนนี้
และที่สำคัญที่สุด หากพรรคพลังประชาชนไม่สามารถจัดตั้งรัฐบาลได้ พรรคประชาธิปปัตย์จะมีความชอบธรรมในการจัดตั้งรัฐบาล เพราะแม้ว่าจำนวน สส. จะน้อยกว่าพรรคพลังประชาชนกว่า 60 ที่นั่ง แต่หากลองมองคะแนน สส. แบบสัดส่วนจะพบว่าพรรคประชาธิปัตย์ได้คะแนนมากกว่า ซึ่งเท่ากับว่าคนส่วนใหญ่ของประเทศต้องการให้คุณอภิสิทธิ์เป็นนายกรัฐมนตรี
ศึกครั้งนี้ยังต้องสู้กันอีกยาวพอสมควร อย่าเพิ่งคิดว่าฝ่ายไหนจะชนะ ขอให้รอดูอย่างใจเย็น
26 ธ.ค. 2550
24 ธ.ค. 2550
การเลือกตั้ง ส่งสัญญาณอะไร?
ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนฯ (ส.ส.) อย่างไม่เป็นทางการปรากฎว่า พรรคพลังประชาชนเป็นพรรคที่ได้รับการเลือกตั้งเข้ามาเป็นอันดับ 1 น่าจะมี สส. จำนวน 224 คน ขณะที่พรรคประชาธิปัตย์ได้รับการเลือกตั้งเข้ามาเป็นอันดับ 2 น่าจะมี สส. จำนวน 166 คน ขณะที่ พรรคชาติไทย 42 คน พรรคเพื่อแผ่นดิน 25 คน รวมใจไทยชาติพัฒนา 11 คน มัชฌิมาธิปไตย 7 คน และประชาราช 5 คน
หากวิเคราะห์กันตามตัวเลขจำนวน สส. พรรคพลังประชาชนย่อมมีความชอบธรรมในการจัดตั้งรัฐบาล แต่หากวิเคราะห์ให้ลึกเป็นรายภาคจะพบว่า การเลือกตั้งครั้งนี้พรรคพลังประชาชนได้รับเลือกตั้งมาจากประชาชนภาคอีสานและภาคเหนือเป็นหลัก แต่กลับแพ้อย่างราบคาบในภาคใต้ (ซึ่งไม่น่าแปลกใจ)และกรุงเทพ ส่วนภาคกลางได้รับเสียงมาใกล้เคียงกัน ซึ่งปรากฎการดังกล่าว แสดงให้เห็นการแยกขั้วชัดเจนของประเทศ แสดงว่า 1 ปีที่ผ่านมารัฐบาลล้มเหลวโดยสิ้นเชิงในการสร้างความสมานฉันของคนในประเทศ แสดงว่า พตท. ทักษิณ ยังคงเป็นขวัญใจของชาวอีสานเช่นเดิม เพราะกระแสพรรคสามารถเขี่ยนายสุวิทย์ คุณกิตติ หัวหน้าพรรคเพื่อแผ่นดินให้สอบตกได้ ย่อมแสดงให้เห็นว่า พตท. ทักษิณ คือขวัญใจตัวจริงของชาวอีสาน แสดงให้เห็นว่าพรรคประชาธิปัตย์ยังต้องทำงานอย่างหนัก เพื่อให้ได้ สส. ในภาคอีสานมากกว่านี้ เพราะการที่พรรคประชาธิปัตย์แพ้การเลือกตั้งเพราะมี สส. ในภาคอีสานน้อยเกินไป และสมควรอย่างยิ่งที่จะเปลี่ยนหัวหน้าทีมภาคอีสาน หรือหากกล้ารับสส. จากพรรคขนาดเล็กในเขตภาคอีกสานมาบ้าง จะทำให้พรรคประชาธิปัตย์แข็งแกร่งมากกว่านี้
อย่างไรก็ดีแม้ว่าพรรคพลังประชาชนจะชนะอย่างขาดลอย แต่ใช่ว่าพรรคพลังประชาชนจะสามารถจัดตั้งรัฐบาลได้อย่างง่ายดาย เพราะมีอีกหลายปัจจัย ซึ่งต้องติอตามในบทความชิ้นต่อไป ... ไม่เสร็จศึกอย่างเพิ่งนับศพขุนพล
หากวิเคราะห์กันตามตัวเลขจำนวน สส. พรรคพลังประชาชนย่อมมีความชอบธรรมในการจัดตั้งรัฐบาล แต่หากวิเคราะห์ให้ลึกเป็นรายภาคจะพบว่า การเลือกตั้งครั้งนี้พรรคพลังประชาชนได้รับเลือกตั้งมาจากประชาชนภาคอีสานและภาคเหนือเป็นหลัก แต่กลับแพ้อย่างราบคาบในภาคใต้ (ซึ่งไม่น่าแปลกใจ)และกรุงเทพ ส่วนภาคกลางได้รับเสียงมาใกล้เคียงกัน ซึ่งปรากฎการดังกล่าว แสดงให้เห็นการแยกขั้วชัดเจนของประเทศ แสดงว่า 1 ปีที่ผ่านมารัฐบาลล้มเหลวโดยสิ้นเชิงในการสร้างความสมานฉันของคนในประเทศ แสดงว่า พตท. ทักษิณ ยังคงเป็นขวัญใจของชาวอีสานเช่นเดิม เพราะกระแสพรรคสามารถเขี่ยนายสุวิทย์ คุณกิตติ หัวหน้าพรรคเพื่อแผ่นดินให้สอบตกได้ ย่อมแสดงให้เห็นว่า พตท. ทักษิณ คือขวัญใจตัวจริงของชาวอีสาน แสดงให้เห็นว่าพรรคประชาธิปัตย์ยังต้องทำงานอย่างหนัก เพื่อให้ได้ สส. ในภาคอีสานมากกว่านี้ เพราะการที่พรรคประชาธิปัตย์แพ้การเลือกตั้งเพราะมี สส. ในภาคอีสานน้อยเกินไป และสมควรอย่างยิ่งที่จะเปลี่ยนหัวหน้าทีมภาคอีสาน หรือหากกล้ารับสส. จากพรรคขนาดเล็กในเขตภาคอีกสานมาบ้าง จะทำให้พรรคประชาธิปัตย์แข็งแกร่งมากกว่านี้
อย่างไรก็ดีแม้ว่าพรรคพลังประชาชนจะชนะอย่างขาดลอย แต่ใช่ว่าพรรคพลังประชาชนจะสามารถจัดตั้งรัฐบาลได้อย่างง่ายดาย เพราะมีอีกหลายปัจจัย ซึ่งต้องติอตามในบทความชิ้นต่อไป ... ไม่เสร็จศึกอย่างเพิ่งนับศพขุนพล
12 พ.ย. 2550
TQM
หลักการของ TQM หรือ Total Quality Management นั้นได้ถือกำเนิดมาเป็นระยะเวลาหนึ่งแล้วตั้งแต่ปี 1923 โดย Walter Shewhart ซึ่งทำงานให้กับบริษัท Western Electric ในสหรัฐอเมริกา ซึ่งได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของคุณภาพ จะได้พัฒนาทฤษฎีสำหรับกระบวนการทำงานต่างๆ เรียกว่า "Theory of Systems" โดยนำมาประยุกต์ใช้กับการผลิตชิ้นส่วนของโทรศัพท์ ทำให้เกิดหลักการของ PDCA (Plan/Do/Check/Act) ขึ้น
ต่อมาในช่วงทศวรรษ 1950 Deming และ Duran ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้บุกเบิกในเรื่องคุณภาพได้ถูกรับเชิญจากบริษัทในประเทศญี่ปุ่นซึ่งในขณะนั้นกำลังประสบปัญหาอย่างมากในเรื่องคุณภาพของสินค้า ซึ่งไม่ได้มาตรฐาน ถึงกับเป็นที่รู้กันว่าถ้าสินค้าผลิตในญี่ปุ่นจะเป็นสินค้าที่ไม่ได้คุณภาพ เนื่องจากในช่วงนั้นเป็นช่วงต่อจากสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งสหรัฐฯ นั้นประสบความสำเร็จอย่างสูงจากการดำเนินการผลิตสินค้าในช่วงสงครามโลก ส่วนประเทศญี่ปุ่นซึ่งแพ้สงครามก็กำลังประสบปัญหาอย่างหนัก ดังนั้นผู้เชี่ยวชาญทั้งสองจึงได้ถูกรับเชิญให้เข้าไปสอนผู้บริหารของบริษัทต่างๆ ในประเทศญี่ปุ่น
หลังจากนั้นหลักการของ TQM ก็ได้ถูกพัฒนาและใช้กันอย่างแพร่หลายในประเทศญี่ปุ่น ตั้งแต่ช่วงปีทศวรรษที่ 1950-1970 ซึ่งถือเป็น TQM รุ่นแรก (ภายหลังถูกพัฒนาขึ้นมาอีกหลายรุ่น) จากที่สินค้าตีตราประเทศญี่ปุ่นนั้นจะถือเป็นสินค้าที่ไม่มีคุณภาพ กลายเป็นสินค้าที่เป็นที่ต้องการของตลาดและถือว่าถ้าผลิตในประเทศญี่ปุ่นจะเป็นสินค้าชั้นหนึ่ง จากนั้นประเทศสหรัฐอเมริกาจึงได้เล็งเห็นความสำคัญของ TQM และเริ่มกลับมาสนใจในเรื่องการปรับปรุงคุณภาพอย่างต่อเนื่องอีกครั้งหนึ่งในปี 1980 ส่วนในประเทศไทยเองนั้นเริ่มมีการพูดถึงหลักการดังกล่าวตั้งแต่ราวๆ ปี 1985
องค์ประกอบหลักของ TQM
TQM สามารถแบ่งออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ๆ คือ ส่วนที่เป็น First Generation Quality และส่วนที่เป็น Second Generation Quality ซึ่งในแบบแรกหรือ First Generation จะเน้นที่การควบคุมการทำงานในแต่ละวันอย่างต่อเนื่อง โดยการปรับปรุงกระบวนการทำงานที่ต้องประสบอยู่ทุกวัน ยกตัวอย่างเช่น ในการเรียนการสอนต่างๆ ถ้าอาจารย์มีความจำเป็นที่จะต้องใช้ White Board และปากกาสำหรับ White Board, แปรงลบกระดาน หรือใช้เครื่องฉายแผ่นใส แต่ถ้าพบว่าเกือบทุกครั้งที่ไปสอนนั้นไม่มีอุปกรณ์เหล่านี้ประจำอยู่ในห้องเรียน ทำให้ต้องไปนำอุปกรณ์มาจากห้องอื่นทุกครั้ง ไม่ว่าจะเป็นด้วยเหตุผลใดก็ตาม ถ้าสามารถจัดอุปกรณ์เสริมเหล่านี้ได้ โดยที่ผู้สอนไม่จำเป็นจะต้องไปนำอุปกรณ์เหล่านี้มาจากที่อื่นทุกครั้ง จะถือเป็นการปรับปรุงในหลักการของ First Generation Quality ตัวอย่างอื่นๆ เช่น จำนวนเก้าอี้ในห้องไม่เพียงพอต่อนักศึกษา ในกรณีนี้นักศึกษาจะต้องไปนำเก้าอี้มาจากห้องอื่นทุกครั้ง เป็นการรบกวนการเรียนของนักศึกษาและรบกวนการสอนของอาจารย์ ทำให้เริ่มเรียนได้ช้าและไม่มีสมาธิ ดังนั้นหากแก้ไขในเรื่องเหล่านี้ได้ ก็จะถือเป็นการปรับปรุงคุณภาพในแบบ First Generation เช่นกัน
สำหรับ Second Generation Quality นั้นมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า Hoshin Kanri ซึ่งได้รับการพัฒนาในประเทศญี่ปุ่น โดย Hoshin หมายถึง เป้าหมายและวิธีการ ส่วน Kanri หมายถึงควบคุม ซึ่งถ้าแปลตรงตัวก็จะได้ความว่าเป้าหมายและวิธีการเป็นตัวควบคุมทุกสิ่งนั่นเอง หรืออีกนัยหนึ่งก็คือการใช้วิธีการที่เปลี่ยนระบบการทำงานเพื่อขึ้นไปสู่ระดับคุณภาพอีกขั้นหนึ่ง
โดย TQM ในทั้งส่วนทั้งสอง Generation นี้จะมี Quality Improvement Team เป็นผู้ดำเนินการโดยการใช้หลักการของ Quality Circles และ Task Items โดยเครื่องมือที่ใช้คือ PDCA และ 7 Basic Tools ซึ่งจะอธิบายถึงในภายหลัง
ต่อมาในช่วงทศวรรษ 1950 Deming และ Duran ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้บุกเบิกในเรื่องคุณภาพได้ถูกรับเชิญจากบริษัทในประเทศญี่ปุ่นซึ่งในขณะนั้นกำลังประสบปัญหาอย่างมากในเรื่องคุณภาพของสินค้า ซึ่งไม่ได้มาตรฐาน ถึงกับเป็นที่รู้กันว่าถ้าสินค้าผลิตในญี่ปุ่นจะเป็นสินค้าที่ไม่ได้คุณภาพ เนื่องจากในช่วงนั้นเป็นช่วงต่อจากสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งสหรัฐฯ นั้นประสบความสำเร็จอย่างสูงจากการดำเนินการผลิตสินค้าในช่วงสงครามโลก ส่วนประเทศญี่ปุ่นซึ่งแพ้สงครามก็กำลังประสบปัญหาอย่างหนัก ดังนั้นผู้เชี่ยวชาญทั้งสองจึงได้ถูกรับเชิญให้เข้าไปสอนผู้บริหารของบริษัทต่างๆ ในประเทศญี่ปุ่น
หลังจากนั้นหลักการของ TQM ก็ได้ถูกพัฒนาและใช้กันอย่างแพร่หลายในประเทศญี่ปุ่น ตั้งแต่ช่วงปีทศวรรษที่ 1950-1970 ซึ่งถือเป็น TQM รุ่นแรก (ภายหลังถูกพัฒนาขึ้นมาอีกหลายรุ่น) จากที่สินค้าตีตราประเทศญี่ปุ่นนั้นจะถือเป็นสินค้าที่ไม่มีคุณภาพ กลายเป็นสินค้าที่เป็นที่ต้องการของตลาดและถือว่าถ้าผลิตในประเทศญี่ปุ่นจะเป็นสินค้าชั้นหนึ่ง จากนั้นประเทศสหรัฐอเมริกาจึงได้เล็งเห็นความสำคัญของ TQM และเริ่มกลับมาสนใจในเรื่องการปรับปรุงคุณภาพอย่างต่อเนื่องอีกครั้งหนึ่งในปี 1980 ส่วนในประเทศไทยเองนั้นเริ่มมีการพูดถึงหลักการดังกล่าวตั้งแต่ราวๆ ปี 1985
องค์ประกอบหลักของ TQM
TQM สามารถแบ่งออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ๆ คือ ส่วนที่เป็น First Generation Quality และส่วนที่เป็น Second Generation Quality ซึ่งในแบบแรกหรือ First Generation จะเน้นที่การควบคุมการทำงานในแต่ละวันอย่างต่อเนื่อง โดยการปรับปรุงกระบวนการทำงานที่ต้องประสบอยู่ทุกวัน ยกตัวอย่างเช่น ในการเรียนการสอนต่างๆ ถ้าอาจารย์มีความจำเป็นที่จะต้องใช้ White Board และปากกาสำหรับ White Board, แปรงลบกระดาน หรือใช้เครื่องฉายแผ่นใส แต่ถ้าพบว่าเกือบทุกครั้งที่ไปสอนนั้นไม่มีอุปกรณ์เหล่านี้ประจำอยู่ในห้องเรียน ทำให้ต้องไปนำอุปกรณ์มาจากห้องอื่นทุกครั้ง ไม่ว่าจะเป็นด้วยเหตุผลใดก็ตาม ถ้าสามารถจัดอุปกรณ์เสริมเหล่านี้ได้ โดยที่ผู้สอนไม่จำเป็นจะต้องไปนำอุปกรณ์เหล่านี้มาจากที่อื่นทุกครั้ง จะถือเป็นการปรับปรุงในหลักการของ First Generation Quality ตัวอย่างอื่นๆ เช่น จำนวนเก้าอี้ในห้องไม่เพียงพอต่อนักศึกษา ในกรณีนี้นักศึกษาจะต้องไปนำเก้าอี้มาจากห้องอื่นทุกครั้ง เป็นการรบกวนการเรียนของนักศึกษาและรบกวนการสอนของอาจารย์ ทำให้เริ่มเรียนได้ช้าและไม่มีสมาธิ ดังนั้นหากแก้ไขในเรื่องเหล่านี้ได้ ก็จะถือเป็นการปรับปรุงคุณภาพในแบบ First Generation เช่นกัน
สำหรับ Second Generation Quality นั้นมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า Hoshin Kanri ซึ่งได้รับการพัฒนาในประเทศญี่ปุ่น โดย Hoshin หมายถึง เป้าหมายและวิธีการ ส่วน Kanri หมายถึงควบคุม ซึ่งถ้าแปลตรงตัวก็จะได้ความว่าเป้าหมายและวิธีการเป็นตัวควบคุมทุกสิ่งนั่นเอง หรืออีกนัยหนึ่งก็คือการใช้วิธีการที่เปลี่ยนระบบการทำงานเพื่อขึ้นไปสู่ระดับคุณภาพอีกขั้นหนึ่ง
โดย TQM ในทั้งส่วนทั้งสอง Generation นี้จะมี Quality Improvement Team เป็นผู้ดำเนินการโดยการใช้หลักการของ Quality Circles และ Task Items โดยเครื่องมือที่ใช้คือ PDCA และ 7 Basic Tools ซึ่งจะอธิบายถึงในภายหลัง
31 ต.ค. 2550
COMMUNICATION TECHNIQUE
การสื่อสารภายในองค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นองค์ประกอบที่สำคัญของการบริหารงานอย่างมีประสิทธิภาพ แต่กลับเป็นสิ่งที่ผู้บริหารหลายคนละเลย จนก่อให้เกิดปัญหาภายในองค์กร โดยเฉพาะผู้บริหารระดับกลางส่วนใหญ่มักจะขาดทักษะทางด้านนี้ ทำให้หลายคนไทม่สามารถก้าวหน้าในหน้าที่การงานได้มากเท่าที่ควร ทั้งที่จริงเป็นคนมีความสามารถสูง
วันนี้จะลองให้เกร็ดความรู้เกี่ยวกับเทคนิคการสื่อสารที่มีคุณภาพ ซึ่งสามารถนำไปปรับใช้ได้ในทุกองค์กร
C Clear ชัดเจน แจ่มแจ้ง ประจักษ์ชัด
O Objective วัตถุประสงค์ จุดมุ่งหมาย
M Message design การออกแบบสาร(เนื้อหา-สาระ)
M Multi channel หลายช่องทาง
U Understanding check ตรวจสอบความเข้าใจ
N Nonformal&Formal ไม่เป็นทางการและเป็นทางการ
I Identify Audience วิเคราะห์ผู้รับสาร
C Cool & Comfort สะดวกสบาย
A Associate เกี่ยวข้องกับเชื่อมโยงกันได้
T Two ways Communication สื่อสาร 2 ทางไป-กลับ
I Interaction มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน
O Obstruction อุปสรรค
N Notation มีการจดบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร
วันนี้จะลองให้เกร็ดความรู้เกี่ยวกับเทคนิคการสื่อสารที่มีคุณภาพ ซึ่งสามารถนำไปปรับใช้ได้ในทุกองค์กร
C Clear ชัดเจน แจ่มแจ้ง ประจักษ์ชัด
O Objective วัตถุประสงค์ จุดมุ่งหมาย
M Message design การออกแบบสาร(เนื้อหา-สาระ)
M Multi channel หลายช่องทาง
U Understanding check ตรวจสอบความเข้าใจ
N Nonformal&Formal ไม่เป็นทางการและเป็นทางการ
I Identify Audience วิเคราะห์ผู้รับสาร
C Cool & Comfort สะดวกสบาย
A Associate เกี่ยวข้องกับเชื่อมโยงกันได้
T Two ways Communication สื่อสาร 2 ทางไป-กลับ
I Interaction มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน
O Obstruction อุปสรรค
N Notation มีการจดบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร
22 ต.ค. 2550
การสอนงาน
คือ การที่ผู้บังคับบัญชาสอนงานผู้ใต้บังคับบัญชา ได้เรียนรู้ว่างานที่ตนได้รับมอบหมายนั้นมีวัตถุประสงค์อย่างไร มีวิธีปฏิบัติอย่างไรจึงจะบรรลุวัตถุประสงค์นั้นอย่างมีประสิทธิภาพ
การสอนงานเป็นการกระทำของผู้บังคับบัญชาที่มุ่งหวัง จะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้ใต้บังคับบัญชาจากการทำงาน ไม่เป็น หรือไม่ชำนาญ มาเป็น...ผู้ทำงานเป็นและชำนาญยิ่งขึ้น
เมื่อไรจึงจะเริ่มการสอนงาน?
เมื่อผู้ปฏิบัติงานขาดทักษะ ความรู้ ทำงานไม่ได้ผล
เมื่อมีการเปลี่ยนงาน วิธีทำงานหรือเทคโนโลยีใหม่ ๆ
เมื่อทำงานผิดพลาด
เมื่อได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่ใหม่เพิ่มขึ้น
เมื่อมีกฎ ระเบียบ หรือข้อบังคับใหม่ๆ
การพูดเพื่อฝึกลูกน้อง
1. อธิบายอย่างละเอียดและตั้งใจ
2. ทำให้ดูเป็นตัวอย่าง
3. ให้ลูกน้องลองทำด้วยมือตนเอง
4. เฝ้าดูและจัดผลงาน
5. แลกเปลี่ยนคำถาม-คำตอบกัน
การสอนงานเป็นการกระทำของผู้บังคับบัญชาที่มุ่งหวัง จะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้ใต้บังคับบัญชาจากการทำงาน ไม่เป็น หรือไม่ชำนาญ มาเป็น...ผู้ทำงานเป็นและชำนาญยิ่งขึ้น
เมื่อไรจึงจะเริ่มการสอนงาน?
เมื่อผู้ปฏิบัติงานขาดทักษะ ความรู้ ทำงานไม่ได้ผล
เมื่อมีการเปลี่ยนงาน วิธีทำงานหรือเทคโนโลยีใหม่ ๆ
เมื่อทำงานผิดพลาด
เมื่อได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่ใหม่เพิ่มขึ้น
เมื่อมีกฎ ระเบียบ หรือข้อบังคับใหม่ๆ
การพูดเพื่อฝึกลูกน้อง
1. อธิบายอย่างละเอียดและตั้งใจ
2. ทำให้ดูเป็นตัวอย่าง
3. ให้ลูกน้องลองทำด้วยมือตนเอง
4. เฝ้าดูและจัดผลงาน
5. แลกเปลี่ยนคำถาม-คำตอบกัน
15 ต.ค. 2550
ทักษะในการสั่งงาน
การสั่งงานเป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่ง ที่จะทำให้ผู้ปฏิบัติงานทราบและเข้าใจงาน ทำให้ช่วยปฏิบัติงานตามที่ได้รับมอบได้
การสั่งงานคือ การที่ผู้บังคับบัญชามอบหมายงานให้ผู้ใต้บังคับบัญชาทราบว่าจะต้องทำอะไรบ้าง ทำคุณภาพแค่ไหน ทำเมื่อใด และทำอย่างไร
ประเภทของการสั่งงาน
1. การสั่งงานโดยการบังคับ
2. การสั่งงานโดยการขอร้อง
3. การสั่งงานแบบเสนอแนะ
4. การสั่งงานแบบขอความสมัครใจ
ลักษณะของการออกคำสั่งที่ดี
. สั่งงานให้เหมาะกับบุคคล
. สั่งให้ละเอียด สมบูรณ์ เข้าใจง่าย กระทัดรัด มีเป้าหมาย
. สั่งให้ถูกต้องตามข้อเท็จจริง ไม่ขัดแย้ง
. คำสั่งควรกระตุ้นให้ผู้ปฏิบัติงานอยากทำ
. ยินดีตอบข้อซักถามจากผู้ปฏิบัติ
. ทบทวนคำสั่งเดิม
. ร่วมรับผิดชอบต่อผลงานด้วย
. ขณะสั่งงานควรแสดงอากัปกริยาที่ดี
การสั่งงานคือ การที่ผู้บังคับบัญชามอบหมายงานให้ผู้ใต้บังคับบัญชาทราบว่าจะต้องทำอะไรบ้าง ทำคุณภาพแค่ไหน ทำเมื่อใด และทำอย่างไร
ประเภทของการสั่งงาน
1. การสั่งงานโดยการบังคับ
2. การสั่งงานโดยการขอร้อง
3. การสั่งงานแบบเสนอแนะ
4. การสั่งงานแบบขอความสมัครใจ
ลักษณะของการออกคำสั่งที่ดี
. สั่งงานให้เหมาะกับบุคคล
. สั่งให้ละเอียด สมบูรณ์ เข้าใจง่าย กระทัดรัด มีเป้าหมาย
. สั่งให้ถูกต้องตามข้อเท็จจริง ไม่ขัดแย้ง
. คำสั่งควรกระตุ้นให้ผู้ปฏิบัติงานอยากทำ
. ยินดีตอบข้อซักถามจากผู้ปฏิบัติ
. ทบทวนคำสั่งเดิม
. ร่วมรับผิดชอบต่อผลงานด้วย
. ขณะสั่งงานควรแสดงอากัปกริยาที่ดี
12 ต.ค. 2550
เราจะบริหารความเสี่ยงของธุรกิจบริการได้อย่างไร?
การจะสร้างธุรกิจให้ประสบความสำเร็จเป็นสิ่งที่ยาก เนื่องจากการดำเนินธุรกิจในภาวะปัจจุบัน มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว นำมาซึ่งความเสี่ยงทางธุรกิจ จำเป็นอย่างยิ่งที่องค์กรจะต้องสามารถบริหารความเสี่ยงดังกล่าวให้ได้ หากต้องการที่จะให้องค์กรสามารถประสบความสำเร็จอย่งยั่งยืน
เราจะบริหารความเสี่ยงของธุรกิจบริการได้อย่างไร?
1. กำหนดลูกค้ากลุ่มเป้าหมายให้ชัดเจน
2. สร้างความแตกต่างของสินค้า หรือการบริการ ซึ่งจะทำให้คู่แข่งไม่สามารถทดแทนสินค้าของเราได้
3. พัฒนาสินค้าให้มีความหลากหลาย เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าเฉพาะกลุ่ม
4. ลดสัดส่วนของต้นทุนคงที่ เมื่อเปรียบเทียบกับต้นทุนผันแปร ให้ได้มากที่สุด เท่าที่จะเป็นไปได้
5. สร้างกลุ่มลูกค้าประจำ “แฟนพันธุ์แท้” ให้ได้มากที่สุด อาทิ การจัดทำระบบสมาชิก การจัดให้มีทีมลูกค้าสัมพันธ์
6. การกระจายกลุ่มลูกค้าให้มีความหลากหลายมากที่สุด เพื่อลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของลูกค้าบางกลุ่ม
เราจะบริหารความเสี่ยงของธุรกิจบริการได้อย่างไร?
1. กำหนดลูกค้ากลุ่มเป้าหมายให้ชัดเจน
2. สร้างความแตกต่างของสินค้า หรือการบริการ ซึ่งจะทำให้คู่แข่งไม่สามารถทดแทนสินค้าของเราได้
3. พัฒนาสินค้าให้มีความหลากหลาย เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าเฉพาะกลุ่ม
4. ลดสัดส่วนของต้นทุนคงที่ เมื่อเปรียบเทียบกับต้นทุนผันแปร ให้ได้มากที่สุด เท่าที่จะเป็นไปได้
5. สร้างกลุ่มลูกค้าประจำ “แฟนพันธุ์แท้” ให้ได้มากที่สุด อาทิ การจัดทำระบบสมาชิก การจัดให้มีทีมลูกค้าสัมพันธ์
6. การกระจายกลุ่มลูกค้าให้มีความหลากหลายมากที่สุด เพื่อลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของลูกค้าบางกลุ่ม
11 ต.ค. 2550
ทำอย่างไร "ธุรกิจบริการ" จึงจะประสบความสำเร็จ อย่างยั่งยืน?
การพัฒนาของระบบเศรษฐกิจของแต่ละประเทศ จะต้องมีการพัฒนาตามพื้นฐานความได้เปรียบเทียบเชิงเปรียบเทียบของประเทศนั้น ซึ่งในอนาคตอันใกล้นี้ ประเทศไทยจำเป็นต้องเข้าสู่อุตสาหกรรมการบริการมากยิ่งขึ้น เนื่องจาก "การบริการ" ถือเป็นข้อได้เปรียบเพียงอย่างเดียวของประเทศไทย ที่จะสามารถแข่งขันกับต่างประเทศได้ วันนี้จึงอยากจะเสนอในเรื่องของการทำให้ธุรกิจ ประสบความสำเร็จอย่างยั่งยืน ซึ่งเป็นบทความต่อเนื่องจากบทความที่ผ่านมา
ทำอย่างไรธุรกิจบริการจึงจะประสบความสำเร็จอย่างยั่งยืน?
1. การให้บริการที่ตอบสนองความต้องการของลูกค้า
2. การให้บริการที่เหนือกว่าความคาดหวังของลูกค้า
3. การบริการที่มีมาตรฐาน ตามที่ผู้ประกอบการกำหนด
4. การบริการที่มีคุณภาพ ตามความรู้สึกของลูกค้า
การให้บริการที่เหนือกว่าความคาดหวังของลูกค้าทำอย่างไร?
1. ศึกษาความคาดหวังของลูกค้าแต่ละกลุ่มในการเข้ามาใช้บริการ และให้บริการแตกต่างกันตามลักษณะของลูกค้า (differentiate service by customer’s life style)
2. อบรมให้พนักงานเข้าใจถึงความสำคัญของลูกค้า และมีทัศนคติที่ดีต่อลูกค้า
3. การสร้างจิตใจให้รักงานบริการ (Service Mind
4. พัฒนาสินค้า และบริการอย่างสม่ำเสมอ เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงไป
การบริการที่มีมาตรฐาน ตามที่ผู้ประกอบการกำหนด ทำได้อย่างไร?
1. กำหนดขั้นตอนการให้บริการที่ชัดเจน (Service sequence) ของพนักงานแต่ละตำแหน่ง
2. กำหนดมาตรฐานในการให้บริการแต่ละขั้นตอน (Standard service)
3. กำหนด Standard Checklist เพื่อเตรียมการก่อนให้บริการลูกค้า
4. การทดสอบมาตรฐานการให้บริการ (Standard service evaluation) อย่างสม่ำเสมอ
การบริการที่มีคุณภาพ ตามความรู้สึกของลูกค้า?
1. การประเมินผลคุณภาพการบริการ (Service evaluation) จากแบบสอบถามความคิดเห็นของลูกค้า
2. การปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพการบริการอย่างต่อเนื่อง ตามคำเสนอแนะของลูกค้า
ทำอย่างไรธุรกิจบริการจึงจะประสบความสำเร็จอย่างยั่งยืน?
1. การให้บริการที่ตอบสนองความต้องการของลูกค้า
2. การให้บริการที่เหนือกว่าความคาดหวังของลูกค้า
3. การบริการที่มีมาตรฐาน ตามที่ผู้ประกอบการกำหนด
4. การบริการที่มีคุณภาพ ตามความรู้สึกของลูกค้า
การให้บริการที่เหนือกว่าความคาดหวังของลูกค้าทำอย่างไร?
1. ศึกษาความคาดหวังของลูกค้าแต่ละกลุ่มในการเข้ามาใช้บริการ และให้บริการแตกต่างกันตามลักษณะของลูกค้า (differentiate service by customer’s life style)
2. อบรมให้พนักงานเข้าใจถึงความสำคัญของลูกค้า และมีทัศนคติที่ดีต่อลูกค้า
3. การสร้างจิตใจให้รักงานบริการ (Service Mind
4. พัฒนาสินค้า และบริการอย่างสม่ำเสมอ เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงไป
การบริการที่มีมาตรฐาน ตามที่ผู้ประกอบการกำหนด ทำได้อย่างไร?
1. กำหนดขั้นตอนการให้บริการที่ชัดเจน (Service sequence) ของพนักงานแต่ละตำแหน่ง
2. กำหนดมาตรฐานในการให้บริการแต่ละขั้นตอน (Standard service)
3. กำหนด Standard Checklist เพื่อเตรียมการก่อนให้บริการลูกค้า
4. การทดสอบมาตรฐานการให้บริการ (Standard service evaluation) อย่างสม่ำเสมอ
การบริการที่มีคุณภาพ ตามความรู้สึกของลูกค้า?
1. การประเมินผลคุณภาพการบริการ (Service evaluation) จากแบบสอบถามความคิดเห็นของลูกค้า
2. การปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพการบริการอย่างต่อเนื่อง ตามคำเสนอแนะของลูกค้า
10 ต.ค. 2550
การวิเคราะห์ความต้องการของลูกค้า
การประกอบธุรกิจ สิ่งที่เป็นปัจจัยสำคัญในการประสบความสำเร็จของธุรกิจ คือ "ลูกค้า" บทความชุดนี้ จะรวบรวมเรื่องเกี่ยวกับ "เทคนิคการบริหารความต้องการของลูกค้า" ซึ่งเมื่อเราสามารถบริหารความต้องการของลูกค้าได้แล้ว โอกาสที่องค์กรจะประสบผลสำเร็จย่อมมีมากขึ้น ตอนแรก เราจะพูดถึงเรื่อง "การวิเคราะห์ความต้องการของลูกค้า"
ทำไมเราต้องทราบความต้องการของลูกค้า?
1. เพื่อสร้างสรรค์การบริการที่ตอบสนองความต้องของลูกค้า
2. เพื่อสร้างความพึงพอใจ และความประทับใจในการใช้บริการให้กับลูกค้า
3. ลูกค้าที่ประทับใจ จะช่วยประชาสัมพันธ์ให้ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย และเป็นการประชาสัมพันธ์ที่กลุ่มเป้าหมายเชื่อถือมากที่สุด
4. ลูกค้าที่ประทับใจ จะกลับมาใช้บริการซ้ำเรื่อยๆ ช่วยสร้างรายได้ให้กับผู้ประกอบการอย่างยั่งยืน
เราจะทราบความต้องการของลูกค้าได้อย่างไร?
1. สำรวจความต้องการของลูกค้า ก่อนเริ่มดำเนินกิจการ เพื่อเตรียมการบริการที่จะตอบสนองความต้องการของลูกค้าอย่างแท้จริง
2. แบบสอบถามความคิดเห็นของลูกค้าในการใช้บริการ เพื่อปรับปรุงการบริการให้ตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่มีโอกาสเปลี่ยนแปลง และควบคุมคุณภาพของการบริการให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานอย่างต่อเนื่อง
3. การสร้างฐานข้อมูลของลูกค้า เพื่อการรักษาความสัมพันธ์กับลูกค้าอย่างต่อเนื่อง หลังจากการใช้บริการ และรับทราบข้อเสนอแนะ ซึ่งสามารถนำมาพัฒนาการบริการที่ตอบสนองความต้องการที่แท้จริง
ทำไมเราต้องทราบความต้องการของลูกค้า?
1. เพื่อสร้างสรรค์การบริการที่ตอบสนองความต้องของลูกค้า
2. เพื่อสร้างความพึงพอใจ และความประทับใจในการใช้บริการให้กับลูกค้า
3. ลูกค้าที่ประทับใจ จะช่วยประชาสัมพันธ์ให้ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย และเป็นการประชาสัมพันธ์ที่กลุ่มเป้าหมายเชื่อถือมากที่สุด
4. ลูกค้าที่ประทับใจ จะกลับมาใช้บริการซ้ำเรื่อยๆ ช่วยสร้างรายได้ให้กับผู้ประกอบการอย่างยั่งยืน
เราจะทราบความต้องการของลูกค้าได้อย่างไร?
1. สำรวจความต้องการของลูกค้า ก่อนเริ่มดำเนินกิจการ เพื่อเตรียมการบริการที่จะตอบสนองความต้องการของลูกค้าอย่างแท้จริง
2. แบบสอบถามความคิดเห็นของลูกค้าในการใช้บริการ เพื่อปรับปรุงการบริการให้ตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่มีโอกาสเปลี่ยนแปลง และควบคุมคุณภาพของการบริการให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานอย่างต่อเนื่อง
3. การสร้างฐานข้อมูลของลูกค้า เพื่อการรักษาความสัมพันธ์กับลูกค้าอย่างต่อเนื่อง หลังจากการใช้บริการ และรับทราบข้อเสนอแนะ ซึ่งสามารถนำมาพัฒนาการบริการที่ตอบสนองความต้องการที่แท้จริง
9 ต.ค. 2550
ศีล 10 ข้อสำหรับการสัมภาษณ์
วันนี้ขอเสนอ ศีล 10 ข้อที่ หัวหน้างานควรประพฤติและปฏิบัติ ในการสัมภาษณ์พนักงานใหม่
1. ละเว้นจากอดีตทั้งหลาย
2. ละเว้นจากการสร้างบรรยากาศที่ขุ่นมัว
3. ละเว้นในการถามในเรื่องที่รู้อยู่แล้ว
4. ละเว้นในการโต้เถียงกับผู้ถูกสัมภาษณ์
5. ละเว้นการยั่วเย้า
6. ละเว้นจากการใช้คำถามหลอกล่อ
7. ละเว้นจากการทำนายล่วงหน้า ทั้งในแง่ดีและแง่ร้าย
8. ละเว้นในจากการให้สัญญาที่เลื่อนลอยหรือผูกมัดตัวเอง
9. ละเว้นจากการประพฤติผิดศีล 5
10. ละเว้นจากการด่วนตัดสินใจ หรือสรุปอย่างง่ายๆ
1. ละเว้นจากอดีตทั้งหลาย
2. ละเว้นจากการสร้างบรรยากาศที่ขุ่นมัว
3. ละเว้นในการถามในเรื่องที่รู้อยู่แล้ว
4. ละเว้นในการโต้เถียงกับผู้ถูกสัมภาษณ์
5. ละเว้นการยั่วเย้า
6. ละเว้นจากการใช้คำถามหลอกล่อ
7. ละเว้นจากการทำนายล่วงหน้า ทั้งในแง่ดีและแง่ร้าย
8. ละเว้นในจากการให้สัญญาที่เลื่อนลอยหรือผูกมัดตัวเอง
9. ละเว้นจากการประพฤติผิดศีล 5
10. ละเว้นจากการด่วนตัดสินใจ หรือสรุปอย่างง่ายๆ
8 ต.ค. 2550
บัญญัติ 10 ประการในการสัมภาษณ์งาน
การสรรหาพนักงานให้เหมาะสมกับตำแหน่งงาน เป็นเรื่องที่มีความสำคัญ และจะส่งผลถึงความสำเร็จขององค์กรในอนาคต วันนี้ผมเลยอยากยก "บัญญัติ 10 ประการในการสัมภาษณ์งาน" มาให้ลองปรับใช้กับองค์กรของทุกท่านครับ
"บัญญัติ 10 ประการในการสัมภาษณ์งาน"
1. กำหนดจุดมุ่งหมายให้ชัดเจน
2. ศึกษาคำถามทั้งหมดให้เข้าใจ
3. ศึกษาประวัติของผู้สมัครล่วงหน้า
4. ให้ความสนใจต่อผู้ถูกสัมภาษณ์อย่างจริงจัง ให้ความเป็นมิตรและเป็นกันเอง
5. สร้างบรรยากาศแห่งความสงบ-สะดวก-สบาย
6. ถามทีละคำถาม และเป็นคำถามที่ชัดเจน อย่าถามนำ
7. ทำให้ศึกษาคำถามทั้งหมดให้เข้าใจ
8. ให้เวลาในการตอบอย่างเหมาะสม เปิดโอกาสให้ได้คิดบ้างพอสมควร
9. เปิดโอกาสให้ผู้ถูกสัมภาษณ์ซักถาม
10. ตั้งมั่นอยู่บนความบริสุทธิ์ยุติธรรม
พรุ่งนี้ จะมีแนวทางในการสัมภาษณ์งานเพิ่มเติม อย่าพลาดครับ
"บัญญัติ 10 ประการในการสัมภาษณ์งาน"
1. กำหนดจุดมุ่งหมายให้ชัดเจน
2. ศึกษาคำถามทั้งหมดให้เข้าใจ
3. ศึกษาประวัติของผู้สมัครล่วงหน้า
4. ให้ความสนใจต่อผู้ถูกสัมภาษณ์อย่างจริงจัง ให้ความเป็นมิตรและเป็นกันเอง
5. สร้างบรรยากาศแห่งความสงบ-สะดวก-สบาย
6. ถามทีละคำถาม และเป็นคำถามที่ชัดเจน อย่าถามนำ
7. ทำให้ศึกษาคำถามทั้งหมดให้เข้าใจ
8. ให้เวลาในการตอบอย่างเหมาะสม เปิดโอกาสให้ได้คิดบ้างพอสมควร
9. เปิดโอกาสให้ผู้ถูกสัมภาษณ์ซักถาม
10. ตั้งมั่นอยู่บนความบริสุทธิ์ยุติธรรม
พรุ่งนี้ จะมีแนวทางในการสัมภาษณ์งานเพิ่มเติม อย่าพลาดครับ
6 ต.ค. 2550
Motivation Techniques
แรงจูงใจ หมายถึงพลังจิตที่อยู่ในตัวบุคคลแต่ละคน ซึ่งทำหน้าที่เร้าให้บุคคลนั้นๆกระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งออกมา พลังจิตนี่เกิดจากการกระตุ้นหรือสิ่งเร้าต่างๆ ภายในร่างกายหรือภายนอกร่างกาย
วิธีการสร้างแรงจูงใจประกอบด้วย
1. การชมเชย
2. การยกย่องให้เกียรติและให้การยอมรับ
3. การให้ความเป็นมิตร
4. การให้ความเป็นธรรม
5. การให้ร่วมคิด
6. การร่วมทำงาน
7. การจัดงานให้เหมาะสมกับคน
8. การมีอุปกรณ์ที่เอื้ออำนวยต่อการทำงาน
9. การสร้างบรรยากาศในการทำงาน
10. การให้รางวัล
11. การทดสอบ
ที่กล่าวไปทั้ง 11 ข้อเป็นเพียงส่วนหนึ่งในการสร้างแรงจูงใจ ซึ่งจะต้องมีการกระทำอย่างอื่น ควบคู่กันไปด้วยเพื่อสร้างแรงจูงใจในการทำงาน
วิธีการสร้างแรงจูงใจประกอบด้วย
1. การชมเชย
2. การยกย่องให้เกียรติและให้การยอมรับ
3. การให้ความเป็นมิตร
4. การให้ความเป็นธรรม
5. การให้ร่วมคิด
6. การร่วมทำงาน
7. การจัดงานให้เหมาะสมกับคน
8. การมีอุปกรณ์ที่เอื้ออำนวยต่อการทำงาน
9. การสร้างบรรยากาศในการทำงาน
10. การให้รางวัล
11. การทดสอบ
ที่กล่าวไปทั้ง 11 ข้อเป็นเพียงส่วนหนึ่งในการสร้างแรงจูงใจ ซึ่งจะต้องมีการกระทำอย่างอื่น ควบคู่กันไปด้วยเพื่อสร้างแรงจูงใจในการทำงาน
5 ต.ค. 2550
ประสบการณ์ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นภายในกลุ่ม
วันนี้ ผมจะลองยกตัวอย่างการแก้ปัญหาความขัดแย้ง โดยใช้วิธีการชนะทั้งคู่ เพื่อเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งที่ท่านอาจจะประสบในอนาคตต่อไป
เพื่อนสองคนเกิดความขัดแย้งภายในกลุ่ม โดยได้มีงานกลุ่มงานหนึ่งที่ต้องทำร่วมกันเป็นกลุ่มประมาณ 7 คน และต้องมีการนำเสนอหน้าชั้นเรียน แดงต้องการให้ทำ Power Point ประกอบการนำเสนอ เพื่อให้ผลงานออกมาดีที่สุด แต่ดำเสนอความคิดเห็นว่าทำเป็นเพียงรูปเล่มรายงานก็น่าจะเพียงพอแล้ว โดยได้ให้เหตุผลว่า ระยะเวลาในการทำค่อนข้างมีจำกัด และมีงานอย่างอื่นที่ต้องทำอีกมาก อาจจะทำเสร็จไม่ทันตามวันเวลาที่กำหนดไว้ก็ได้ ทั้งสองโต้แย้งและต่างแสดงเหตุผลของตน สมาชิกในกลุ่มก็มีทั้งฝ่ายที่เห็นด้วยกับแดง และเห็นด้วยกับดำ เวลาผ่านไปนานพอสมควรก็ยังตกลงกันไม่ได้ ในที่สุดได้มีสมาชิกในกลุ่มคนหนึ่งได้เสนอการแก้ปัญหา โดยกล่าวว่า ให้ทำงานเป็นรูปเล่มรายงาน และทำเป็น Power Point ด้วย โดยแบ่งงานกันทำตามความถนัดและความสามารถของแต่ละบุคคล ในการทำงานนั้น อาจจะต้องใช้เวลามากขึ้น แต่ก็เชื่อว่าถ้าสมาชิกในกลุ่มให้ความร่วมมือกัน มีความตั้งใจที่จะทำงานอย่างเต็มที่ งานก็คงจะสำเร็จทันเวลาแน่นอน และได้ซักถามความคิดเห็นของสมาชิกในกลุ่มว่าเห็นด้วยหรือไม่ อย่างไร ซึ่งสมาชิกส่วนใหญ่ก็เห็นด้วยกับข้อเสนอนี้ ถึงแม้จะมีสมาชิกบางคนที่ยังไม่ค่อยพอใจและไม่เห็นด้วย แต่ก็ยอมรับในมติข้อตกลงของคนส่วนใหญ่ จากนั้นก็แยกย้ายกันไปทำงานตามที่ได้รับมอบหมาย สุดท้ายงานก็สำเร็จทันเวลา
แนวทางการแก้ไขปัญหา
1. ประชุมกลุ่ม เพื่อให้สมาชิกในกลุ่มได้แสดงความคิดเห็นออกมาอย่างหลากหลาย และ รับฟังความคิดเห็นของสมาชิกทุกคนภายในกลุ่ม เพราะการตัดสินใจของกลุ่มจะเกิดประสิทธิผลมากที่สุด
2. มีการเลือกหัวหน้ากลุ่มที่มีความเหมาะสม คือ สามารถไกล่เกลี่ยปัญหาที่เกิดได้ และรับฟังความคิดเห็นของสมาชิกทุกคนภายในกลุ่ม มีความเป็นผู้นำ
3. การประนีประนอม มีการโอนอ่อนผ่อนตาม ไม่สร้างความขัดแย้งให้ขยายกว้างไปมากกว่าเดิม
4. สมาชิกในกลุ่มต้องมีการแก้ปัญหาร่วมกัน โดยให้เพื่อนทั้งสองคนที่มีความคิดเห็นขัดแย้งกันได้คุยกัน เพื่อสร้างความเข้าใจ และหาข้อยุติที่เหมาะสม
5. ให้กำลังใจและมีการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน โดยเมื่อเกิดปัญหาขึ้น ควรช่วยกันแสดงความคิดเห็นเพื่อขจัดปัญหา ไม่ยัดเยียดปัญหาให้ใครคนใดคนหนึ่งเป็นคนคอยแก้ไข เมื่อเกิดความขัดแย้งก็ต้องร่วมกันหาทางแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น และที่สำคัญต้องยอมรับฟังความคิดเห็นของสมาชิกทุกคนในกลุ่มด้วย
วิธีการแก้ปัญหาของกลุ่มนี้ใช้วิธี คือทั้งสองฝ่ายเป็นผู้ชนะ (Win-Win methods) สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ได้ตามที่ทั้งสองฝ่ายต้องการ มีการแก้ไขปัญหาร่วมกัน (Integrative problem solving)
เพื่อนสองคนเกิดความขัดแย้งภายในกลุ่ม โดยได้มีงานกลุ่มงานหนึ่งที่ต้องทำร่วมกันเป็นกลุ่มประมาณ 7 คน และต้องมีการนำเสนอหน้าชั้นเรียน แดงต้องการให้ทำ Power Point ประกอบการนำเสนอ เพื่อให้ผลงานออกมาดีที่สุด แต่ดำเสนอความคิดเห็นว่าทำเป็นเพียงรูปเล่มรายงานก็น่าจะเพียงพอแล้ว โดยได้ให้เหตุผลว่า ระยะเวลาในการทำค่อนข้างมีจำกัด และมีงานอย่างอื่นที่ต้องทำอีกมาก อาจจะทำเสร็จไม่ทันตามวันเวลาที่กำหนดไว้ก็ได้ ทั้งสองโต้แย้งและต่างแสดงเหตุผลของตน สมาชิกในกลุ่มก็มีทั้งฝ่ายที่เห็นด้วยกับแดง และเห็นด้วยกับดำ เวลาผ่านไปนานพอสมควรก็ยังตกลงกันไม่ได้ ในที่สุดได้มีสมาชิกในกลุ่มคนหนึ่งได้เสนอการแก้ปัญหา โดยกล่าวว่า ให้ทำงานเป็นรูปเล่มรายงาน และทำเป็น Power Point ด้วย โดยแบ่งงานกันทำตามความถนัดและความสามารถของแต่ละบุคคล ในการทำงานนั้น อาจจะต้องใช้เวลามากขึ้น แต่ก็เชื่อว่าถ้าสมาชิกในกลุ่มให้ความร่วมมือกัน มีความตั้งใจที่จะทำงานอย่างเต็มที่ งานก็คงจะสำเร็จทันเวลาแน่นอน และได้ซักถามความคิดเห็นของสมาชิกในกลุ่มว่าเห็นด้วยหรือไม่ อย่างไร ซึ่งสมาชิกส่วนใหญ่ก็เห็นด้วยกับข้อเสนอนี้ ถึงแม้จะมีสมาชิกบางคนที่ยังไม่ค่อยพอใจและไม่เห็นด้วย แต่ก็ยอมรับในมติข้อตกลงของคนส่วนใหญ่ จากนั้นก็แยกย้ายกันไปทำงานตามที่ได้รับมอบหมาย สุดท้ายงานก็สำเร็จทันเวลา
แนวทางการแก้ไขปัญหา
1. ประชุมกลุ่ม เพื่อให้สมาชิกในกลุ่มได้แสดงความคิดเห็นออกมาอย่างหลากหลาย และ รับฟังความคิดเห็นของสมาชิกทุกคนภายในกลุ่ม เพราะการตัดสินใจของกลุ่มจะเกิดประสิทธิผลมากที่สุด
2. มีการเลือกหัวหน้ากลุ่มที่มีความเหมาะสม คือ สามารถไกล่เกลี่ยปัญหาที่เกิดได้ และรับฟังความคิดเห็นของสมาชิกทุกคนภายในกลุ่ม มีความเป็นผู้นำ
3. การประนีประนอม มีการโอนอ่อนผ่อนตาม ไม่สร้างความขัดแย้งให้ขยายกว้างไปมากกว่าเดิม
4. สมาชิกในกลุ่มต้องมีการแก้ปัญหาร่วมกัน โดยให้เพื่อนทั้งสองคนที่มีความคิดเห็นขัดแย้งกันได้คุยกัน เพื่อสร้างความเข้าใจ และหาข้อยุติที่เหมาะสม
5. ให้กำลังใจและมีการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน โดยเมื่อเกิดปัญหาขึ้น ควรช่วยกันแสดงความคิดเห็นเพื่อขจัดปัญหา ไม่ยัดเยียดปัญหาให้ใครคนใดคนหนึ่งเป็นคนคอยแก้ไข เมื่อเกิดความขัดแย้งก็ต้องร่วมกันหาทางแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น และที่สำคัญต้องยอมรับฟังความคิดเห็นของสมาชิกทุกคนในกลุ่มด้วย
วิธีการแก้ปัญหาของกลุ่มนี้ใช้วิธี คือทั้งสองฝ่ายเป็นผู้ชนะ (Win-Win methods) สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ได้ตามที่ทั้งสองฝ่ายต้องการ มีการแก้ไขปัญหาร่วมกัน (Integrative problem solving)
4 ต.ค. 2550
แนวคิด และทฤษฎีการบริหารความขัดแย้ง
ความขัดแย้งถือเป็นเรื่องปรกติของการอยู่ในสังคม ไม่ว่าสังคมจะเป็นสังคมครอบครัว สังคมเพื่อน สังคมการทำงาน ยิ่งสังคมมีขนาดใหญ่มากขึ้น ยิ่งมีโอกาสที่จะเกิดความขัดแย้งได้มากยิ่งขึ้น แต่ความขัดแย้งไม่ใช่สิ่งที่แย่เสมอไป วันนี้เรามาลองดูกันว่าจะสามารถใช้ความขัดแย้งให้เกิดประโยชน์ได้อย่างไร โดยพิจารณาจากทฤษฎีการบริหารความขัดแย้งภายในองค์กร
1. แนวคิดสมัยดั้งเดิม (Traditional View) ความขัดแย้งเป็นสิ่งไม่ดี หากหลีกเลี่ยงได้ควรหลีกเลี่ยง ผู้บริหารจะต้องกำจัดความขัดแย้งขององค์การ โดยการออกกฎระเบียบ กระบวนการที่เข้มงวด เพื่อที่จะทำให้ความขัดแย้งหมดไป
2. แนวคิดด้านมนุษย์สัมพันธ์ (Human Relations View) จะสนับสนุนการยอมรับความขัดแย้ง และความขัดแย้งอาจจะมีประโยชน์ต่อภายในองค์การได้บ้างในบางเวลา
3. แนวคิดสมัยใหม่ (Contemporary View) จะสนับสนุนความขัดแย้งบนรากฐานที่ว่า องค์การที่มีความสามัคคี ความสงบสุข ความเงียบสงบ และมีความร่วมมือ หากไม่ยอมรับปัญหาที่เกิดขึ้น จากความขัดแย้ง การให้ความร่วมมือแก่องค์การจะกลายเป็นความเฉื่อยชา อยู่เฉย และไม่ตอบสนองต่อความต้องการเพื่อการเปลี่ยนแปลงและการคิดค้นใหม่ๆ
Filley (1975) ได้เสนอกระบวนการของความขัดแย้ง โดยแบ่งออกเป็น 6 ขั้นตอน ดังนี้
1. สภาพก่อนเกิดความขัดแย้ง (Antecedent Condition of Conflict) เป็นลักษณะของสภาพการณ์ที่อาจปราศจากความขัดแย้ง แต่จะนำไปสู่การขัดแย้ง
2. ความขัดแย้งที่รับรู้ได้ (Perceived Conflict) เป็นการรับรู้จากสภาพการณ์ที่เกิดขึ้นของฝ่ายต่าง ๆ ว่ามีความขัดแย้งเกิดขึ้น
3. ความขัดแย้งที่รู้สึกได้ (Felt Conflict) โดยอาจมีความรู้สึกว่า ถูกคุกคาม ถูกเกลียดชัง กลัว หรือไม่ไว้วางใจ
4. พฤติกรรมที่ปรากฏชัด (Minifest Behavior) อาจแสดงความก้าวร้าว การแข่งขัน การโต้เถียงหรือการแก้ปัญหา
5. การแก้ปัญหาหรือระงับความขัดแย้ง (Conflict Resolution or Supervision วิธีการแก้ไขความขัดแย้งมี 4 วิธี ได้แก่
5.1 วิธีชนะ-แพ้ (Win-Lose Method)
5.2 วิธีแพ้ทั้งคู่ (Lose-Lose methods)
5.3 วิธีการที่ทั้งสองฝ่ายเป็นผู้ชนะ (Win-Win methods)
5.4 วิธีการแก้ไขปัญหาร่วมกัน หรือแบบชนะทั้งคู่ (Win-Win Method)
จอห์นสัน และจอห์นสัน (Johnson & Johnson, 1987: 273) มีแนวคิดว่าบุคคลแตกต่างกัน จึงใช้กลยุทธ์ในการจัดการความขัดแย้งโดยแต่ละคนมีรูปแบบการแก้ปัญหาเป็นของตน สามารถเปลี่ยนแปลงการเรียนรู้และหาวิธีการใหม่ ๆ ที่มีประสิทธิภาพในการจัดการความขัดแย้งในภาวะขัดแย้ง ประเด็นหลักที่ต้องใส่ใจ คือ การบรรลุวัตถุประสงค์ส่วนตัว เมื่ออยู่ในภาวะขัดแย้ง คนแต่ละคนจะมีวัตถุประสงค์ที่แตกต่างจากผู้อื่น และการรักษาสัมพันธภาพกับบุคคลอื่น
แบบพฤติกรรมในการจัดการความขัดแย้ง 5 แบบ คือ
1. ลักษณะแบบ "เต่า" (ถอนตัว, หดหัว) มีลักษณะหลีกหนีความขัดแย้ง ยอมละวัตถุประสงค์และความสัมพันธ์ส่วนตัว โดยการหลีกเลี่ยงไม่เผชิญกับคู่กรณี จะไม่ตัดสินใจอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อแก้ปัญหา
2. ลักษณะแบบ "ฉลาม" (บังคับ, ชอบใช้กำลัง) เป็นการแก้ปัญหาความขัดแย้งโดยใช้อำนาจตามตำแหน่ง คำนึงถึงเป้าหมายงานหรือความต้องการของตนเองมากกว่าความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน
3. ลักษณะแบบ "ตุ๊กตาหมี" (สัมพันธภาพราบรื่น) เชื่อว่าความขัดแย้งหลีกเลี่ยงได้เพื่อเห็นแก่ความกลมเกลียว ยอมยกเลิกเป้าหมาย เพื่อรักษาสัมพันธภาพอันดีไว้
4. ลักษณะแบบ "สุนัขจิ้งจอก" (ประนีประนอม, แก้ปัญหาเฉพาะหน้า) จะคำนึงถึงเป้าหมายส่วนตนและสัมพันธภาพกับบุคคลอื่นในระดับปานกลาง แสวงหาการประนีประนอม พร้อมและเต็มใจที่จะสละวัตถุประสงค์และสัมพันธภาพบางส่วนเพื่อหาข้อตกลงร่วมที่ดี
5. ลักษณะแบบ "นกฮูก" (เผชิญหน้ากัน, สุขุม) จะมองความขัดแย้งว่าเป็นปัญหาที่จะต้องแก้ไข ให้คุณค่าแก่เป้าหมายและสัมพันธภาพ สิ่งที่ต้องการคือการบรรลุเป้าหมายของตนเองและผู้อื่น
การแก้ปัญหาความขัดแย้งมีหลายวิธี ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ และบุคลิกของผู้ขัดแย้งว่าเป็นอย่างไร เราต้องเลือก้วิธีการแก้ปัญหาให้ถูกวิธีและพยายามทำให้ทุกคนเป็นผู้ชนะ องค์กรจึงจะประสบความสำเร็จ
1. แนวคิดสมัยดั้งเดิม (Traditional View) ความขัดแย้งเป็นสิ่งไม่ดี หากหลีกเลี่ยงได้ควรหลีกเลี่ยง ผู้บริหารจะต้องกำจัดความขัดแย้งขององค์การ โดยการออกกฎระเบียบ กระบวนการที่เข้มงวด เพื่อที่จะทำให้ความขัดแย้งหมดไป
2. แนวคิดด้านมนุษย์สัมพันธ์ (Human Relations View) จะสนับสนุนการยอมรับความขัดแย้ง และความขัดแย้งอาจจะมีประโยชน์ต่อภายในองค์การได้บ้างในบางเวลา
3. แนวคิดสมัยใหม่ (Contemporary View) จะสนับสนุนความขัดแย้งบนรากฐานที่ว่า องค์การที่มีความสามัคคี ความสงบสุข ความเงียบสงบ และมีความร่วมมือ หากไม่ยอมรับปัญหาที่เกิดขึ้น จากความขัดแย้ง การให้ความร่วมมือแก่องค์การจะกลายเป็นความเฉื่อยชา อยู่เฉย และไม่ตอบสนองต่อความต้องการเพื่อการเปลี่ยนแปลงและการคิดค้นใหม่ๆ
Filley (1975) ได้เสนอกระบวนการของความขัดแย้ง โดยแบ่งออกเป็น 6 ขั้นตอน ดังนี้
1. สภาพก่อนเกิดความขัดแย้ง (Antecedent Condition of Conflict) เป็นลักษณะของสภาพการณ์ที่อาจปราศจากความขัดแย้ง แต่จะนำไปสู่การขัดแย้ง
2. ความขัดแย้งที่รับรู้ได้ (Perceived Conflict) เป็นการรับรู้จากสภาพการณ์ที่เกิดขึ้นของฝ่ายต่าง ๆ ว่ามีความขัดแย้งเกิดขึ้น
3. ความขัดแย้งที่รู้สึกได้ (Felt Conflict) โดยอาจมีความรู้สึกว่า ถูกคุกคาม ถูกเกลียดชัง กลัว หรือไม่ไว้วางใจ
4. พฤติกรรมที่ปรากฏชัด (Minifest Behavior) อาจแสดงความก้าวร้าว การแข่งขัน การโต้เถียงหรือการแก้ปัญหา
5. การแก้ปัญหาหรือระงับความขัดแย้ง (Conflict Resolution or Supervision วิธีการแก้ไขความขัดแย้งมี 4 วิธี ได้แก่
5.1 วิธีชนะ-แพ้ (Win-Lose Method)
5.2 วิธีแพ้ทั้งคู่ (Lose-Lose methods)
5.3 วิธีการที่ทั้งสองฝ่ายเป็นผู้ชนะ (Win-Win methods)
5.4 วิธีการแก้ไขปัญหาร่วมกัน หรือแบบชนะทั้งคู่ (Win-Win Method)
จอห์นสัน และจอห์นสัน (Johnson & Johnson, 1987: 273) มีแนวคิดว่าบุคคลแตกต่างกัน จึงใช้กลยุทธ์ในการจัดการความขัดแย้งโดยแต่ละคนมีรูปแบบการแก้ปัญหาเป็นของตน สามารถเปลี่ยนแปลงการเรียนรู้และหาวิธีการใหม่ ๆ ที่มีประสิทธิภาพในการจัดการความขัดแย้งในภาวะขัดแย้ง ประเด็นหลักที่ต้องใส่ใจ คือ การบรรลุวัตถุประสงค์ส่วนตัว เมื่ออยู่ในภาวะขัดแย้ง คนแต่ละคนจะมีวัตถุประสงค์ที่แตกต่างจากผู้อื่น และการรักษาสัมพันธภาพกับบุคคลอื่น
แบบพฤติกรรมในการจัดการความขัดแย้ง 5 แบบ คือ
1. ลักษณะแบบ "เต่า" (ถอนตัว, หดหัว) มีลักษณะหลีกหนีความขัดแย้ง ยอมละวัตถุประสงค์และความสัมพันธ์ส่วนตัว โดยการหลีกเลี่ยงไม่เผชิญกับคู่กรณี จะไม่ตัดสินใจอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อแก้ปัญหา
2. ลักษณะแบบ "ฉลาม" (บังคับ, ชอบใช้กำลัง) เป็นการแก้ปัญหาความขัดแย้งโดยใช้อำนาจตามตำแหน่ง คำนึงถึงเป้าหมายงานหรือความต้องการของตนเองมากกว่าความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน
3. ลักษณะแบบ "ตุ๊กตาหมี" (สัมพันธภาพราบรื่น) เชื่อว่าความขัดแย้งหลีกเลี่ยงได้เพื่อเห็นแก่ความกลมเกลียว ยอมยกเลิกเป้าหมาย เพื่อรักษาสัมพันธภาพอันดีไว้
4. ลักษณะแบบ "สุนัขจิ้งจอก" (ประนีประนอม, แก้ปัญหาเฉพาะหน้า) จะคำนึงถึงเป้าหมายส่วนตนและสัมพันธภาพกับบุคคลอื่นในระดับปานกลาง แสวงหาการประนีประนอม พร้อมและเต็มใจที่จะสละวัตถุประสงค์และสัมพันธภาพบางส่วนเพื่อหาข้อตกลงร่วมที่ดี
5. ลักษณะแบบ "นกฮูก" (เผชิญหน้ากัน, สุขุม) จะมองความขัดแย้งว่าเป็นปัญหาที่จะต้องแก้ไข ให้คุณค่าแก่เป้าหมายและสัมพันธภาพ สิ่งที่ต้องการคือการบรรลุเป้าหมายของตนเองและผู้อื่น
การแก้ปัญหาความขัดแย้งมีหลายวิธี ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ และบุคลิกของผู้ขัดแย้งว่าเป็นอย่างไร เราต้องเลือก้วิธีการแก้ปัญหาให้ถูกวิธีและพยายามทำให้ทุกคนเป็นผู้ชนะ องค์กรจึงจะประสบความสำเร็จ
3 ต.ค. 2550
ทัศนคติที่ดี (POSITIVE THINKING) ตอนที่ 2
หากเราจะพิจารณากันให้ดีแล้วทัศนคตินั้น อาจแบ่งแยกโดยเอาตัวเราเป็นที่ตั้งได้อยู่ 2 ประการเท่านั้น คือ ทัศนคติต่อตนเอง และ ทัศนคติต่อคนอื่น สิ่งอื่นรอบข้างซึ่งทัศนคติทั้ง 2 ประการดังกล่าวของคนเรานั้นเป็นตัวขับเคลื่อนที่ก่อให้เกิดกระบวนการคิด การกระทำต่างๆตามมา ทั้งด้านที่ดีและไม่ดี ดังนั้นการที่เราจะสามารถดำเนินกิจกรรมใดๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใดนั้นส่วนสำคัญประการหนึ่งก็คือ ทัศนคติของตัวเราเอง นั่นเอง ที่เป็นปัจจัยที่มีบทบาทสำคัญประการหนึ่ง ฉะนั้นจึงกล่าวได้ว่า การมีทัศนคติที่ดี ก็เป็นปัจจัยที่อาจก่อให้เกิดความสำเร็จในทางที่ดีเช่นกัน แต่การที่เรามีทัศนคติที่ดี หรือมีการพัฒนาไปสู่การมีทัศนคติที่ดีนั้น จะดำเนินไปอย่างไรเป็นอีกประการหนึ่งที่ทุกคนควรต้องมาพิจารณากัน ทัศนคติที่ดี หรือการคิดเชิงบวก (Positive Thinking)ทั้งในด้านตนเอง และในด้านบุคคลอื่นที่ สำคัญนั้นมีอยู่หลายประการดังนี้
ประการที่1 การมีความเชื่อมั่นในตัวเอง การมีความเชื่อมั่นในตัวเอง เป็นทัศนคติด้านบวกต่อตนเองว่า ตนเองมีศักยภาพในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ มากน้อยเพียงใด การมีความเชื่อมั่นในตัวเอง เป็นกรณีที่เราทุกคนควรมั่นใจว่าเรามีศักยภาพเพียงพอในการทำงานที่ได้รับมอบหมาย แต่ในความเป็นจริงคนเราทุกคนไม่สามารถที่จะรู้และเข้าใจดีในทุกเรื่อง แต่ถึงแม้ว่าสิ่งที่ได้รับมอบหมายให้ทำนั้นตนเองไม่มีความสามารถเฉพาะด้านนั้นเพียงพอ ก็ต้องมีควาเชื่อมั่นว่าตนเองสามารถฝึกฝน จนสามารถทำงานนั้นได้ดังนั้น ความเชื่อมั่นในตนเองในที่นี้จึงเป็นความเชื่อมั่นในศักยภาพของตนเอง และอีกทางหนึ่งก็คือ การเชื่อมั่นในการพัฒนาศักยภาพของตนเองด้วย
ประการที่2 การประเมินศักยภาพตัวเอง การประเมินศักยภาพตัวเอง เป็นทัศนคติต่อตนเองในความคาดหวังถึงประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการทำงาน สิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยความคาดหวังในที่นี้ต้องเป็นความคาดหวัง ที่มีพื้นฐานบนความรู้และความเข้าใจถึงศักยภาพที่แท้จริงของตนเอง บางครั้งผู้คนอาจคาดหวังถึงผลลัพธ์ที่สูงโดยขาดการพิจารณาถึงพื้นฐานของความเป็นจริง ทำให้เกิดความผิดหวังขึ้นได้ แต่ในทางกลับกันการคาดหวังต่ำโดยไม่พิจารณาถึงพื้นฐานของความเป็นจริง ไม่ว่าเกิดจากการขาดความเชื่อมั่นในศักยภาพของตนเอง การประเมินคุณค่าถึงศักยภาพของตนที่ต่ำ หรืออาจเกิดจากการที่ไม่อยากเผชิญกับความผิดหวัง ก็อาจทำให้ขาดแรงผลักดันที่จะทำงานนั้นให้เสร็จ และอาจทำให้ผลงานที่ออกมานั้นไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ ดังนั้นทุกคนควรตระหนักไว้เสมอว่าคนเรามีศักยภาพในการพัฒนาตนเองเสมอ
ประการที่3 การยอมรับตนเอง และการให้เกียรติตัวเอง การให้เกียรติตัวเอง หรือการยอมรับตัวเอง เป็นทัศนคติต่อตัวเองที่มีพื้นฐานร่วมมากับการมีความเชื่อมั่นในตนเอง และการประเมินศักยภาพของตนเอง คือคนเราเมื่อมีความเชื่อมั่นในตนเอง และสามารถประเมินศักยภาพของตนเองได้ ก็ต้องยอมรับผลที่ออกมาให้ได้ ไม่ว่าผลลัพธ์นั้นจะเป็นที่พอใจหรือไม่ก็ตาม เพราะอย่างไรก็ดีแม้ว่าผลที่ออกมาจะดี เราก็ไม่ควรยึดติดหรือหยุดอยู่กับที่ เพราะคนเราพัฒนากันได้ตลอดเวลา การหยุดอยู่กับที่ในขณะที่คนอื่นเดินไปข้างหน้านั้น ก็ไม่ต่างจากกับการเดินถอยหลัง แต่หากผลลัพธ์ที่ออกมาไม่น่าพอใจ เราก็ไม่ควรดูถูกตัวเอง หากแต่ต้องให้เกียรติตัวเอง และพร้อมที่จะพัฒนาตนต่อไปให้มีศักยภาพให้สูงขึ้น
ประการที่4 การมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ การมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ เป็นทัศนคติที่มองว่าคนเราควรมีอิสระ เสรีภาพทางด้านความคิด ไม่จำเป็นต้องเดินตามกรอบที่ตีไว้หากแต่บ่อย
ครั้งที่เราพบว่าผู้คนมักกล่าวอ้างว่าเป็นการคิดนอกกรอบ แต่ที่จริงแล้ว การคิดนอกกรอบตามนัยที่แท้แล้วอาจมิใช่เพียงการใช้เสรีภาพทางการคิดให้แตกต่างออกไปโดยไม่พิจารณาถึงเหตุที่กรอบนั้นถูกตีขึ้นมาทำให้ความคิดที่เกิดขึ้นนั้นแตกต่างหรือสวนกระแสกับกรอบดังกล่าวไปโดยสิ้นเชิง ที่อาจเรียกว่า ขบถทางความคิด หากแต่ที่จริงแล้วการคิดริเริ่มสร้างสรรค์ต้องเป็นการใช้อิสระ เสรีภาพทางด้านความคิดที่มีพื้นฐานอยู่ที่ความรู้ ความเข้าใจตามสภาพความเป็นจริงที่ปรากฎ โดยไม่ลืมที่จะพิจารณากรอบที่ถูกขีดขึ้นมานั้นด้วย
ประการที่5 การประเมินและความคาดหวังต่อศักยภาพของคนอื่น ความคาดหวังต่อศักยภาพของตนเอง เป็นทัศนคติที่มีฐานมาจากการประเมินถึงศักยภาพของตนเองโดยมีพื้นฐานถึงความเข้าใจ หรือรู้ถึงศักยภาพที่แท้จริงของตนเองหากเราสามารถประเมินศักยภาพของตนเองว่ามีเพียงพอแล้ว ก็ต้องไม่ลืมในการพัฒนาศักยภาพของเราให้สูงขึ้น หรือแม้ว่าเราประเมินได้ว่าศักยภาพของเราไม่เพียงพอ ก็ต้องพยายามในการพัฒนาศักยภาพของเราให้สูงขึ้นเช่นกัน แต่บ่อยครั้งคนเราหาได้ทำเช่นนั้นไม่ หากแต่เมื่อประเมินศักยภาพของตนเองแล้ว แทนที่จะมีการพัฒนาตนเอง กลับไปประเมินศักยภาพของคนอื่น โดยมุ่งหวังที่จะอาศัยศักยภาพของคนอื่นในการเข้ามาจัดการงานของตน ซึ่งเป็นการที่เรานำเอาความสำเร็จของงานไปขึ้นอยู่กับคนอื่น การมีทัศนคติต่อศักยภาพของคนอื่นที่ถูกต้อง จึงควรเป็นไปในแนวทางที่เราจะต้องพัฒนาศักยภาพของตนเองให้สูงพอที่จะทำการของตนให้ลุล่วง จนอาจเป็นที่พึ่งของคนอื่นได้ด้วย หรือไม่ก็เป็นกรณีที่ตนเองมีศักยภาพ แต่กลับผลักภาระให้ความสำเร็จของงานไปขึ้นกับศักยภาพของบุคคลอื่น โดยลืมไปว่าการกระทำดังกล่าวเป็นการทำให้บุคคลอื่นพัฒนาศักยภาพมากขึ้นใน ขณะที่ตนเองกลับถูกทิ้งให้เดินตาหลังผู้อื่นแต่อย่างเดียว
ประการที่6 ทัศนคติด้านตรรกะ ในการแก้ปัญหา ทัศนคติด้านตรรกะในการแก้ปัญหา เป็นทัศนคติซึ่งคนส่วนใหญ่มี และใช้อยู่ตลอดเวลาทุกครั้งที่มีปัญหาเข้ามาในชีวิต โดยตรรกะในการทัศนคติที่ดีในการแก้ปัญหาในที่นี้ คือ การที่เมื่อมีปัญหาเกิดขึ้นแล้วเราสามารถแก้ได้เพียงใด การสาวหาเหตุปัจจัยที่เป็นที่มาของปัญหา บ่อยครั้งที่คนเรามักมองสาเหตุแห่งปัญหาผิดจุด คือ การมองสาเหตุของปัญหาจากจุดไกลมายังจุดใกล้ มองจากภายนอกเข้ามาภายใน ซึ่งที่จริงแล้วการหาเหตุแห่งปัญหาที่ง่ายและเป็นแนวคิดที่ดี ควรเริ่มจากการมองดูที่ตัวเองก่อนว่าเป็นส่วนหนึ่งในการก่อให้เกิดปัญหานั้นขึ้นหรือไม่ แทนที่พยายามหาว่าอะไร หรือใครเป็นสาเหตุแห่งปัญหานั้น อีกทั้งในบางครั้งเมื่อพิจารณาแล้วเห็นว่าตนเองเป็นสาเหตุประการหนึ่งที่ทำให้เกิดปัญหา หรือ ความผิดพลาดนั้นๆขึ้น แต่ก็กลับไม่ยอมรับความจริง ว่าตนผิดพลาดและควรเร่งพัฒนาศักยภาพของตน แต่กลับครุ่นคิดวกวนความผิดพลาดนั้น จนท้อแท้ และไม่เดินต่อไปยังจุดหมายที่ตั้งใจ
ทัศนคติดังกล่าวข้างต้น ทั้ง 6 ประการ ถือได้ว่าเป็นตัวอย่างของทัศนคติที่ดี หรือแนวคิดเชิงบวกพื้นฐานต่อตนเอง และต่อสังคมรอบข้างที่อย่างน้อยทุกคนควรต้องมีและต้องพร้อมที่จะพัฒนาตนเองให้มีทัศนคติที่ดีด้านอื่นๆ ให้มีมากขึ้นตามลำดับต่อไป
ประการที่1 การมีความเชื่อมั่นในตัวเอง การมีความเชื่อมั่นในตัวเอง เป็นทัศนคติด้านบวกต่อตนเองว่า ตนเองมีศักยภาพในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ มากน้อยเพียงใด การมีความเชื่อมั่นในตัวเอง เป็นกรณีที่เราทุกคนควรมั่นใจว่าเรามีศักยภาพเพียงพอในการทำงานที่ได้รับมอบหมาย แต่ในความเป็นจริงคนเราทุกคนไม่สามารถที่จะรู้และเข้าใจดีในทุกเรื่อง แต่ถึงแม้ว่าสิ่งที่ได้รับมอบหมายให้ทำนั้นตนเองไม่มีความสามารถเฉพาะด้านนั้นเพียงพอ ก็ต้องมีควาเชื่อมั่นว่าตนเองสามารถฝึกฝน จนสามารถทำงานนั้นได้ดังนั้น ความเชื่อมั่นในตนเองในที่นี้จึงเป็นความเชื่อมั่นในศักยภาพของตนเอง และอีกทางหนึ่งก็คือ การเชื่อมั่นในการพัฒนาศักยภาพของตนเองด้วย
ประการที่2 การประเมินศักยภาพตัวเอง การประเมินศักยภาพตัวเอง เป็นทัศนคติต่อตนเองในความคาดหวังถึงประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการทำงาน สิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยความคาดหวังในที่นี้ต้องเป็นความคาดหวัง ที่มีพื้นฐานบนความรู้และความเข้าใจถึงศักยภาพที่แท้จริงของตนเอง บางครั้งผู้คนอาจคาดหวังถึงผลลัพธ์ที่สูงโดยขาดการพิจารณาถึงพื้นฐานของความเป็นจริง ทำให้เกิดความผิดหวังขึ้นได้ แต่ในทางกลับกันการคาดหวังต่ำโดยไม่พิจารณาถึงพื้นฐานของความเป็นจริง ไม่ว่าเกิดจากการขาดความเชื่อมั่นในศักยภาพของตนเอง การประเมินคุณค่าถึงศักยภาพของตนที่ต่ำ หรืออาจเกิดจากการที่ไม่อยากเผชิญกับความผิดหวัง ก็อาจทำให้ขาดแรงผลักดันที่จะทำงานนั้นให้เสร็จ และอาจทำให้ผลงานที่ออกมานั้นไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ ดังนั้นทุกคนควรตระหนักไว้เสมอว่าคนเรามีศักยภาพในการพัฒนาตนเองเสมอ
ประการที่3 การยอมรับตนเอง และการให้เกียรติตัวเอง การให้เกียรติตัวเอง หรือการยอมรับตัวเอง เป็นทัศนคติต่อตัวเองที่มีพื้นฐานร่วมมากับการมีความเชื่อมั่นในตนเอง และการประเมินศักยภาพของตนเอง คือคนเราเมื่อมีความเชื่อมั่นในตนเอง และสามารถประเมินศักยภาพของตนเองได้ ก็ต้องยอมรับผลที่ออกมาให้ได้ ไม่ว่าผลลัพธ์นั้นจะเป็นที่พอใจหรือไม่ก็ตาม เพราะอย่างไรก็ดีแม้ว่าผลที่ออกมาจะดี เราก็ไม่ควรยึดติดหรือหยุดอยู่กับที่ เพราะคนเราพัฒนากันได้ตลอดเวลา การหยุดอยู่กับที่ในขณะที่คนอื่นเดินไปข้างหน้านั้น ก็ไม่ต่างจากกับการเดินถอยหลัง แต่หากผลลัพธ์ที่ออกมาไม่น่าพอใจ เราก็ไม่ควรดูถูกตัวเอง หากแต่ต้องให้เกียรติตัวเอง และพร้อมที่จะพัฒนาตนต่อไปให้มีศักยภาพให้สูงขึ้น
ประการที่4 การมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ การมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ เป็นทัศนคติที่มองว่าคนเราควรมีอิสระ เสรีภาพทางด้านความคิด ไม่จำเป็นต้องเดินตามกรอบที่ตีไว้หากแต่บ่อย
ครั้งที่เราพบว่าผู้คนมักกล่าวอ้างว่าเป็นการคิดนอกกรอบ แต่ที่จริงแล้ว การคิดนอกกรอบตามนัยที่แท้แล้วอาจมิใช่เพียงการใช้เสรีภาพทางการคิดให้แตกต่างออกไปโดยไม่พิจารณาถึงเหตุที่กรอบนั้นถูกตีขึ้นมาทำให้ความคิดที่เกิดขึ้นนั้นแตกต่างหรือสวนกระแสกับกรอบดังกล่าวไปโดยสิ้นเชิง ที่อาจเรียกว่า ขบถทางความคิด หากแต่ที่จริงแล้วการคิดริเริ่มสร้างสรรค์ต้องเป็นการใช้อิสระ เสรีภาพทางด้านความคิดที่มีพื้นฐานอยู่ที่ความรู้ ความเข้าใจตามสภาพความเป็นจริงที่ปรากฎ โดยไม่ลืมที่จะพิจารณากรอบที่ถูกขีดขึ้นมานั้นด้วย
ประการที่5 การประเมินและความคาดหวังต่อศักยภาพของคนอื่น ความคาดหวังต่อศักยภาพของตนเอง เป็นทัศนคติที่มีฐานมาจากการประเมินถึงศักยภาพของตนเองโดยมีพื้นฐานถึงความเข้าใจ หรือรู้ถึงศักยภาพที่แท้จริงของตนเองหากเราสามารถประเมินศักยภาพของตนเองว่ามีเพียงพอแล้ว ก็ต้องไม่ลืมในการพัฒนาศักยภาพของเราให้สูงขึ้น หรือแม้ว่าเราประเมินได้ว่าศักยภาพของเราไม่เพียงพอ ก็ต้องพยายามในการพัฒนาศักยภาพของเราให้สูงขึ้นเช่นกัน แต่บ่อยครั้งคนเราหาได้ทำเช่นนั้นไม่ หากแต่เมื่อประเมินศักยภาพของตนเองแล้ว แทนที่จะมีการพัฒนาตนเอง กลับไปประเมินศักยภาพของคนอื่น โดยมุ่งหวังที่จะอาศัยศักยภาพของคนอื่นในการเข้ามาจัดการงานของตน ซึ่งเป็นการที่เรานำเอาความสำเร็จของงานไปขึ้นอยู่กับคนอื่น การมีทัศนคติต่อศักยภาพของคนอื่นที่ถูกต้อง จึงควรเป็นไปในแนวทางที่เราจะต้องพัฒนาศักยภาพของตนเองให้สูงพอที่จะทำการของตนให้ลุล่วง จนอาจเป็นที่พึ่งของคนอื่นได้ด้วย หรือไม่ก็เป็นกรณีที่ตนเองมีศักยภาพ แต่กลับผลักภาระให้ความสำเร็จของงานไปขึ้นกับศักยภาพของบุคคลอื่น โดยลืมไปว่าการกระทำดังกล่าวเป็นการทำให้บุคคลอื่นพัฒนาศักยภาพมากขึ้นใน ขณะที่ตนเองกลับถูกทิ้งให้เดินตาหลังผู้อื่นแต่อย่างเดียว
ประการที่6 ทัศนคติด้านตรรกะ ในการแก้ปัญหา ทัศนคติด้านตรรกะในการแก้ปัญหา เป็นทัศนคติซึ่งคนส่วนใหญ่มี และใช้อยู่ตลอดเวลาทุกครั้งที่มีปัญหาเข้ามาในชีวิต โดยตรรกะในการทัศนคติที่ดีในการแก้ปัญหาในที่นี้ คือ การที่เมื่อมีปัญหาเกิดขึ้นแล้วเราสามารถแก้ได้เพียงใด การสาวหาเหตุปัจจัยที่เป็นที่มาของปัญหา บ่อยครั้งที่คนเรามักมองสาเหตุแห่งปัญหาผิดจุด คือ การมองสาเหตุของปัญหาจากจุดไกลมายังจุดใกล้ มองจากภายนอกเข้ามาภายใน ซึ่งที่จริงแล้วการหาเหตุแห่งปัญหาที่ง่ายและเป็นแนวคิดที่ดี ควรเริ่มจากการมองดูที่ตัวเองก่อนว่าเป็นส่วนหนึ่งในการก่อให้เกิดปัญหานั้นขึ้นหรือไม่ แทนที่พยายามหาว่าอะไร หรือใครเป็นสาเหตุแห่งปัญหานั้น อีกทั้งในบางครั้งเมื่อพิจารณาแล้วเห็นว่าตนเองเป็นสาเหตุประการหนึ่งที่ทำให้เกิดปัญหา หรือ ความผิดพลาดนั้นๆขึ้น แต่ก็กลับไม่ยอมรับความจริง ว่าตนผิดพลาดและควรเร่งพัฒนาศักยภาพของตน แต่กลับครุ่นคิดวกวนความผิดพลาดนั้น จนท้อแท้ และไม่เดินต่อไปยังจุดหมายที่ตั้งใจ
ทัศนคติดังกล่าวข้างต้น ทั้ง 6 ประการ ถือได้ว่าเป็นตัวอย่างของทัศนคติที่ดี หรือแนวคิดเชิงบวกพื้นฐานต่อตนเอง และต่อสังคมรอบข้างที่อย่างน้อยทุกคนควรต้องมีและต้องพร้อมที่จะพัฒนาตนเองให้มีทัศนคติที่ดีด้านอื่นๆ ให้มีมากขึ้นตามลำดับต่อไป
2 ต.ค. 2550
ทัศนคติที่ดี (POSITIVE THINKING) ตอนที่ 1
บ่อยครั้งที่เราได้ยินผู้คนมักพูดว่ามีทัศนคติที่ดี หากมีใครกล่าวเช่นนี้ว่าเรามีทัศนคติที่ดี ประการแรกที่สามารถรู้สึกได้คือ เราได้รับคำชมเชย มากกว่าที่จะถูกตำหนิ การมีทัศนคติที่ดี โดยนัยของมันเองก็คงเป็นคนละด้านกับการมีทัศนคติที่แย่ หรือมีทัศนคติที่ไม่ดี ในการที่เราจะทำความเข้าใจ กับการมีทัศนคติที่ดี ซึ่งโดยลักษณะของตัวมันเอง เป็นนามธรรมที่จับต้องได้ยาก และอาจจะหาคำนิยามที่สามารถสรุปความหมายทุกนัยของการมีทัศนคติที่ดีได้ ดังนั้นในเบื้องต้นเราคงต้องมาพิจารณาถึงนิยามของคำว่า ทัศนคติ ว่าคืออะไร ส่วนที่ว่าทัศนคติที่ดีเป็นเช่นใดนั้น ค่อยพิจารณาในลำดับต่อไป
ในขั้นแรกของการทำความเข้าใจถึงทัศนคติที่ดีนั้น เราคงต้องมาทำความเข้าใจกันก่อนว่าทัศนคติคืออะไร ทัศนคติ เป็นคำสนธิระหว่าง ทัศน ทัศน์ หรือ ทัสสนะ ซึ่งหมายความว่า ความเห็น ความเห็นด้วยปัญญา ส่วนคติ หมายความว่า แนวทาง ดังนั้นคำว่า ทัศนคติ จึงน่าจะรวมความได้ว่า คือ แนวความคิดเห็นที่ประกอบด้วยปัญญาเป็นที่ตั้ง เป็นความคิดเห็นซึ่งมีพื้นมาจากปัญญากล่าวคือ ใช้ปัญญาในการพิจารณาการเห็นนั้น เมื่อเราทราบว่า ทัศนคติ คือ แนวความคิดเห็น
หากจะพิจารณาดูให้ถี่ถ้วนแล้ว มนุษย์ทุกคนล้วนแต่ต้องมีทัศนคติ ตลอดเวลา ก่อนอื่นที่ต้องทำความเข้าใจให้ตรงกันก่อนว่า ทัศนคติที่เรามีนั้นในที่นี้ ไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะสิ่งที่เราเรียกว่าความเห็น หรือความคิดเห็นเท่านั้น หากแต่ความเห็น หรือความคิดเห็นตามที่เข้าใจในความหมายทั่วไปนั้น เป็นเพียงส่วนหนึ่งของความเห็นซึ่งเกิดขึ้นแล้ว ผ่านกระบวนการแสดงออกมาให้ผู้อื่นรับรู้ ว่าเราเห็นอย่างไร ไม่ว่าจะโดยผ่านกระบวนการของการพูด (วาจา) เขียน (ลายลักษณ์อักษร)หรือโดยอากัปกริยาอื่นใดเท่านั้น หากแต่การเห็นในที่นี้หมายถึง ไปทั้งกระบวนการคิดโดยไม่พิจารณาว่าสิ่งที่คิดนั้นจะได้แสดงออกมาภายนอก และ หรือมีผู้ใดรับรู้ถึงความเห็นดังกล่าว หรือไม่ดังนั้น ความเห็นจึงเป็นเพียงผลพวงที่ออกมาจากการคิดเท่านั้น
พรุ่งนี้เราจะมาหาแนวทางในการสร้างทัศนคติที่ดี ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในการที่จะมีชีวิตที่มีความสุข และส่งเสริมให้การทำงานประสบความสำเร็จตามเป้าหมาย
ในขั้นแรกของการทำความเข้าใจถึงทัศนคติที่ดีนั้น เราคงต้องมาทำความเข้าใจกันก่อนว่าทัศนคติคืออะไร ทัศนคติ เป็นคำสนธิระหว่าง ทัศน ทัศน์ หรือ ทัสสนะ ซึ่งหมายความว่า ความเห็น ความเห็นด้วยปัญญา ส่วนคติ หมายความว่า แนวทาง ดังนั้นคำว่า ทัศนคติ จึงน่าจะรวมความได้ว่า คือ แนวความคิดเห็นที่ประกอบด้วยปัญญาเป็นที่ตั้ง เป็นความคิดเห็นซึ่งมีพื้นมาจากปัญญากล่าวคือ ใช้ปัญญาในการพิจารณาการเห็นนั้น เมื่อเราทราบว่า ทัศนคติ คือ แนวความคิดเห็น
หากจะพิจารณาดูให้ถี่ถ้วนแล้ว มนุษย์ทุกคนล้วนแต่ต้องมีทัศนคติ ตลอดเวลา ก่อนอื่นที่ต้องทำความเข้าใจให้ตรงกันก่อนว่า ทัศนคติที่เรามีนั้นในที่นี้ ไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะสิ่งที่เราเรียกว่าความเห็น หรือความคิดเห็นเท่านั้น หากแต่ความเห็น หรือความคิดเห็นตามที่เข้าใจในความหมายทั่วไปนั้น เป็นเพียงส่วนหนึ่งของความเห็นซึ่งเกิดขึ้นแล้ว ผ่านกระบวนการแสดงออกมาให้ผู้อื่นรับรู้ ว่าเราเห็นอย่างไร ไม่ว่าจะโดยผ่านกระบวนการของการพูด (วาจา) เขียน (ลายลักษณ์อักษร)หรือโดยอากัปกริยาอื่นใดเท่านั้น หากแต่การเห็นในที่นี้หมายถึง ไปทั้งกระบวนการคิดโดยไม่พิจารณาว่าสิ่งที่คิดนั้นจะได้แสดงออกมาภายนอก และ หรือมีผู้ใดรับรู้ถึงความเห็นดังกล่าว หรือไม่ดังนั้น ความเห็นจึงเป็นเพียงผลพวงที่ออกมาจากการคิดเท่านั้น
พรุ่งนี้เราจะมาหาแนวทางในการสร้างทัศนคติที่ดี ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในการที่จะมีชีวิตที่มีความสุข และส่งเสริมให้การทำงานประสบความสำเร็จตามเป้าหมาย
1 ต.ค. 2550
Time Management by Thai reliant
Do you manage time...or does time manage you? It’s a simple question, but difficult to answer.
Management is important for all of us because scarcity and unequal of resources. But we have one resource that anonymous for everyone. It’s time which everyone have 24 hours a day, but we have difference ways to manage them.
This article have some things that each of us can do to help ourselves manage our time more effectively. Effective time management is a conscious decision where we decide what is important and then plan our time and our lives around these things.
The key is to use proactive thinking. Don't wait and let time make its demands on you. First decide what you will do with your time. What are my values and my goals? Where do I want to end up? What is truly important to me? What actions do I need to take to make things happen?
However, there are no time management tools that work for everyone all of the time. Instead, we need to decide what works best for us, as an individual, at this point in time. Do we need to schedule better? Do we work more productively in the morning? What will work for me...now?
Thai reliant gives us key points which help ourselves to manage our time efficiently, that is balancing and respect our lives. That is we are not meant to concentrate on one thing to the exclusion of all else. We need to make sure that we give ourselves time for relaxation, for exercise, for friends, and for fun. These are critical parts of the "whole" person. And without taking care of ourselves, we do not have the energy that we need to take care of the demands on our time.
Management is important for all of us because scarcity and unequal of resources. But we have one resource that anonymous for everyone. It’s time which everyone have 24 hours a day, but we have difference ways to manage them.
This article have some things that each of us can do to help ourselves manage our time more effectively. Effective time management is a conscious decision where we decide what is important and then plan our time and our lives around these things.
The key is to use proactive thinking. Don't wait and let time make its demands on you. First decide what you will do with your time. What are my values and my goals? Where do I want to end up? What is truly important to me? What actions do I need to take to make things happen?
However, there are no time management tools that work for everyone all of the time. Instead, we need to decide what works best for us, as an individual, at this point in time. Do we need to schedule better? Do we work more productively in the morning? What will work for me...now?
Thai reliant gives us key points which help ourselves to manage our time efficiently, that is balancing and respect our lives. That is we are not meant to concentrate on one thing to the exclusion of all else. We need to make sure that we give ourselves time for relaxation, for exercise, for friends, and for fun. These are critical parts of the "whole" person. And without taking care of ourselves, we do not have the energy that we need to take care of the demands on our time.
28 ก.ย. 2550
เทคนิคจูงใจลูกน้อง...ให้ทำงาน
เมื่อครั้งที่แล้ว เราพูดถึงสาเหตุการลาออกของพนักงาน วันนี้เราลองมาดู เทคนิคการจูงใจลูกน้องให้ทำงาน ว่าจะทำอย่างไรให้พนักงานของท่านเต็มใจและพร้อมในการทำงาน
การจูงใจลูกน้องควรเริ่มต้นจากการพยายามทำให้ลูกน้องอยากจะทำงานให้ด้วยใจ มิใช่เป็นการทำงานด้วยการบังคับหรือสั่งให้ทำ เพราะผลงานที่เกิดขึ้นอาจไม่ดีเท่าที่ควร เขาเล่าให้ฟังว่าลูกน้องแต่ละคนมีความต้องการ มีพฤติกรรมที่แตกต่างกันไป วิธีการจูงใจลูกน้องย่อมแตกต่างกันไปในแต่ละคนด้วยเช่นกัน
พัฒนาความสามารถของลูกน้องด้วยใจ
หัวหน้าควรใส่ใจและตั้งใจจริงที่จะพัฒนาความรู้ ความสามารถของลูกน้อง ไม่ต้องกลัวลูกน้องจะเก่งหรือได้ดิบได้ดีเกินหน้าเกินตา กว่าหัวหน้างาน ซึ่งหัวหน้างานควรให้โอกาสลูกน้องได้รับการฝึกอบรม รวมถึงการให้เวลากับลูกน้องในการพัฒนาความรู้ความสามารถ ไม่ว่าจะเป็นการสอนงาน การเป็นพี่เลี้ยง การให้คำปรึกษาแนะนำเมื่อลูกน้องมีปัญหา ซึ่งหัวหน้างานเองจะต้องตระหนักเสมอว่าการพัฒนาลูกน้องเป็นภารกิจหน้าที่ที่สำคัญนอกจากการบริหารและพัฒนาการทำงานของตนเอง และของหน่วยงาน
ปฏิบัติกับลูกน้องด้วยความเป็นธรรม
ความยุติธรรมในการปฏิบัติกับลูกน้องแต่ละคนเป็นสิ่งที่สามารถจูงใจลูกน้องให้ทำงานได้เช่นกัน หัวหน้างานไม่ควรลำเอียงหรือเลือกที่รักมักที่ชัง ไม่ว่าจะเป็นการมอบหมายงาน การประเมินผลการทำงาน การกล่าวยกย่องชมเชย การลงโทษ การว่ากล่าวตักเตือนพนักงาน รวมถึงการพิจารณาให้ค่าตอบแทนแก่พนักงาน
ให้ความเป็นกันเองกับลูกน้อง
บรรยากาศและสภาพแวดล้อมการทำงานเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่สามารถจูงใจให้ลูกน้องทำงานให้ หัวหน้างานควรสร้างบรรยากาศในการทำงานให้เป็นกันเอง ทำเสมือนสถานที่ทำงานเป็นบ้านหลังที่สอง พยายามสร้างความอบอุ่นในการทำงานให้กับลูกน้อง ซึ่งมีหลากหลายวิธีการที่จะสร้างความเป็นกันเองกับลูกน้องของตนได้ ไม่ว่าจะเป็นการเปิดโอกาสให้ลูกน้องแสดงความคิดเห็น การจัดให้มี Morning Talk เพื่อพูดคุยหรือปรึกษาปัญหาที่เกิดขึ้น หรือการจัดเลี้ยงสังสรรค์ในโอกาสพิเศษแก่ลูกน้องในทีม
เปิดโอกาสให้ลูกน้องมีความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน
หัวหน้างานควรตระหนักถึงความก้าวหน้าในสายอาชีพของลูกน้อง ไม่มีใครที่ต้องการอยู่เฉย ๆ โดยไม่หวังตำแหน่งงานหรือความก้าวหน้าในอาชีพของตน ซึ่งหัวหน้างานควรจัดเตรียมเส้นทางความก้าวหน้าของตำแหน่งงานให้กับลูกน้องด้วย ไม่ว่าจะเป็นการเลื่อนตำแหน่งงาน การเปิดโอกาสให้ลูกน้องหมุนเวียนเปลี่ยนงาน หรือโอนย้ายงานข้ามหน่วยงาน ผู้ที่เป็นหัวหน้างานที่ดีไม่ควรกักกันให้ลูกน้องทำงานอยู่กับตนเองเพียงฝ่ายเดียว ควรปล่อยให้ลูกน้องมีโอกาสเติบโตในสายงานอื่นตามที่พวกเขาต้องการ
การจูงใจลูกน้องควรเริ่มต้นจากการพยายามทำให้ลูกน้องอยากจะทำงานให้ด้วยใจ มิใช่เป็นการทำงานด้วยการบังคับหรือสั่งให้ทำ เพราะผลงานที่เกิดขึ้นอาจไม่ดีเท่าที่ควร เขาเล่าให้ฟังว่าลูกน้องแต่ละคนมีความต้องการ มีพฤติกรรมที่แตกต่างกันไป วิธีการจูงใจลูกน้องย่อมแตกต่างกันไปในแต่ละคนด้วยเช่นกัน
พัฒนาความสามารถของลูกน้องด้วยใจ
หัวหน้าควรใส่ใจและตั้งใจจริงที่จะพัฒนาความรู้ ความสามารถของลูกน้อง ไม่ต้องกลัวลูกน้องจะเก่งหรือได้ดิบได้ดีเกินหน้าเกินตา กว่าหัวหน้างาน ซึ่งหัวหน้างานควรให้โอกาสลูกน้องได้รับการฝึกอบรม รวมถึงการให้เวลากับลูกน้องในการพัฒนาความรู้ความสามารถ ไม่ว่าจะเป็นการสอนงาน การเป็นพี่เลี้ยง การให้คำปรึกษาแนะนำเมื่อลูกน้องมีปัญหา ซึ่งหัวหน้างานเองจะต้องตระหนักเสมอว่าการพัฒนาลูกน้องเป็นภารกิจหน้าที่ที่สำคัญนอกจากการบริหารและพัฒนาการทำงานของตนเอง และของหน่วยงาน
ปฏิบัติกับลูกน้องด้วยความเป็นธรรม
ความยุติธรรมในการปฏิบัติกับลูกน้องแต่ละคนเป็นสิ่งที่สามารถจูงใจลูกน้องให้ทำงานได้เช่นกัน หัวหน้างานไม่ควรลำเอียงหรือเลือกที่รักมักที่ชัง ไม่ว่าจะเป็นการมอบหมายงาน การประเมินผลการทำงาน การกล่าวยกย่องชมเชย การลงโทษ การว่ากล่าวตักเตือนพนักงาน รวมถึงการพิจารณาให้ค่าตอบแทนแก่พนักงาน
ให้ความเป็นกันเองกับลูกน้อง
บรรยากาศและสภาพแวดล้อมการทำงานเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่สามารถจูงใจให้ลูกน้องทำงานให้ หัวหน้างานควรสร้างบรรยากาศในการทำงานให้เป็นกันเอง ทำเสมือนสถานที่ทำงานเป็นบ้านหลังที่สอง พยายามสร้างความอบอุ่นในการทำงานให้กับลูกน้อง ซึ่งมีหลากหลายวิธีการที่จะสร้างความเป็นกันเองกับลูกน้องของตนได้ ไม่ว่าจะเป็นการเปิดโอกาสให้ลูกน้องแสดงความคิดเห็น การจัดให้มี Morning Talk เพื่อพูดคุยหรือปรึกษาปัญหาที่เกิดขึ้น หรือการจัดเลี้ยงสังสรรค์ในโอกาสพิเศษแก่ลูกน้องในทีม
เปิดโอกาสให้ลูกน้องมีความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน
หัวหน้างานควรตระหนักถึงความก้าวหน้าในสายอาชีพของลูกน้อง ไม่มีใครที่ต้องการอยู่เฉย ๆ โดยไม่หวังตำแหน่งงานหรือความก้าวหน้าในอาชีพของตน ซึ่งหัวหน้างานควรจัดเตรียมเส้นทางความก้าวหน้าของตำแหน่งงานให้กับลูกน้องด้วย ไม่ว่าจะเป็นการเลื่อนตำแหน่งงาน การเปิดโอกาสให้ลูกน้องหมุนเวียนเปลี่ยนงาน หรือโอนย้ายงานข้ามหน่วยงาน ผู้ที่เป็นหัวหน้างานที่ดีไม่ควรกักกันให้ลูกน้องทำงานอยู่กับตนเองเพียงฝ่ายเดียว ควรปล่อยให้ลูกน้องมีโอกาสเติบโตในสายงานอื่นตามที่พวกเขาต้องการ
23 ก.ย. 2550
ทำไม "พนักงานจึงลาออก"
ปัญหาและอุปสรรคที่สำคัญอย่างหนึ่งในการพัฒนาองค์กร ก็คือการขาดบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถ ความเชี่ยวชาญ โดยเฉพาะในปัจจุบัน องค์กรส่วนใหญ่จะมีอัตราการลาออกของพนักงานเพิ่มสูงขึ้น ทำให้ต้องสูญเสียเวลาและทรัพยากรเป็นอย่างมาก ในการหาทรัพยากรบุคคลใหม่มาทดแทนและฝึกอบรมเพื่อให้พนักงานใหม่สามารถทำงานทดแทนพนักงานคนเดิมที่ลาออกไปได้
สาเหตุของการลาออกจากงานเท่าที่ประมวลได้จากการสอบถามและการสัมภาษณ์ที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ มีดังต่อไปนี้
1.ไม่พอใจอัตราค่าจ้าง 2.งานไม่ตรงกับสายวิชาที่เรียนมา 3.งานหนัก 4.ที่พักอยู่ไกลที่ทำงาน และเดินทางไม่สะดวก
5.ที่ทำงานอบอ้าวอุดอู้ คับแคบอากาศร้อน เสียงดัง 6.ไม่มีค่าล่วงเวลา 7.ผู้บังคับบัญชาไม่เอาใจใส่พนักงาน 8.เข้ากับผู้ร่วมงานไม่ได้ 9.ผู้บังคับบัญชาตำหนิรุนแรงหรือดุด่า 10.ทำงานต่ำกว่าคุณวุฒิ 11.ไม่พอใจสวัสดิการ 12.ม่มีความก้าวหน้าในงานที่ทำ
13.สภาพแวดล้อมในการทำงานไม่ดี 14. ผู้บังคับบัญชาไม่สอนงานดีแต่ดุว่า 15.มีความคาดหวังในงานสูงและผิดหวัง 16. มีแต่ตำหนิไม่มีคำชม 17.ขาดความอบอุ่นใจ 18.ผู้บังคับบัญชามีอคติ 20. การชักจูงจากเพื่อนในที่ทำงานซึ่งมีรายได้สูง
21. เบื่องานและผู้บังคับบัญชา 22. ได้งานที่ดีกว่า ค่าตอบแทนสูงกว่า 23. ได้รับข้อเสนอตำแหน่งสูงกว่าเดิม
หัวหน้าหรือผู้บริหารหลายคน มักจะแก้ปัญหาพนักงานลาออกด้วยการเพิ่มเงินเดือน แต่หากลองพิจารณาสาเหตุของการลาออกส่วนใหญ่ ไม่ได้เกี่ยวข้องกับเรื่องของเงินเดือน เพราะฉะนั้นการปรับเงินเดือนขึ้น จึงไม่ใช่วิธีการแก้ปัญหาการลาออกของพนักงาน แต่วิธีการที่ดีที่สุด คือ "เพิ่มความใส่ใจในตัวพนักงานของท่านให้มากขึ้น"
สาเหตุของการลาออกจากงานเท่าที่ประมวลได้จากการสอบถามและการสัมภาษณ์ที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ มีดังต่อไปนี้
1.ไม่พอใจอัตราค่าจ้าง 2.งานไม่ตรงกับสายวิชาที่เรียนมา 3.งานหนัก 4.ที่พักอยู่ไกลที่ทำงาน และเดินทางไม่สะดวก
5.ที่ทำงานอบอ้าวอุดอู้ คับแคบอากาศร้อน เสียงดัง 6.ไม่มีค่าล่วงเวลา 7.ผู้บังคับบัญชาไม่เอาใจใส่พนักงาน 8.เข้ากับผู้ร่วมงานไม่ได้ 9.ผู้บังคับบัญชาตำหนิรุนแรงหรือดุด่า 10.ทำงานต่ำกว่าคุณวุฒิ 11.ไม่พอใจสวัสดิการ 12.ม่มีความก้าวหน้าในงานที่ทำ
13.สภาพแวดล้อมในการทำงานไม่ดี 14. ผู้บังคับบัญชาไม่สอนงานดีแต่ดุว่า 15.มีความคาดหวังในงานสูงและผิดหวัง 16. มีแต่ตำหนิไม่มีคำชม 17.ขาดความอบอุ่นใจ 18.ผู้บังคับบัญชามีอคติ 20. การชักจูงจากเพื่อนในที่ทำงานซึ่งมีรายได้สูง
21. เบื่องานและผู้บังคับบัญชา 22. ได้งานที่ดีกว่า ค่าตอบแทนสูงกว่า 23. ได้รับข้อเสนอตำแหน่งสูงกว่าเดิม
หัวหน้าหรือผู้บริหารหลายคน มักจะแก้ปัญหาพนักงานลาออกด้วยการเพิ่มเงินเดือน แต่หากลองพิจารณาสาเหตุของการลาออกส่วนใหญ่ ไม่ได้เกี่ยวข้องกับเรื่องของเงินเดือน เพราะฉะนั้นการปรับเงินเดือนขึ้น จึงไม่ใช่วิธีการแก้ปัญหาการลาออกของพนักงาน แต่วิธีการที่ดีที่สุด คือ "เพิ่มความใส่ใจในตัวพนักงานของท่านให้มากขึ้น"
22 ก.ย. 2550
การบริหารความขัดแย้ง
หน้าที่หลักประการหนึ่งของนักบริหาร ก็คือ การบริหารความขัดแย้งทั้งในตนเอง ในระหว่างบุคคล และในระหว่างกลุ่ม ดังนั้น จึงเป็นความจำเป็นที่นักบริหารควรให้ความเอาใจใส่ในหน้านี้มากเป็นพิเศษ เพราะเป็นปัจจัยสำคัญของความสำเร็จขององค์กร
ความขัดแย้ง (Conflict) หมายถึง ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลที่เกี่ยวข้องกับจุดมุ่งหมาย หรือวิธีการ หรือทั้งสองอย่างแต่เป็นความสัมพันธ์ในทางลบ
การที่แต่ละฝ่ายไปด้วยกันไม่ได้ในเรื่องเกี่ยวกับความต้องการ ไม่ว่าจะเป็นความต้องการจริง หรือศักยภาพที่จะเกิดตามต้องการ มักเกิดจากปัญหาการสื่อสาร โครงสร้างองค์การ หรือความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล เกิดจากบทบาท หน้าที่การงาน คุณค่า บุคลิกภาพส่วนตน กฎระเบียบ ทรัพยากร และเป้าหมาย ทำให้เกิดความขัดแย้งระหว่างบุคคล ระหว่างกลุ่ม ภายในองค์กร และระหว่างองค์กร ซึ่งความเสียหายย่อมสอดคล้องกับปฏิกิริยาของความขัดแย้ง และความขัดแย้งมีทั้งผลดีและผลเสีย ดังนี้
ผลดีของความขัดแย้งคือ เป็นตัวกระตุ้นให้คนแสวงหาวิธีการต่างๆจะนำผลไปสู่ผลตอบสนองที่ดีขึ้น และปัญหาที่ถูกซ้อนเร้นอยู่ได้ถูกนำมาเปิดเผย เพื่อจะได้สามารถแก้ไขปัญหานั้นได้ และนอกเหนือไปจากสิ่งเหล่านี้คือ กลุ่มคนที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับความขัดแย้ง จะมีความเข้าใจต่อกันอย่างลึกซึ้งมากขึ้น หลังจากที่ได้แก้ไขข้อขัดแย้งนั้นให้ลุล่วงไปแล้ว
ผลเสียของความขัดแย้ง ทำให้ความร่วมมือและการทำงานร่วมกันเป็นทีมลดลง ความไม่ไว้วางใจซึ่งกันและกัน ความห่างเหินก็เพิ่มมากขึ้นทั้งในระหว่างบุคคลและในระหว่างกลุ่มที่ควรจะร่วมมือกัน บุคคลที่รู้สึกว่าตนเองเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ในความขัดแย้งนั้นจะรู้สึกว่าตนเองไร้ความหมาย ไร้ค่า ภาพพจน์ที่มีต่อตนเองจะตกต่ำลง และสูญเสียแรงจูงใจในตนเอง และแม้ว่าจะไม่เกิดความพ่ายแพ้เลยก็ตาม ความขัดแย้งก็ยังเป็นสาเหตุให้เกิดปัญหาทางด้านอารมณ์ได้อย่างมาก
ผู้บริหารมีหน้าที่ในการประสานความขัดแย้งภายในองค์กร โดยอาศัยเหตุผล ความยุติธรรม มุ่งเน้นความสำเร็จขององค์กรเป็นที่ตั้ง ที่สำคัญจะต้องอธิบายให้พนักงานทุกคนรับทราบถึงเหตุผลโดยเฉพาะกับผู้ที่พ่ายแพ้ และใช้ความพ่ายแพ้ครั้งนี้สร้างแรงจูงใจในการทำงานให้มีมากยิ่งขึ้น เพื่อให้ "องค์กรกลายเป็นผู้ชนะ" ในที่สุด
ความขัดแย้ง (Conflict) หมายถึง ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลที่เกี่ยวข้องกับจุดมุ่งหมาย หรือวิธีการ หรือทั้งสองอย่างแต่เป็นความสัมพันธ์ในทางลบ
การที่แต่ละฝ่ายไปด้วยกันไม่ได้ในเรื่องเกี่ยวกับความต้องการ ไม่ว่าจะเป็นความต้องการจริง หรือศักยภาพที่จะเกิดตามต้องการ มักเกิดจากปัญหาการสื่อสาร โครงสร้างองค์การ หรือความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล เกิดจากบทบาท หน้าที่การงาน คุณค่า บุคลิกภาพส่วนตน กฎระเบียบ ทรัพยากร และเป้าหมาย ทำให้เกิดความขัดแย้งระหว่างบุคคล ระหว่างกลุ่ม ภายในองค์กร และระหว่างองค์กร ซึ่งความเสียหายย่อมสอดคล้องกับปฏิกิริยาของความขัดแย้ง และความขัดแย้งมีทั้งผลดีและผลเสีย ดังนี้
ผลดีของความขัดแย้งคือ เป็นตัวกระตุ้นให้คนแสวงหาวิธีการต่างๆจะนำผลไปสู่ผลตอบสนองที่ดีขึ้น และปัญหาที่ถูกซ้อนเร้นอยู่ได้ถูกนำมาเปิดเผย เพื่อจะได้สามารถแก้ไขปัญหานั้นได้ และนอกเหนือไปจากสิ่งเหล่านี้คือ กลุ่มคนที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับความขัดแย้ง จะมีความเข้าใจต่อกันอย่างลึกซึ้งมากขึ้น หลังจากที่ได้แก้ไขข้อขัดแย้งนั้นให้ลุล่วงไปแล้ว
ผลเสียของความขัดแย้ง ทำให้ความร่วมมือและการทำงานร่วมกันเป็นทีมลดลง ความไม่ไว้วางใจซึ่งกันและกัน ความห่างเหินก็เพิ่มมากขึ้นทั้งในระหว่างบุคคลและในระหว่างกลุ่มที่ควรจะร่วมมือกัน บุคคลที่รู้สึกว่าตนเองเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ในความขัดแย้งนั้นจะรู้สึกว่าตนเองไร้ความหมาย ไร้ค่า ภาพพจน์ที่มีต่อตนเองจะตกต่ำลง และสูญเสียแรงจูงใจในตนเอง และแม้ว่าจะไม่เกิดความพ่ายแพ้เลยก็ตาม ความขัดแย้งก็ยังเป็นสาเหตุให้เกิดปัญหาทางด้านอารมณ์ได้อย่างมาก
ผู้บริหารมีหน้าที่ในการประสานความขัดแย้งภายในองค์กร โดยอาศัยเหตุผล ความยุติธรรม มุ่งเน้นความสำเร็จขององค์กรเป็นที่ตั้ง ที่สำคัญจะต้องอธิบายให้พนักงานทุกคนรับทราบถึงเหตุผลโดยเฉพาะกับผู้ที่พ่ายแพ้ และใช้ความพ่ายแพ้ครั้งนี้สร้างแรงจูงใจในการทำงานให้มีมากยิ่งขึ้น เพื่อให้ "องค์กรกลายเป็นผู้ชนะ" ในที่สุด
บริหารงานให้สำเร็จด้วย "วัฒนธรรมองค์กร"
วัฒนธรรมองค์กร หมายถึง ความคาดหวัง ค่านิยม บรรทัดฐาน คุณค่า ความเชื่อ ปรัชญา และอุดมการณ์ที่บุคคลในองค์กรนั้นสร้างขึ้น รับรู้ร่วมกันเป็นแนวทางประพฤติปฏิบัติ และมีการถ่ายทอดจากบุคคลหนึ่งไปยังอีกบุคคลหนึ่ง ซึ่งทำให้บุคลากรในองค์กรรู้สึกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันและมีความผูกพันกับองค์กร
วัฒนธรรมขององค์กรมีผลอย่างยิ่งต่อกระบวนการดำเนินงานในองค์กรนั้นๆ ส่งผลถึงความสามารถขององค์กรในการดำเนินกลยุทธ์ ดังนั้น หน้าที่บางประการหนึ่งขององค์กรและผู้บริหาร คือการวิเคราะห์และพิจารณาถึงผลกระทบต่อองค์กรว่าคุ้มค่ากับการเปลี่ยนแปลงหรือไม่โดยการปรับเปลี่ยนการสื่อสาร สร้างความเข้าใจและการยอมรับ การพัฒนาและการฝึกอบรม เปลี่ยนแปลงโครงสร้างองค์กร หรือเลือกจ้างพนักงานใหม่ให้เหมาะสมกับกลยุทธ์ เพื่อทำให้บุคลากรภายในองค์กรมุ่งไปสู่เป้าหมายขององค์กร
ดังนั้น หากผู้บริหารต้องการให้องค์กรของท่านประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่วางเอาไว้ในอนาคตหรือ Vision ท่านต้องเริ่มสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่สอดคล้องและสนับสนุน Vision ของท่าน และนำสิ่งเหล่านั้นไปเผยแพร่ให้กับพนักงานทุกคนรับทราบ เพื่อให้ทุกคนในองค์กรของท่านสร้าง "วัฒนธรรม" ขององค์กรท่านขึ้นมา อย่าเพียงแค่คิดแล้วเก็บไว้ในใจของท่านคนเดียว เพราะวัฒนธรรมองค์กรจะต้องเกิดจากทุกคนในองค์กรมีส่วนร่วม มิเช่นนั้น การสร้างวัฒนธรรมองค์กรจะไม่มีทางสำเร็จ
วัฒนธรรมขององค์กรมีผลอย่างยิ่งต่อกระบวนการดำเนินงานในองค์กรนั้นๆ ส่งผลถึงความสามารถขององค์กรในการดำเนินกลยุทธ์ ดังนั้น หน้าที่บางประการหนึ่งขององค์กรและผู้บริหาร คือการวิเคราะห์และพิจารณาถึงผลกระทบต่อองค์กรว่าคุ้มค่ากับการเปลี่ยนแปลงหรือไม่โดยการปรับเปลี่ยนการสื่อสาร สร้างความเข้าใจและการยอมรับ การพัฒนาและการฝึกอบรม เปลี่ยนแปลงโครงสร้างองค์กร หรือเลือกจ้างพนักงานใหม่ให้เหมาะสมกับกลยุทธ์ เพื่อทำให้บุคลากรภายในองค์กรมุ่งไปสู่เป้าหมายขององค์กร
ดังนั้น หากผู้บริหารต้องการให้องค์กรของท่านประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่วางเอาไว้ในอนาคตหรือ Vision ท่านต้องเริ่มสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่สอดคล้องและสนับสนุน Vision ของท่าน และนำสิ่งเหล่านั้นไปเผยแพร่ให้กับพนักงานทุกคนรับทราบ เพื่อให้ทุกคนในองค์กรของท่านสร้าง "วัฒนธรรม" ขององค์กรท่านขึ้นมา อย่าเพียงแค่คิดแล้วเก็บไว้ในใจของท่านคนเดียว เพราะวัฒนธรรมองค์กรจะต้องเกิดจากทุกคนในองค์กรมีส่วนร่วม มิเช่นนั้น การสร้างวัฒนธรรมองค์กรจะไม่มีทางสำเร็จ
ผลกระทบจาก เฟดลดอัตราดอกเบี้ย
เมื่อวานเราได้พูดถึงผลกระทบจากการลดอัตราดอกเบี้ยของเฟด ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผลในระยะสั้น วันนี้เราลองมาดูผลกระทบที่เกิดขึ้นในระยะกลาง โดยเฉพาะผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นในประเทศไทย
การที่ราคาน้ำมันในตลาดโลกปรับตัวเพิ่มขึ้น จะส่งผลให้ต้นทุนในการดำเนินการของบริษัทต่างๆ ปรับตัวเพิ่มขึ้น กดดันให้บริษัทต่างๆปรับเพิ่มราคาสินค้า หรือศัพท์เทคนิคเรียกว่า "เงินเฟ้อ" เพิ่มขึ้นนั้นเอง ซึ่งจะสร้างภาระให้กับประชาชนทั่วไปมากขึ้น ทำให้กำลังในการจับจ่ายใช้สอยลดลง เพราะรายได้เท่าเดิมแต่ราคาสินค้าเพิ่มขึ้น ทำให้เรามี "อำนาจซื้อลดลง" ส่งผลให้เศรษฐกิจโดยรวมถดถอย นอกจากนั้น การที่มีเงินไหลเข้าประเทศจำนวนมาก เนื่องจากส่วนต่างอัตราดอกเบี้ย (อัตราผลตอบแทนจากการลงทุน)จะทำให้เงินบาทแข็งค่าขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้การส่งออกของประเทศแย่ลง
จากเหตุผลด้านอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้น และค่าเงินที่แข็งค่าขึ้น จะส่งผลให้ธนาคารแห่งประเทศไทย ปรับลดอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงภายในประเทศลง เป็นการส่งสัญญาณให้ธนาคารพาณิชย์ปรับลดอัตราดอกเบี้ย ซึ่งจะกระตุ้นให้เศรษฐกิจปรับตัวเพิ่มขึ้น แต่อาจจะมีผลไม่มากนัก
คงต้องรอดูผลกันสักระยะครับ ว่าทางภาครัฐจะมีวิธีการรับมือปัญหานี้อย่างไร ... แต่พวกเราต้องเตรียมรับมือไว้ด้วยครับ
การที่ราคาน้ำมันในตลาดโลกปรับตัวเพิ่มขึ้น จะส่งผลให้ต้นทุนในการดำเนินการของบริษัทต่างๆ ปรับตัวเพิ่มขึ้น กดดันให้บริษัทต่างๆปรับเพิ่มราคาสินค้า หรือศัพท์เทคนิคเรียกว่า "เงินเฟ้อ" เพิ่มขึ้นนั้นเอง ซึ่งจะสร้างภาระให้กับประชาชนทั่วไปมากขึ้น ทำให้กำลังในการจับจ่ายใช้สอยลดลง เพราะรายได้เท่าเดิมแต่ราคาสินค้าเพิ่มขึ้น ทำให้เรามี "อำนาจซื้อลดลง" ส่งผลให้เศรษฐกิจโดยรวมถดถอย นอกจากนั้น การที่มีเงินไหลเข้าประเทศจำนวนมาก เนื่องจากส่วนต่างอัตราดอกเบี้ย (อัตราผลตอบแทนจากการลงทุน)จะทำให้เงินบาทแข็งค่าขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้การส่งออกของประเทศแย่ลง
จากเหตุผลด้านอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้น และค่าเงินที่แข็งค่าขึ้น จะส่งผลให้ธนาคารแห่งประเทศไทย ปรับลดอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงภายในประเทศลง เป็นการส่งสัญญาณให้ธนาคารพาณิชย์ปรับลดอัตราดอกเบี้ย ซึ่งจะกระตุ้นให้เศรษฐกิจปรับตัวเพิ่มขึ้น แต่อาจจะมีผลไม่มากนัก
คงต้องรอดูผลกันสักระยะครับ ว่าทางภาครัฐจะมีวิธีการรับมือปัญหานี้อย่างไร ... แต่พวกเราต้องเตรียมรับมือไว้ด้วยครับ
21 ก.ย. 2550
ผลกระทบจากการลดอัตราดอกเบี้ยของเฟด
วันนี้เป็นเรื่องที่สืบเนื่องจากการลดอัตราดอกเบี้ย 0.5% ของธนาคารกลางสหรัฐ ซึ่งถือว่าเป็นการลดอัตราดอกเบี้ยในระดับที่สูงเกินความคาดหมายของนักวิเคราะห์หลายคน เพราะในสถานการณ์ปรกติธนาคารกลางสหรัฐมักจะปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยครั้งละ 0.25% ดังนั้นการปรับเปลี่ยนครั้งนี้ค่อนข้างจะช็อคตลาดการเงินโลก
การลดอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อเศรษฐกิจอเมริกา ให้มีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น เนื่องจากต้นทุนทางการเงินสำหรับการลงทุนหรือ "ดอกเบี้ย" ลดลง ดังนั้น จึงเป็นการกระตุ้นให้ภาคเอกชนลงทุนมากขึ้น เศรษฐกิจจึงขยายตัว เมื่อเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในโลกขยายตัว ย่อมส่งผลทางอ้อมถึงเศรษฐกิจของโลกอยากหลีกเลี่ยงไม่ได้ อาทิ ราคาน้ำมันจะพุ่งทะยานขึ้น เนื่องจากสหรัฐเป็นตลาดนำเข้าน้ำมันที่ใหญ่ที่สุดของโลก เมื่อเศรษฐกิจขยายตัวทำให้มีความต้องการมากขึ้น จะผลักดันให้ราคาน้ำมันทั่วโลกสูงขึ้น ซึ่งส่งผลกลับมาถึงประเทศไทยด้วย เพราะฉะนั้นให้รีบเติมน้ำมันให้เต็มถังครับ เพราะอีกไม่นานราคาน้ำมันในบ้านเราต้องเพิ่มขึ้นแน่ๆ
การลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารสหรัฐ ยังส่งผลต่อการเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศด้วย การที่อัตราผลตอบแทนจากเงินลงทุนหรือ "อัตราดอกเบี้ย" ในอเมริกาลดลง ทำให้นักลงทุนจะโยกเงินทุนที่ลงทุนอยู่ในสหรัฐออกมาลงทุนยังต่างประเทศ เราจึงเห็นตลาดหุ้นทั่วโลก รวมถึงประเทศไทยปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วง 2 วันที่ผ่านมา นอกจากนั้นการที่เงินทุนไหลออกจากประเทศสหรัฐจำนวนมากจะส่งผลให้ค่าเงิน US$ ปรับค่าลดลง หรือมองในมุมคนไทยก็คือค่าเงินบาทจะแข็งค่าขึ้นนั้นเอง และถ้ายังจำกันในบทความก่อนหน้านี้ได้ เราจะเห็นโทษของค่าเงินบาทว่าสามารถทำให้ธุรกิจปิดตัวได้อย่างไร
มีคือผลเบื้องต้นในระยะสั้น แต่ยังมีผลในระยะกลาง พรุ่งนี้เรามาวิเคราะห์เรื่องนี้กันต่อครับ
การลดอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อเศรษฐกิจอเมริกา ให้มีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น เนื่องจากต้นทุนทางการเงินสำหรับการลงทุนหรือ "ดอกเบี้ย" ลดลง ดังนั้น จึงเป็นการกระตุ้นให้ภาคเอกชนลงทุนมากขึ้น เศรษฐกิจจึงขยายตัว เมื่อเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในโลกขยายตัว ย่อมส่งผลทางอ้อมถึงเศรษฐกิจของโลกอยากหลีกเลี่ยงไม่ได้ อาทิ ราคาน้ำมันจะพุ่งทะยานขึ้น เนื่องจากสหรัฐเป็นตลาดนำเข้าน้ำมันที่ใหญ่ที่สุดของโลก เมื่อเศรษฐกิจขยายตัวทำให้มีความต้องการมากขึ้น จะผลักดันให้ราคาน้ำมันทั่วโลกสูงขึ้น ซึ่งส่งผลกลับมาถึงประเทศไทยด้วย เพราะฉะนั้นให้รีบเติมน้ำมันให้เต็มถังครับ เพราะอีกไม่นานราคาน้ำมันในบ้านเราต้องเพิ่มขึ้นแน่ๆ
การลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารสหรัฐ ยังส่งผลต่อการเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศด้วย การที่อัตราผลตอบแทนจากเงินลงทุนหรือ "อัตราดอกเบี้ย" ในอเมริกาลดลง ทำให้นักลงทุนจะโยกเงินทุนที่ลงทุนอยู่ในสหรัฐออกมาลงทุนยังต่างประเทศ เราจึงเห็นตลาดหุ้นทั่วโลก รวมถึงประเทศไทยปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วง 2 วันที่ผ่านมา นอกจากนั้นการที่เงินทุนไหลออกจากประเทศสหรัฐจำนวนมากจะส่งผลให้ค่าเงิน US$ ปรับค่าลดลง หรือมองในมุมคนไทยก็คือค่าเงินบาทจะแข็งค่าขึ้นนั้นเอง และถ้ายังจำกันในบทความก่อนหน้านี้ได้ เราจะเห็นโทษของค่าเงินบาทว่าสามารถทำให้ธุรกิจปิดตัวได้อย่างไร
มีคือผลเบื้องต้นในระยะสั้น แต่ยังมีผลในระยะกลาง พรุ่งนี้เรามาวิเคราะห์เรื่องนี้กันต่อครับ
20 ก.ย. 2550
รัฐบาลรับมือเฟดลดดอกเบี้ย 0.5% ป่วนตลาดเงินโลก
การประชุมเฟดเมื่อคืนวันที่ 18 ก.ย.ได้ลดดอกเบี้ยจาก 5.25% เหลือ 4.75% ซึ่งถือเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือน พ.ค.ปีที่แล้ว เพื่อรับมือกับสภาวะตกต่ำในตลาดอสังหาริมทรัพย์ และเป็นการปรับลดครั้งแรกนับตั้งแต่เดือน มิ.ย. 2546 ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อตลาดการเงนของโลก
การปรับลดลงของตลาดการเงินที่ใหญ่ที่สุดของโลก ย่อมส่งผลถึงตลาดการเงินรวมถึงเศรษฐกิจทั่วโลก สิ่งที่เห็นชัดเจน คือตลาดหุ้นทั่วโลก ปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างรุนแรง รวมถึงตลาดหุ้นขอไทย ขณะเดียวกัน ราคาน้ำมันในตลาดโลกก็ทะยานขึ้นสร้างสถิติใหม่ที่เกือบ 82 เหรียญสหรัฐต่อบาเรล เช่นเดียวกับราคาทองคำที่ปรับราคาสูงขึ้นอย่างแรง และผลในระยะต่อไปคือค่าเงินบาทจะปรับตัวแข็งค่าขึ้นอีกครั้ง และน่าจะส่งผลในธนาคารแห่งประเทศไทยปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงด้วย ซึ่งจะส่งผลให้ธนาคารพาณิชย์ปรับลดลงอัตราดอกเบี้ยอีกครั้งในช่วงปลายปีที่จะถึงนี้
ผู้อ่านจะเห็นได้ว่า การลดดอกเบี้ยครั้งนี้ส่งผลกับเศรษฐกิจหลายด้าน และการอธิบายเรื่องนี้ค่อนข้างมีความซับซ้อน และมีเนื้อหาค่อนข้างยาว ในโอกาสถัดไปผมจะนำผลกระทบต่างๆ มาอธิบายให้ชัดเจนมากขึ้น แต่รับรองได้ว่าการลดดอกเบี้ยครั้งนี้ ส่งผลถึงเศรษฐกิจไทยรวมถึงปากท้องของพวกเราอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
การปรับลดลงของตลาดการเงินที่ใหญ่ที่สุดของโลก ย่อมส่งผลถึงตลาดการเงินรวมถึงเศรษฐกิจทั่วโลก สิ่งที่เห็นชัดเจน คือตลาดหุ้นทั่วโลก ปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างรุนแรง รวมถึงตลาดหุ้นขอไทย ขณะเดียวกัน ราคาน้ำมันในตลาดโลกก็ทะยานขึ้นสร้างสถิติใหม่ที่เกือบ 82 เหรียญสหรัฐต่อบาเรล เช่นเดียวกับราคาทองคำที่ปรับราคาสูงขึ้นอย่างแรง และผลในระยะต่อไปคือค่าเงินบาทจะปรับตัวแข็งค่าขึ้นอีกครั้ง และน่าจะส่งผลในธนาคารแห่งประเทศไทยปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงด้วย ซึ่งจะส่งผลให้ธนาคารพาณิชย์ปรับลดลงอัตราดอกเบี้ยอีกครั้งในช่วงปลายปีที่จะถึงนี้
ผู้อ่านจะเห็นได้ว่า การลดดอกเบี้ยครั้งนี้ส่งผลกับเศรษฐกิจหลายด้าน และการอธิบายเรื่องนี้ค่อนข้างมีความซับซ้อน และมีเนื้อหาค่อนข้างยาว ในโอกาสถัดไปผมจะนำผลกระทบต่างๆ มาอธิบายให้ชัดเจนมากขึ้น แต่รับรองได้ว่าการลดดอกเบี้ยครั้งนี้ ส่งผลถึงเศรษฐกิจไทยรวมถึงปากท้องของพวกเราอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
19 ก.ย. 2550
Work On Your Weakness First
หลังจากพูดเรื่องเกี่ยวกับเศรษฐกิจมาหลายวัน วันนี้ขอวนกลับมาในหัวข้อ Management tips อีกสักครั้ง เป็นการเปลี่ยนบรรยากาศก่อนที่จะเบื่อเรื่องเศรษฐกิจกันไปเสียก่อน
"Work on your weakness first"
If you want to increase your value works on your weaknesses first. In any positions or any jobs you will find yourself, there will be things you do well, some you do okay, and some you don't do so well. If you want to improve yourself, and increase your value, work first to improve in those areas that are your weakest.
If you are promoted or recruited to the new job, you should analyst yourself. You should define your strengths and weaknesses for the new responsibilities. Then you will set strategies to improve yourself and increase your value.
The strategy which has to work first is to improve in those areas that are your weakest. You have to define your weaknesses and cause of them. Then you will set the planning which improves your weakness and action on the planning.
Improvement your weakest will help you to defense your position. After you have secure situations it’s easy to increase your value work by your strengths.
"Work on your weakness first"
If you want to increase your value works on your weaknesses first. In any positions or any jobs you will find yourself, there will be things you do well, some you do okay, and some you don't do so well. If you want to improve yourself, and increase your value, work first to improve in those areas that are your weakest.
If you are promoted or recruited to the new job, you should analyst yourself. You should define your strengths and weaknesses for the new responsibilities. Then you will set strategies to improve yourself and increase your value.
The strategy which has to work first is to improve in those areas that are your weakest. You have to define your weaknesses and cause of them. Then you will set the planning which improves your weakness and action on the planning.
Improvement your weakest will help you to defense your position. After you have secure situations it’s easy to increase your value work by your strengths.
18 ก.ย. 2550
ตอบคำถาม "เศรษฐกิจเกี่ยวข้องอะไรกับเรา" ตอนที่ 3
“บริษัทหลายแห่งปิดตัวเนื่องจากเงินบาทแข็ง” ท่านเคยสงสัยกันหรือไม่ ว่าทำไมค่าเงินบาทจึงสามารถส่งผลให้บริษัทหนึ่งบริษัทสามารถขาดทุนจนสามารถปิดกิจการได้
ค่าเงิน ของแต่ละประเทศจะมีอัตราที่แตกต่างกัน ซึ่งเป็นอัตราที่ผู้ถือเงินแต่ละสกุลยินดีที่จะยอมแลกเปลี่ยนเพื่อให้ได้เงินอีกหนึ่งสกุล โดยค่าเงินจะมีการปรับเปลี่ยนขึ้นลงตามความต้องการของตลาด (Demand) หรือขึ้นอยู่กับนโยบายทางการเงินของประเทศนั้นๆ
ประเทศไทย มีอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศแบบลอยตัวแบบมีการจัดการ (Manage float) ทำให้ค่าเงินสามารถเคลื่อนไหวตามความต้องการของตลาด การที่ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นเนื่องจากมีความต้องการเงินบาทเป็นจำนวนมากในช่วงที่ผ่านมา
ปรกติ การทำธุรกิจระหว่างประเทศ จะมีการตกลงทำสัญญาด้วยเงินตราต่างประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้เงินสกุล US$ ของอเมริกา โดยการทำการค้าระหว่างประเทศจะมีการทำสัญญากันล่วงหน้าอย่างน้อยไม่ต่ำกว่า 6 เดือน และเมื่อได้รับเงินตราต่างประเทศมาจะต้องมีการแลกกลับมาเป็นค่าเงินบาท เพื่อใช้จ่ายในประเทศไทยต่อไป ดังนั้น การค่าระหว่างประเทศจะมีความเสี่ยงในเรื่องอัตราแลกเปลี่ยน อย่างไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ลองดูตัวอย่างด้านล่าง
สมมติครับว่า ในเดือนมกราคม โรงงานแห่งหนึ่งตกลงขายเสื้อให้กับต่างประเทศ ค่าเงินบาทขณะนั้นเท่ากับ 35.50 บาทต่อ 1 US$ มีต้นทุนการผลิตอยู่ที่ 710 บาท หรือคิดเป็นเงิน 20 US$ มีค่าจ้างพนักงาน 50,000 บาท จึงทำสัญญาขายเสื้อดังกล่าวให้กับบริษัทต่างชาติด้วยราคา 22 US$ เป็นจำนวน 1,000 ตัว ซึ่งคาดว่าจะมีรายรับ 781,000 บาท และคาดว่าจะมีกำไร 21,000 บาท
เมื่อครบกำหนดสัญญาในเดือนมิถุนายน บริษัทต่างชาติชำระค่าเสื้อมาให้ 20,000 US$ แต่ค่าเงินบาทตอนนั้นอยู่ที่ 33.5 บาท เมื่อแลกกลับมาเป็นเงินไทยได้เท่ากับ 737,000 บาท ดังนั้นบริษัทจึงขาดทุน 23,000 บาท
ค่าเงิน ของแต่ละประเทศจะมีอัตราที่แตกต่างกัน ซึ่งเป็นอัตราที่ผู้ถือเงินแต่ละสกุลยินดีที่จะยอมแลกเปลี่ยนเพื่อให้ได้เงินอีกหนึ่งสกุล โดยค่าเงินจะมีการปรับเปลี่ยนขึ้นลงตามความต้องการของตลาด (Demand) หรือขึ้นอยู่กับนโยบายทางการเงินของประเทศนั้นๆ
ประเทศไทย มีอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศแบบลอยตัวแบบมีการจัดการ (Manage float) ทำให้ค่าเงินสามารถเคลื่อนไหวตามความต้องการของตลาด การที่ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นเนื่องจากมีความต้องการเงินบาทเป็นจำนวนมากในช่วงที่ผ่านมา
ปรกติ การทำธุรกิจระหว่างประเทศ จะมีการตกลงทำสัญญาด้วยเงินตราต่างประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้เงินสกุล US$ ของอเมริกา โดยการทำการค้าระหว่างประเทศจะมีการทำสัญญากันล่วงหน้าอย่างน้อยไม่ต่ำกว่า 6 เดือน และเมื่อได้รับเงินตราต่างประเทศมาจะต้องมีการแลกกลับมาเป็นค่าเงินบาท เพื่อใช้จ่ายในประเทศไทยต่อไป ดังนั้น การค่าระหว่างประเทศจะมีความเสี่ยงในเรื่องอัตราแลกเปลี่ยน อย่างไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ลองดูตัวอย่างด้านล่าง
สมมติครับว่า ในเดือนมกราคม โรงงานแห่งหนึ่งตกลงขายเสื้อให้กับต่างประเทศ ค่าเงินบาทขณะนั้นเท่ากับ 35.50 บาทต่อ 1 US$ มีต้นทุนการผลิตอยู่ที่ 710 บาท หรือคิดเป็นเงิน 20 US$ มีค่าจ้างพนักงาน 50,000 บาท จึงทำสัญญาขายเสื้อดังกล่าวให้กับบริษัทต่างชาติด้วยราคา 22 US$ เป็นจำนวน 1,000 ตัว ซึ่งคาดว่าจะมีรายรับ 781,000 บาท และคาดว่าจะมีกำไร 21,000 บาท
เมื่อครบกำหนดสัญญาในเดือนมิถุนายน บริษัทต่างชาติชำระค่าเสื้อมาให้ 20,000 US$ แต่ค่าเงินบาทตอนนั้นอยู่ที่ 33.5 บาท เมื่อแลกกลับมาเป็นเงินไทยได้เท่ากับ 737,000 บาท ดังนั้นบริษัทจึงขาดทุน 23,000 บาท
17 ก.ย. 2550
ตอบคำถาม "เศรษฐกิจเกี่ยวข้องอะไรกับเรา" ตอนที่ 2
ผู้ที่ติดตามข่าวเศรษฐกิจหรือมีโอกาสได้ฟังข่าวอยู่บ่อยๆ น่าจะเคยได้ยินชื่อสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือทางการเงินระหว่างประเทศ S&P (Standard and Poor) หรือ Moody’s หลายคนคงสงสัยว่าอันดับความน่าเชื่อถือทางการเงิน (credit rating) มีความสำคัญอย่างไร ทำไมรัฐบาลและนักลงทุนต้องวิตกกังวลเวลาที่สถาบันเหล่านี้ลดอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศเรา และมีวิธีการในการจัดอันดับความน่าเชื่อถืออย่างไรบ้าง น่าเชื่อถือมากน้อยแค่ไหน… หากอ่านบทความนี้จบ น่าจะแก้ความสงสัยได้ไม่มากก็น้อย
สถาบันจัดอันดับฯเริ่มมีบทบาทต่อเศรษฐกิจไทย หลังจากการดำเนินนโยบายการเงินเสรีสมัยรัฐบาล ชวน หลีกภัย ที่มีผลเชื่อมโยงตลาดการเงินของไทยเข้ากับตลาดการเงินระหว่างประเทศมากขึ้น และผลักดันให้ระบบเศรษฐกิจไทยพึ่งพิงเงินทุนต่างประเทศ โดยก่อนดำเนินนโยบายการเงินเสรี(2536) มีเงินทุนไหลเข้าประเทศสุทธิภายในปี 2530 เป็นเงิน 883 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งส่วนใหญ่จะเข้ามาในลักษณะของเงินลงทุนในหลักทรัพย์ (Portfolio Investment) มีปริมาณเท่ากับ 499 ล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อมีการเปิดเสรีทางการเงินทำให้ทุนไหลเข้าสุทธิเพิ่มขึ้นเป็นเงิน 20,849 ล้านเหรียญสหรัฐ เงินทุนส่วนใหญ่จะผ่านเข้ามาทางระบบธนาคาร โดยเฉพาะกิจการวิเทศธนกิจ (BIBF:เกิดขึ้นหลังจากเปิดเสรีทางการเงิน) มีปริมาณเงินไหลเข้าสุทธิเท่ากับ 8,149 ล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2538 จะเห็นได้ว่าปริมาณเงินไหลเข้าสุทธิเพิ่มขึ้นเกือบ 50 เท่าตัวในเวลาเพียง 8 ปี ทำให้มีการขยายการลงทุนอย่างรวดเร็ว เพราะต้นทุนที่ต่ำลงจากเงินกู้ต่างประเทศ ผ่านทางกิจการวิเทศธนกิจ กระตุ้นให้เศรษฐกิจเติบโตอย่างรวดเร็ว แต่เศรษฐกิจไทยจำต้องพึ่งพิงเงินทุนจากต่างประเทศเพิ่มขึ้น
การที่ประเทศต้องพึ่งพิงเงินทุนจากต่างประเทศมากขึ้น มีผลผลักระบบเศรษฐกิจไทยเข้าไปอยู่ในอุ้งมือของสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือทางการเงิน เพราะต้นทุนของภาคธุรกิจจะเพิ่มขึ้นหรือลดลงขึ้นกับอันดับความน่าเชื่อถือทางการเงินที่ได้รับการจัดอับดับ การจัดอันดับความน่าเชื่อถือทางการเงิน จะมีผลโดยตรงต่อการจัดสรรทรัพยากรระหว่างประเทศ การที่ประเทศถูกลดอันดับแสดงให้เห็นว่า ฐานะทางเศรษฐกิจของประเทศมีความเปราะบางมากขึ้นผู้ที่เข้าไปลงทุนหรือสถาบันที่ให้เงินกู้แก่ประเทศดังกล่าวนี้ มีความเสี่ยงต่อการขาดทุนหรือการสูญหนี้มากขึ้น ตลาดการเงินระหว่างประเทศจึงมีธรรมเนียมการปฏิบัติว่า สถาบันการเงินจะคิดดอกเบี้ยในอัตราสูงขึ้นสำหรับเงินกู้ที่ให้แก่ประเทศที่ถูกลดอันดับ เพื่อคุ้มกับภาวะความเสี่ยงที่มีมากขึ้น ด้วยเหตุนี้ประเทศที่ถูกลดอันดับจะต้องเสียต้นทุนเพิ่มขึ้น อันบั่นทอนฐานะการแข่งขันในตลาดต่างประเทศ
ประสบการณ์ของประเทศไทยสามารถเป็นตัวอย่างที่ดีในการอธิบาย อิทธิพลของสถาบันจัดอันดับฯ ในช่วงก่อนเกิดวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ ประเทศไทยได้ถูกลดลงอันดับความน่าเชื่อทางการเงินอย่างต่อเนื่อง จากประเทศมีความสามารถสูงในการชำระคืนเงินต้นและดอกเบี้ยระยะสั้นตามกำหนดเวลา มาเป็นประเทศที่มีความไม่แน่นอนในการชำระคืนเงินต้นและดอกเบี้ยเครดิตในระดับนี้ ถูกจัดว่าอยู่ในระดับ Speculative grade ก่อให้เกิดความเกรงกลัวว่าสถาบันการเงินหลายแห่งอาจล้มละลาย เป็นแรงกระตุ้นให้เงินทุนไหลออกจากประเทศเป็นจำนวนมาก ทำให้เงินทุนไหลเข้าสุทธิติดลบกว่า 7 พันล้านบาท(แสดงว่ามีเงินไหลออกนอกประเทศมากกว่าเงินไหลเข้า 7 พันล้านบาท) ซ้ำเติมด้วยการโจมตีค่าเงินบาท ทำให้ธนาคารแห่งประเทศไทยต้องสูญเสียเงินทุนสำรองระหว่างประเทศเป็นจำนวนมากจากความพยายามที่จะปกป้องค่าเงินบาท กดดันให้รัฐบาล พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ ต้องปล่อยลอยตัวค่าเงินบาทในวันที่ 2 กรกฎาคม 2540 และขอรับความช่วยเหลือจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ก่อให้เกิดวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจที่รุนแรงที่สุดในรอบ 30 ปี
วิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจเป็นตัวอย่างที่ทำให้เราทราบถึงความสำคัญของสถาบันจัดอันดับฯไปบ้างแล้ว แต่มักจะมีคำถามอยู่เสมอว่า สถาบันเหล่านี้มีหลักเกณฑ์ในการจัดอันดับอย่างไร… การจัดอันดับความน่าเชื่อถือทางการเงิน โดยทั่วไปจะใช้ข้อมูล 3 ส่วน คือ ข้อมูลด้านเศรษฐกิจมหภาค สถานะทางการคลังและเสถียรภาพทางการเมือง และสถานะของสถาบันการเงินและหนี้ต่างประเทศ
สถานะภาพของเศรษฐกิจมหภาคที่ใช้ในการจัดอันดับ ส่วนใหญ่เป็นภาคต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นการส่งออก การนำเข้า ดุลบัญชีเดินสะพัด ดุลการชำระเงิน และเงินทุนสำรองระหว่างประเทศ ส่วนสถานะทางการคลังจะพิจารณาจากรายได้และรายจ่ายของรัฐ(ดุลงบประมาณ) ด้านสถานะของสถาบันการเงินและหนี้ต่างประเทศ จะพิจารณาจาก สภาพคล่องและหนี้เสียของธนาคาร สัดส่วนเงินกู้ต่างประเทศที่กำหนดชำระคืนสั้น ความเป็นไปได้ของโครงการลงทุนที่ธนาคารปล่อยกู้
สาเหตุที่ไทยถูกลดอันดับความน่าเชื่อถือ จนก่อให้เกิดวิกฤติทางการเงินมีสาเหตุจาก มูลค่าการส่งออกลดลงเพราะปัญหาเชิงโครงสร้างซึ่งทำให้ความสามารถในการแข่งขันกับต่างประเทศลดลง มีปัญหาขาดดุลบัญชีเดินสะพัด ส่งผลให้ดุลการชำระเงินเริ่มมีปัญหา มีผลทำให้เงินทุนสำรองระหว่างประเทศลดลงมาก และในช่วงรัฐบาล พลเอก ชวลิต เกิดวิกฤตศรัทธาและสถานะการเมืองมีความไม่แน่นอน ทำให้การดำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจขาดความคล่องตัว ประกอบกับการขาดดุลการคลังของภาครัฐเป็นครั้งแรกในรอบ10ปี ซ้ำเติมด้วยระบบการเงินในประเทศที่อยู่ในสภาพง่อนแง่น หนี้เสียในระบบสถาบันการเงินเพิ่มขึ้นจากการนำเงินทุนระยะสั้นไปลงทุนอย่างไม่เหมาะสม สภาพคล่องที่เริ่มตึงตัว หนี้ระยะสั้นมีสัดส่วนที่สูงมาก
การจัดอันดับความน่าเชื่อถือทางการเงิน เป็นมุมมองที่ค่อนข้างจะเป็นสากล อาจจะมีบ้างที่ขัดแย้งกับความรู้สึกของคนในประเทศ แต่การจัดอันดับดังกล่าวก็ทำให้เรารับรู้ว่าต่างชาติมองประเทศไทยอย่างไร สามารถนำมาใช้ให้เป็นประโยชน์ หากเรายอมรับความเป็นจริงและนำมาใช้เป็น
สถาบันจัดอันดับฯเริ่มมีบทบาทต่อเศรษฐกิจไทย หลังจากการดำเนินนโยบายการเงินเสรีสมัยรัฐบาล ชวน หลีกภัย ที่มีผลเชื่อมโยงตลาดการเงินของไทยเข้ากับตลาดการเงินระหว่างประเทศมากขึ้น และผลักดันให้ระบบเศรษฐกิจไทยพึ่งพิงเงินทุนต่างประเทศ โดยก่อนดำเนินนโยบายการเงินเสรี(2536) มีเงินทุนไหลเข้าประเทศสุทธิภายในปี 2530 เป็นเงิน 883 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งส่วนใหญ่จะเข้ามาในลักษณะของเงินลงทุนในหลักทรัพย์ (Portfolio Investment) มีปริมาณเท่ากับ 499 ล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อมีการเปิดเสรีทางการเงินทำให้ทุนไหลเข้าสุทธิเพิ่มขึ้นเป็นเงิน 20,849 ล้านเหรียญสหรัฐ เงินทุนส่วนใหญ่จะผ่านเข้ามาทางระบบธนาคาร โดยเฉพาะกิจการวิเทศธนกิจ (BIBF:เกิดขึ้นหลังจากเปิดเสรีทางการเงิน) มีปริมาณเงินไหลเข้าสุทธิเท่ากับ 8,149 ล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2538 จะเห็นได้ว่าปริมาณเงินไหลเข้าสุทธิเพิ่มขึ้นเกือบ 50 เท่าตัวในเวลาเพียง 8 ปี ทำให้มีการขยายการลงทุนอย่างรวดเร็ว เพราะต้นทุนที่ต่ำลงจากเงินกู้ต่างประเทศ ผ่านทางกิจการวิเทศธนกิจ กระตุ้นให้เศรษฐกิจเติบโตอย่างรวดเร็ว แต่เศรษฐกิจไทยจำต้องพึ่งพิงเงินทุนจากต่างประเทศเพิ่มขึ้น
การที่ประเทศต้องพึ่งพิงเงินทุนจากต่างประเทศมากขึ้น มีผลผลักระบบเศรษฐกิจไทยเข้าไปอยู่ในอุ้งมือของสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือทางการเงิน เพราะต้นทุนของภาคธุรกิจจะเพิ่มขึ้นหรือลดลงขึ้นกับอันดับความน่าเชื่อถือทางการเงินที่ได้รับการจัดอับดับ การจัดอันดับความน่าเชื่อถือทางการเงิน จะมีผลโดยตรงต่อการจัดสรรทรัพยากรระหว่างประเทศ การที่ประเทศถูกลดอันดับแสดงให้เห็นว่า ฐานะทางเศรษฐกิจของประเทศมีความเปราะบางมากขึ้นผู้ที่เข้าไปลงทุนหรือสถาบันที่ให้เงินกู้แก่ประเทศดังกล่าวนี้ มีความเสี่ยงต่อการขาดทุนหรือการสูญหนี้มากขึ้น ตลาดการเงินระหว่างประเทศจึงมีธรรมเนียมการปฏิบัติว่า สถาบันการเงินจะคิดดอกเบี้ยในอัตราสูงขึ้นสำหรับเงินกู้ที่ให้แก่ประเทศที่ถูกลดอันดับ เพื่อคุ้มกับภาวะความเสี่ยงที่มีมากขึ้น ด้วยเหตุนี้ประเทศที่ถูกลดอันดับจะต้องเสียต้นทุนเพิ่มขึ้น อันบั่นทอนฐานะการแข่งขันในตลาดต่างประเทศ
ประสบการณ์ของประเทศไทยสามารถเป็นตัวอย่างที่ดีในการอธิบาย อิทธิพลของสถาบันจัดอันดับฯ ในช่วงก่อนเกิดวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ ประเทศไทยได้ถูกลดลงอันดับความน่าเชื่อทางการเงินอย่างต่อเนื่อง จากประเทศมีความสามารถสูงในการชำระคืนเงินต้นและดอกเบี้ยระยะสั้นตามกำหนดเวลา มาเป็นประเทศที่มีความไม่แน่นอนในการชำระคืนเงินต้นและดอกเบี้ยเครดิตในระดับนี้ ถูกจัดว่าอยู่ในระดับ Speculative grade ก่อให้เกิดความเกรงกลัวว่าสถาบันการเงินหลายแห่งอาจล้มละลาย เป็นแรงกระตุ้นให้เงินทุนไหลออกจากประเทศเป็นจำนวนมาก ทำให้เงินทุนไหลเข้าสุทธิติดลบกว่า 7 พันล้านบาท(แสดงว่ามีเงินไหลออกนอกประเทศมากกว่าเงินไหลเข้า 7 พันล้านบาท) ซ้ำเติมด้วยการโจมตีค่าเงินบาท ทำให้ธนาคารแห่งประเทศไทยต้องสูญเสียเงินทุนสำรองระหว่างประเทศเป็นจำนวนมากจากความพยายามที่จะปกป้องค่าเงินบาท กดดันให้รัฐบาล พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ ต้องปล่อยลอยตัวค่าเงินบาทในวันที่ 2 กรกฎาคม 2540 และขอรับความช่วยเหลือจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ก่อให้เกิดวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจที่รุนแรงที่สุดในรอบ 30 ปี
วิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจเป็นตัวอย่างที่ทำให้เราทราบถึงความสำคัญของสถาบันจัดอันดับฯไปบ้างแล้ว แต่มักจะมีคำถามอยู่เสมอว่า สถาบันเหล่านี้มีหลักเกณฑ์ในการจัดอันดับอย่างไร… การจัดอันดับความน่าเชื่อถือทางการเงิน โดยทั่วไปจะใช้ข้อมูล 3 ส่วน คือ ข้อมูลด้านเศรษฐกิจมหภาค สถานะทางการคลังและเสถียรภาพทางการเมือง และสถานะของสถาบันการเงินและหนี้ต่างประเทศ
สถานะภาพของเศรษฐกิจมหภาคที่ใช้ในการจัดอันดับ ส่วนใหญ่เป็นภาคต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นการส่งออก การนำเข้า ดุลบัญชีเดินสะพัด ดุลการชำระเงิน และเงินทุนสำรองระหว่างประเทศ ส่วนสถานะทางการคลังจะพิจารณาจากรายได้และรายจ่ายของรัฐ(ดุลงบประมาณ) ด้านสถานะของสถาบันการเงินและหนี้ต่างประเทศ จะพิจารณาจาก สภาพคล่องและหนี้เสียของธนาคาร สัดส่วนเงินกู้ต่างประเทศที่กำหนดชำระคืนสั้น ความเป็นไปได้ของโครงการลงทุนที่ธนาคารปล่อยกู้
สาเหตุที่ไทยถูกลดอันดับความน่าเชื่อถือ จนก่อให้เกิดวิกฤติทางการเงินมีสาเหตุจาก มูลค่าการส่งออกลดลงเพราะปัญหาเชิงโครงสร้างซึ่งทำให้ความสามารถในการแข่งขันกับต่างประเทศลดลง มีปัญหาขาดดุลบัญชีเดินสะพัด ส่งผลให้ดุลการชำระเงินเริ่มมีปัญหา มีผลทำให้เงินทุนสำรองระหว่างประเทศลดลงมาก และในช่วงรัฐบาล พลเอก ชวลิต เกิดวิกฤตศรัทธาและสถานะการเมืองมีความไม่แน่นอน ทำให้การดำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจขาดความคล่องตัว ประกอบกับการขาดดุลการคลังของภาครัฐเป็นครั้งแรกในรอบ10ปี ซ้ำเติมด้วยระบบการเงินในประเทศที่อยู่ในสภาพง่อนแง่น หนี้เสียในระบบสถาบันการเงินเพิ่มขึ้นจากการนำเงินทุนระยะสั้นไปลงทุนอย่างไม่เหมาะสม สภาพคล่องที่เริ่มตึงตัว หนี้ระยะสั้นมีสัดส่วนที่สูงมาก
การจัดอันดับความน่าเชื่อถือทางการเงิน เป็นมุมมองที่ค่อนข้างจะเป็นสากล อาจจะมีบ้างที่ขัดแย้งกับความรู้สึกของคนในประเทศ แต่การจัดอันดับดังกล่าวก็ทำให้เรารับรู้ว่าต่างชาติมองประเทศไทยอย่างไร สามารถนำมาใช้ให้เป็นประโยชน์ หากเรายอมรับความเป็นจริงและนำมาใช้เป็น
16 ก.ย. 2550
ตอบคำถาม "เศรษฐกิจเกี่ยวข้องอะไรกับเรา" ตอนที่ 1
สวัสดีผู้ติดตามทุกท่าน เมื่อวานเริ่มต้นกันด้วยบทความภาคภาษาอังกฤษ ซึ่งอาจจะไกลตัวใครหลายคน วันนี้จึงอยากจะนำเสนอเรื่องราวที่น่าจะใกล้ตัวทุกท่านมากขึ้น
หลายคนมักมีข้อสงสัยว่า ทำไมข่าวเศรษฐกิจมักจะพูดถึงเรื่องของ "เศรษฐกิจอเมริกา" มันเกี่ยวข้องกับประเทศเราตรงไหน เขาอยู่ห่างกันคนละซีกโลก ทำไมเราต้องสนใจเศรษฐกิจของเขาด้วย
อันที่จริงแล้วเศรษฐกิจอเมริกา ไม่ใช่มีความสำคัญกับประเทศไทยเพียงประเทศเดียวหรอกครับ แต่ยังมีความสำคัญต่อเศรษฐิกจของโลกอีกด้วย ...ทำไมถึงเป็นเช่นนั้นเราลองมาดูคำตอบกัน
1. ประเทศอเมริกามีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุด โดยมีขนาดเศรษฐกิจคิดเป็นประมาณ 1 ใน 3 ของโลก คิดง่ายๆ ก็คือ รายได้ในโลกนี้เกิดขึ้นทั้งหมดเท่าไร จะเป็นของประเทศอมเริกาเสีย 1 ส่วน เมื่อมีขนาดเศรษฐกิจที่ใหญ่เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงย่อมส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
2. ประเทศอเมริกา เป็นประเทศผู้นำเข้ารายใหญ่ที่สุดของโลก เพราะฉะนั้นประเทศอื่นๆ ที่เจริญเติบโตโดยพึ่งพิงการส่งออกเป็นหลัก จะได้รับผลกระทบเมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงในเศรษฐกิจอเมริกา ซึ่งรวมถึงประเทศไทยของเราด้วย
3. การที่ประเทศมีการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ จะส่งผลกระทบโดยตรงกับรายได้ของประชาชนภายในประเทศ ซึ่งรายได้ก็จะมีผลเชื่อมโยงกับค่าใช้จ่าย เช่น ถ้าเศรษฐกิจถดถอย รายได้ของประชาชนจะลดลง ประชาชนก็จะลดการใช้จ่ายลง ซึ่งจะส่งผลให้การนำเข้าสินค้าจากต่าวประเทศลดลงด้วย ในทางกลับกันถ้าเศรษฐกิจดี ประชาชนจะนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศมากขึ้น
4. ประเทศไทย ส่งออกสินค้าไปยังประเทศอเมริกามากที่สุด คิดเป็นประมาณ 20% ของปริมาณการส่งออกทั้งหมด ในขณะเดียงกันภาคการส่งออกของไทยคิดเป็นร้อยละ 60 ของรายได้ประชาชาติของประเทศ ดังนั้น หากการส่งออกของไทยลดลงย่อมส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศไทย โดยรวม
จากผลของทั้ง 4 ข้อที่กล่าวมาข้างต้น จะให้ได้เศรษฐกิจไทยได้มีความเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจของอเมริกาเป็นอย่างมาก ทำให้เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิของอเมริกา ประเทศไทยจึงไม่สามารถหลีกเลี่ยงผลกระทบได้ ....
หลายคนมักมีข้อสงสัยว่า ทำไมข่าวเศรษฐกิจมักจะพูดถึงเรื่องของ "เศรษฐกิจอเมริกา" มันเกี่ยวข้องกับประเทศเราตรงไหน เขาอยู่ห่างกันคนละซีกโลก ทำไมเราต้องสนใจเศรษฐกิจของเขาด้วย
อันที่จริงแล้วเศรษฐกิจอเมริกา ไม่ใช่มีความสำคัญกับประเทศไทยเพียงประเทศเดียวหรอกครับ แต่ยังมีความสำคัญต่อเศรษฐิกจของโลกอีกด้วย ...ทำไมถึงเป็นเช่นนั้นเราลองมาดูคำตอบกัน
1. ประเทศอเมริกามีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุด โดยมีขนาดเศรษฐกิจคิดเป็นประมาณ 1 ใน 3 ของโลก คิดง่ายๆ ก็คือ รายได้ในโลกนี้เกิดขึ้นทั้งหมดเท่าไร จะเป็นของประเทศอมเริกาเสีย 1 ส่วน เมื่อมีขนาดเศรษฐกิจที่ใหญ่เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงย่อมส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
2. ประเทศอเมริกา เป็นประเทศผู้นำเข้ารายใหญ่ที่สุดของโลก เพราะฉะนั้นประเทศอื่นๆ ที่เจริญเติบโตโดยพึ่งพิงการส่งออกเป็นหลัก จะได้รับผลกระทบเมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงในเศรษฐกิจอเมริกา ซึ่งรวมถึงประเทศไทยของเราด้วย
3. การที่ประเทศมีการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ จะส่งผลกระทบโดยตรงกับรายได้ของประชาชนภายในประเทศ ซึ่งรายได้ก็จะมีผลเชื่อมโยงกับค่าใช้จ่าย เช่น ถ้าเศรษฐกิจถดถอย รายได้ของประชาชนจะลดลง ประชาชนก็จะลดการใช้จ่ายลง ซึ่งจะส่งผลให้การนำเข้าสินค้าจากต่าวประเทศลดลงด้วย ในทางกลับกันถ้าเศรษฐกิจดี ประชาชนจะนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศมากขึ้น
4. ประเทศไทย ส่งออกสินค้าไปยังประเทศอเมริกามากที่สุด คิดเป็นประมาณ 20% ของปริมาณการส่งออกทั้งหมด ในขณะเดียงกันภาคการส่งออกของไทยคิดเป็นร้อยละ 60 ของรายได้ประชาชาติของประเทศ ดังนั้น หากการส่งออกของไทยลดลงย่อมส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศไทย โดยรวม
จากผลของทั้ง 4 ข้อที่กล่าวมาข้างต้น จะให้ได้เศรษฐกิจไทยได้มีความเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจของอเมริกาเป็นอย่างมาก ทำให้เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิของอเมริกา ประเทศไทยจึงไม่สามารถหลีกเลี่ยงผลกระทบได้ ....
15 ก.ย. 2550
Relationship account
Efficient relationships management is one of the keys to success in your business and your life.
If you can maintain good relationships with your families and friends, you will go forward your life with happiness. On the other hand if you can maintain efficient relationships with your business partners or your employees, you have more chance to success in your business, too.
The key to maintain good relationships is thinking of your relationship as bank accounts. Compliments are deposits, criticisms are withdrawals. Withdrawals are acceptable as long as you have enough deposits to cover them. If all you do is make withdrawals with no deposits your relationship with that person will suffer.
Now think about the difficult people in your life. Are your accounts in the red or in the black? Building up your relationship accounts can turn difficult employees into loyal and supportive team members.
Begin each day thinking of someone you can thank.
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)